Cite this article as: Arunrangsiwed, P. (2020). Wrong Research Proposal Preparation. Retrieved from https://sw-eden.net/2020/04/02/wrong-research-proposal/
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) ที่ไม่ถูกต้อง. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/04/02/wrong-research-proposal/
พราว อรุณรังสีเวช ปัจจุบันสามารถทำวิจัยได้หลายรูปแบบหลายวิธีการ แต่ก่อนหน้านั้น ก็งง ๆ เหมือนกับนักศึกษาหลาย ๆ คนที่ยังไม่เข้าใจว่าวิจัยมีประโยชน์อย่างไร เมื่อก่อนพราว อรุณรังสีเวช มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิจัยที่ผิด คือ คิดว่า ผลลัพธ์ท้ายที่สุดของงานต้องเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดเท่านั้น เพื่อส่งเสริมให้บริษัทใด ๆ มีกำไรเยอะ ๆ เท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว วิจัยยิ่งใหญ่ว่าที่พราว อรุณรังสีเวชเคยเข้าใจ มันมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ แต่การที่พราว อรุณรังสีเวชเคยเข้าใจผิดมาในสมัยก่อน สมัยก่อนเรียนปริญญาเอกนั้น ก็มีข้อดีคือ ตอนนี้ ตอนที่เรามาสอนนักศึกษาของเราทำวิจัย เราจะรู้ว่าทำไมเขาเข้าใจผิด และรู้ว่าต้องอธิบายอย่างไร เขาจึงจะเข้าใจเหมือนกับเรา เรารู้สึกว่า เขาเรียนกับเรา เร็วกว่าตอนนั้นที่เราพยายามงมด้วยตัวเองอยู่ตั้ง 1 ปีเต็ม ก่อนเรียนปริญญาเอก
โครงสร้างเนื้อเรื่องโฆษณาทางโทรทัศน์สาธารณะที่ทำให้ผู้ชมจดจำ
Effect of Plot Structure of Public Television Advertising on Audiences’ Memory
จากโฆษณาที่ปรากฏอยู่มากมายตามโทรทัศน์สาธารณะ จะมีโฆษณาอยู่ไม่มากที่ผู้ชมสามารถจดจำได้ และเนื่องจากโฆษณาทางโทรทัศน์ใช้ต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนค่าเวลาโฆษณาของสถานีชื่อดัง ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะหาวิธีการหรือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ผู้ชมจดจำโฆษณานั้น ๆ ได้ โดยศึกษาจากโครงสร้างเนื้อเรื่องของโฆษณา (พราว อรุณรังสีเวชคนปัจจุบันบอกว่า อันนี้ไม่มีอ้างอิง และไม่มีการระบุช่องว่างงานวิจัย)
ตัวแปรต้น: โครงสร้างเนื้อเรื่องโฆษณารูปแบบต่าง ๆ
โครงสร้างเนื้อเรื่องโฆษณารูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้วิจัยจะจัดหมวดหมู่โฆษณาตัวอย่างตามโครงสร้างเนื้อเรื่องแต่ละประเภท เช่น เพิ่มความตื่นเต้นจนกระทั่งถึงตื่นเต้นที่สุด, เล่าเรื่องและสร้างความประทับใจตอนจบ, มีความตื่นเต้นเมื่อเริ่มเรื่องและลงความตื่นเต้นลงเพื่อบอกคุณลักษณะสินค้า, ระดับความน่าสนใจคงที่เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ เป็นต้น (พราว อรุณรังสีเวชคนปัจจุบันบอกว่า เป็นตัวแปรที่ไม่ชัดเจน)
ตัวแปรตาม: ความสนใจของผู้ชมและการจดจำโฆษณาที่มีโครงสร้างเนื้อเรื่องในรูปแบบต่าง ๆ กัน
เมื่อได้ตัวอย่างโฆษณาที่มีจัดหมวดหมู่ตามประเภทของโครงสร้างเนื้อเรื่องแล้ว ผู้วิจัยจะสำรวจความสนใจของผู้ชมต่อโฆษณาเหล่านั้น ตลอดจนการจดจำ คือ สามารถจดจำแนวคิด (Concept) หรือสาร (Message) (พราว อรุณรังสีเวชคนปัจจุบันบอกว่า ควรแยกเป็น 2 ตัวแปร แต่ก็ไม่ใช่ตัวแปรที่น่าสนใจทั้งคู่)
สมมติฐาน
๑. ลักษณะโครงสร้างเนื้อเรื่องโฆษณาที่ผู้ชมให้ความสนใจมากที่สุดคือ มีความตื่นเต้นทันทีที่เริ่มต้น และดำเนินเรื่องอย่างกระชับ
๒. ลักษณะโครงสร้างเนื้อเรื่องโฆษณาที่ผู้ชมให้ความสนใจรองลงมาคือ มีการเพิ่มความน่าสนใจในทุกขณะ เพื่อสร้างความประทับใจตอนจบ
๓. ลักษณะโครงสร้างเนื้อเรื่องโฆษณาที่ผู้ชมให้ความสนใจคือลักษณะของโฆษณาที่ผู้ชมสามารถจดจำได้ดี
๔. โฆษณาที่ผู้ชมสามารถจดจำได้ดีมีผลทำให้ผู้ชมตัดสินใจเลือกซื้อสิ้นค้านั้น ๆ
(พราว อรุณรังสีเวชคนปัจจุบันบอกว่า มีแค่ข้อ 3 ที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ข้ออื่นใช้ไม่ได้เลย)
ขอบเขตงานวิจัย/หัวข้อที่ไม่ครอบคลุม:
งานวิจัยนี้จะสำรวจและสรุปผลในส่วนของการจดจำและการตัดสินใจซื้อที่มีผลมาจากการจดจำ โดยไม่ได้สรุปให้เกี่ยวข้องกับยอดขายของสิ้นค้าแต่ละชนิด เพราะการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของยอดขายของสินค้าต่าง ๆ ไม่ได้มีผลจากการโฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่มีผลมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การบอกต่อ, คุณภาพ, ราคา, Promotion, การใช้อย่างต่อเนื่องจากความเคยชิน (ลูกค้าประจำ), ค่านิยม, งบประมาณการสั่งซื้อต่อจำนวนหน่วยที่ต้องการ เป็นต้น (พราว อรุณรังสีเวชคนปัจจุบันบอกว่า การเขียนขอบเขตต้องบอกว่าประชากรที่ต้องศึกษาคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร)
วิธีการเก็บข้อมูล
๑. สำรวจโดยหาแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เช่น จำนวนการค้นหาโฆษณาต่าง ๆ ใน Google, จำนวนผู้ชมทาง Youtube, จำนวนคำศัพท์ผู้ที่พูดคุยผ่านทางเว็บบอร์ดและเว็บบล็อก เป็นต้น (พราว อรุณรังสีเวชคนปัจจุบันบอกว่า ข้อนี้ไม่ได้ช่วยตอบคำถาม)
๒. สำรวจด้วยแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ดูโทรทัศน์ในวัยต่าง ๆ
คำถามหลัก
๑. ผู้ชมจดจำโฆษณาที่มีโครงสร้างเนื้อเรื่องชนิดใดได้ดีที่สุด
๒. โฆษณาที่มีโครงสร้างเนื้อเรื่องที่ผู้ชมจดจำได้ดีที่สุดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อจริงหรือไม่
๓. การจดจำเนื้อเรื่อง แนวคิด และสาร ทำให้สามารถจดจำตัวสินค้าได้ดีด้วยจริงหรือไม่
๔. ผู้ชมตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเพราะโครงสร้างเนื้อเรื่องของโฆษณาชนิดใดมากที่สุด
(พราว อรุณรังสีเวชคนปัจจุบันบอกว่า คำถามควรตรงกับวัตถุประสงค์ หรือถ้าคุณชำนาณแช้วก็ไม่ต้องเขียนก็ได้)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เพื่อให้ทราบแนวทางการผลิตสื่อโฆษณาที่น่าสนใจและสามารถทำให้ผู้ชมจดจำได้
๒. เพื่อให้ทราบว่าโฆษณาที่ผู้ชมสามารถจดจำได้ มีผลต่อการเลือกซื้อสิ้นค้าจริง
๓. เพื่อให้ทราบว่าผู้ชมที่สามารถจดจำแนวคิดและสารของโฆษณาสามารถจดจำตัวสินค้นได้
๔. หากงานวิจัยถูกนำไปใช้ จะเกิดความคุ้มค่าทางธุรกิจ เพราะโฆษณาทางโทรทัศน์สาธารณะมีต้นทุนค่าโฆษณาสูง จึงจำเป็นที่ผู้ชมควรจดจำโฆษณานั้น ๆ ได้
๕. ผลพลอยได้จากการทำวิจัย จะทราบถึงการกระจายข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับโฆษณาที่ผู้ชมให้ความสนใจ
(พราว อรุณรังสีเวชคนปัจจุบันบอกว่า การเขียนว่า เพื่อให้ทราบ นั้นดูไม่มีประโยชน์ ควรเขียนเพื่อให้นำมาซึ่งการลงมือปฏิบัติและพัฒนาจริง)
การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) ที่นำมาใช้เป็นตัวอย่างนี้ เป็นผลงานของ พราว อรุณรังสีเวชเอง ในปี 2556 ตอนนั้นอยากเรียนต่อปริญญาเอก อยากทำงานวิจัยเป็น พยายามเข้าอบรมการวิจัยหลายที่มาก ฟังเยอะมาก แต่ก็เขียนได้เท่าที่เห็น จนกระทั่งได้เรียน ม. กรุงเทพ ที่สอนให้เราทำวิจัยเป็นได้แบบทุกวันนี้
Pingback: สื่อโฆษณาที่เน้นว่าขาวแล้วสวย มันฆ่าคนผิวดำชัด ๆ | Sw-Eden.NET
Pingback: What I really found at Thai Riverside Market! | Sw-Eden.NET
Pingback: How can I support Floating market in Thailand? | Sw-Eden.NET
Pingback: พวกชังชาติ มันหมายถึงใครกัน? เราใช้พวกชังชาติหรือเปล่า? | Sw-Eden.NET