Cite this article as: Arunrangsiwed, P. (2020). History and Types of Graphic Design. Retrieved from https://sw-eden.net/2020/04/01/history-graphic/
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). ประวัติและประเภทของงาน Graphic Design. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/04/01/history-graphic/
จากที่อิเฎลได้กล่าวถึงว่างานกราฟิกมี 2 ชนิดคือ เพื่อการสื่อความหมาย และเพื่อการตกแต่งให้สวยงาม ในสมัยโบราณก็เช่นกัน Graphic มีทั้งเพื่อสื่อความหมายและเพื่อการตกแต่ง แต่ยุคสมัยนั้นได้ล่วงเลยไปแล้ว ทำให้ชนรุ่นหลังคากคะเนได้ยากว่า งานชิ้นไหนน่าจะไว้สื่อความหมายหรือเป็นเพียงกราฟิกเพื่อการตกแต่งเท่านั้น
งานศิลปะบ้านเชียง แจกัน โถ ไห เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีลายสีแดงเป็นรูปวน ขดก้นหอย ซึ่งคาดเดาได้ว่าเป็นการตกแต่งให้สวยงามเท่านั้น แต่หากคิดในทางกลับกัน อาจเป็นลวดลายที่สื่อความหมาย อาจเป็นภาษาของชาวบ้านเชียง ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า
การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ เกิดขึ้นหร้อม ๆ กับภาษาภาพ ภาษาภาพยังมีหลงเหลืออยู่น้อยนักให้สวอิเฎลเห็นในปัจจุบันนี้ ส่วนมากภาษาที่สวอิเฎลคุ้นเคย อย่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า ภาษาอินเดีย ทั้งหมดทั้งหลายเหล่านี้ เป็นการเอาตัวอักษร สระ พยัญชนะ มาประกอบกันให้เกิดเสียง และเสียงนั้น ๆ จะสื่อความหมาย ตามที่สว อิเฎลเรียนรู้ว่าตอนไปอยู่ Ohio University แอบเข้าไปเรียนปี 1 ของ ป.ตรี กับน้อง ๆ เพราะตอนนั้นจริง ๆ จบ ป. โท ไปแล้ว คริคริ ได้ไปเรียนวิชาพื้นฐานของนักศึกษา คณะ Media Art ได้ความว่า ภาษาที่ใช้การสะกดคำ และสื่อความเหมายด้วยเสียงอ่าน อย่างที่พูดไว้ ของเหล่านี้คือสัญลักษณ์
ภาษาเดียว ที่อาจารย์เขารู้จัก ว่ามันคล้ายสัญลักษณ์ และเป็นภาษาที่ยังไม่ตายคือ ภาษาจีน ภาษาจีนไม่ได้มาจากการประกอบกันของพยัญชนะและให้อ่านออกเสียงจากพยัญชนะ สระ ตัวสะกด หากแต่เราต้องท่องเป็นอักษร ๆ ไป สวอิเฎลเคยเรียนภาษาจีนตอนอยู่มัธยมต้น ลืมหมดแล้วตอนนี้ แต่ก็จำได้ว่าท่องไปเยอะ คนที่จำภาพเก่งจะได้คะแนนดีมาก ภาษาปกติที่เราเรียนแบบภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศษ เราก็จำภาพและเสียงไปพร้อม ๆ กับ สว อิเฎลว่าของเหล่านี้มันเกื้อกูลกัน ซึ่งต่างจาก ภาษาจีน ที่สมองเราต้องทำงานทั้งสองแบบ
Pingback: โจทย์ระดับมัธยม ออกแบบ สื่อโฆษณา | Sw-Eden.NET
Pingback: Irreligion: Never be religious, it causes me too many problems | Sw-Eden.NET
Pingback: มีใครชอบ Visual Kei J-Rock ยุค 1990 แถวนี้มั้ย? | Sw-Eden.NET