อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). จะดำเนินการวิจัยวัดเขตบางใหญ่บางกรวยอย่างไรดี (เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมเอกสารงานวิจัยเรื่อง The Effects of Website for Temples in Bangyai and Bangkruay District on Thai Tourist Attractions). สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/04/03/method-temple/
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
1. กำหนดคำถามสำหรับงานวิจัย
2. กำหนดคำถามสำหรับสอบถามพระสงฆ์
๓.๑ กำหนดคำถามสำหรับผู้ใช้เว็บไซต์
ข้อมูลชนิดใดในเว็บไซต์ที่ทำให้ชาวไทยตัดสินใจมาวัดในเขตบางใหญ่และบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ภาพ แผนที่ ประวัติวัด ฯลฯ คนทั่วไปตัดสินใจไปวัดที่ไม่เคยไปจากสื่อใดมากที่สุด หากคนต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวัดในเขตบางใหญ่และบางกรวยจังหวัดนนทบุรีทางเว็บไซต์ พวกเขาเหล่านั้นจะได้ข้อมูลที่ต้องการหรือไม่
© สงวนลิขสิทธิ์โดย พราว อรุณรังสีเวช
ข้อมูลในเว็บไวตืมีความถูกต้องแม่นยำ ไม่ทำให้คนที่ไปมาแล้วผิดหวัง ผู้ที่ไปวัดมาแล้ว จะนำภาพหรือเรื่องราวไปเผยแพร่ต่อทางเว็บไซต์หรือไม่ จะพัฒนาเว็บไซต์อย่างไร ให้สามารถทำให้ผู้ชมตัดสินใจเดินทางมาวัดได้จริง (ต้องแยกกรณีคนที่ตัดสินใจแล้ว แต่หาแค่แผนที่)
๒. ตั้งสมมติฐาน
นักท่องเที่ยวหรือผู้ทำบุญขาจรได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัดทางโทรทัศน์ และหาข้อมูลแผนที่หรือทางไปวัดในเว็บไซต์ หากในเว็บไซต์มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวภายในวัด จะช่วยให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ทำบุญขาจรตัดสินใจเดินทางมาวัด
เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัดในปัจจุบัน ไม่ได้จัดทำโดยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับ SEO Scores (การจัดลำดับเว็บในหน้าผลลัพธ์ของ Search Engine) ผู้ที่มาทำบุญในวัดในเขตบางใหญ่และบางกรวย ส่วนมากเป็นคนท้องถิ่น ไม่ใช่นักท่องเที่ยว มีเว็บไวต์จำนวนน้อยมากที่จัดทำขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือผู้ทำบุญขาจรให้มาทำบุญที่วัดในเขตบางใหญ่และบางกรวย
© สงวนลิขสิทธิ์โดย พราว อรุณรังสีเวช
1. ศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษาประวัติวัดโดยสังเขปจากเว็บไซต์
การเดินทาง
เดินทางไปวัดจำนวน ๒๑ วัด โดยใช้ยานพาหนะคือรถยนต์ส่วนบุคคล และนำเครื่องสังฆทานไปถวานพระสงฆ์แต่ละวัดทุกครั้งเมื่อเก็บข้อมูล การเดินทางไปวัดแต่ละวัด ใช้วิธีการเข้าถึงทุกวัดที่สามารถไปได้ คือขับรถเข้าซอย ดูป้าย และสอบถามทางจากชาวบ้าน เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างมากที่สุด
รายชื่อวัด ควรแยกดังนี้
วัดในเขตบางใหญ่
-ฝั่งตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก (ขาออก)
-ฝั่งตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก (ขาเข้า)
วัดในเขตบางกรวย
-ฝั่งตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก (ขาออก)
-ฝั่งตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก (ขาเข้า)
© สงวนลิขสิทธิ์โดย พราว อรุณรังสีเวช
ปัญหาและแนวทางแก้ไข
จากที่เคยตั้งกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เดินทางมาวัดในเขตบางใหญ่และบางกรวยโดยพึ่งสื่อเว็บไซต์ ทำให้เกิดปัญหาคือ ไม่สามารถหากลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ที่พบเป็นคนในพื้นที่ ผู้วิจัยจึงเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่าง มาเป็นพระสงฆ์ที่ประจำอยู่ในวัดเหล่านั้น และสอบถามท่านเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวขาจร จุดสนใจในวัด และข้อมูลอื่น ๆ ของวัดโดยสังเขป
เนื่องจากช่วงเวลาที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นช่วงเข้าพรรษา ทำให้พบว่ามีการจัดงานบวชและนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอยู่บ่อยครั้ง จึงไม่สะดวกในการเก็บข้อมูลจากวัดดังกล่าว ทำให้ต้องเปลี่ยนจากการเก็บข้อมูลวันเสาร์-อาทิตย์ มาเป็นวันจันทร์-ศุกร์
© สงวนลิขสิทธิ์โดย พราว อรุณรังสีเวช
แม้ว่าพระสงฆ์ทุกรูปจะยินดีให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่จำนวนผู้มาทำบุญ หรือนักท่องเที่ยวนั้นเป็นตัวเลขโดยประมาณ ทำให้ผู้วิจัยต้องทำแบบสอบถามขึ้นมาอีกจำนวน ๑ ชุด โดยอิงคำถามจากแบบสอบถามเดิมที่เกิดปัญหาที่กล่าวมาแล้ว และกลุ่มเป้าหมายคือผู้ใช้เว็บไซต์ทั่วไป จำนวน ๑๐๐ คน
บางครั้งที่ผู้วิจัยเดินทางไปวัดและพบว่ามีงานศพ ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลจากวัดนั้นในวันเวลาดังกล่าวได้ และต้องกลับมาเก็บข้อมูลในวันอื่น สรุปและวิเคราะห์ควบคู่กับศึกษาข้อมูลจาก Google หน้าหลัก และ Keyword Tool และ SEO Scores
Pingback: ทำอย่างไรจึงอินไปกับสื่อ จินตนาการไปพร้อมกับสื่อ | Sw-Eden.NET