5 Steps to take care of a puppy
เขียนโดย รตจิตร
Written by Ratajit |April 7, 2020
**งานเขียนของรตจิตรเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนที่ต้องเลี้ยงลูกหมาตั้งแต่เด็ก หรือแรกเกิด เพื่อให้ลูกหมาอยู่รอด ทั้งนี้มิให้คัดลอก ดัดแปลง หรือนำงานเขียนของรตจิตรไปใช้ไม่ว่ากรณีใด ๆ จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านวรรณกรรมและศิลปกรรมทันที
รตจิตรเห็นประกาศใน Facebook ต้องการให้ช่วยเอาน้องหมาแรกเกิดมาเลี้ยง ที่ทุ่งหญ้ารกชัฏแถวทางรถไฟศาลายา นครปฐม ผู้ลงประกาศบอกว่า บริเวณนั้นเป็นมีงูเห่า บางครั้งสุนัขตัวแม่ที่เป็นหมาจรจัดก็ไม่อยู่ กลัวว่าลูกหมาจะเป็นอันตราย
รตจิตรเคยเก็บหมามาเลี้ยงหลายครั้ง เหมือนตัวก่อน ๆ ที่รตจิตรช่วยเอามาเลี้ยง เพราะแม่หมาตายบ้าง มีคนไปปล่อยที่วัด ปล่อยที่มหาวิทยาลัยมหิดลบ้าง เป็นต้น บทความนี้รตจิตรพูดเกี่ยวกับขั้นตอนการเลี้ยงลูกหมาเพิ่งเกิดจริง ๆ ดังนั้นรตจิตรจะไม่พูดถึงการฉีดวัคซีนซึ่งเคยเขียนไปแล้ว เพื่อน ๆ หาอ่านได้ที่
5 ขั้นตอนในการเลี้ยงลูกสุนัขแรกเกิด
1.สถานที่เลี้ยง: จัดสถานที่ให้ปลอดภัยต่อตัวลูกหมา
2.อาหาร: ส่วนมากคือนมสดรสจืด 0% ของ Dutch Milk
3.การขับถ่าย: รตจิตรจะพูดถึงเรื่อง ฉี่และอึ
4.การดูแลทั่วไป: เพื่อให้ชสุขภาพจิต และกายแข็งแรง
5.ช่วงเวลาที่เริ่มวางใจได้: ประมาณ 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน
1.สถานที่เลี้ยงลูกสุนัขแรกเกิด
เนื่องจากรตจิตรได้ลูกสุนัขเพิ่งเกิด รตจิตรจึงต้องให้ความสำคัญด้านความอบอุ่น อีกทั้งเดือนที่รตจิตรเก็บลูกสุนัขมาเลี้ยงเป็นช่วงใกล้หน้าหนาวด้วย รตจิตรตั้งชื่อว่า ตู่น้อย รตจิตรเลี้ยงตู่น้อยในลังใบใหญ่ ปูผ้านุ่ม ๆ มีหมอนให้ด้วย เพราะเผื่อตู่น้อยเดินได้ จะได้มีที่มีทางให้น้องหมา และไม่เลี้ยงในห้องแอร์ด้วย เพื่อป้องกันหนาวจนชัก รตจิตรเขียนอยู่ใน
2.อาหาร
ช่วงลูกสุนัขแรกเกิด: รตจิตรต้องคอยปลุกนาฬิกาเพื่อมาให้นมตู่น้อยทุก 2 ช.ม. มีอยู่วันหนึ่งที่ลูกรตจิตรต้องหิ้วลูกสุนัขใส่ตะกร้าไปให้นมที่ทำงานด้วย
ช่วงลูกสุนัข 2-3 สัปดาห์: รตจิตรให้นมทุก ๆ 4 ชั่วโมง บ่อยครั้งที่การดูดนมของลูกสุนัข จะพยามยามดันจุกขวดนมออก เพื่อมาดูดนิ่วมือรตจิตร ก็ปล่อยให้ทำแป๊บเดียว แล้วรตจิตรก็แหย่จุกนมเข้าแทนทันที
อย่างไรก็ตามถ้าที่บ้านมีน้องหมาตัวอื่นอยู่ จะช่วยดูลูกสุนัขให้รตจิตรได้ และยังเป็นเพื่อนที่ดีของน้องหมาแรกเกิดด้วย เพราะอาจเข้าใจกันและกันมากกว่า หรือรตจิตรอาจคิดไปเองก็ได้
ลูกสุนัขแรกเกิดจะกินแต่นมทำให้ตู่น้อยฉี่เยอะมาก รตจิตรต้องคอยเช็ดฉี่น้องหมา เพื่อนๆ สังเกตได้ง่ายว่าช่วงไหนที่น้องหมาฉี่ เพราะลูกสุนัขจะร้องเสมอ ตู่น้อยเองก็เช่นกันไม่ยอมให้ตัวเปียก
แม้เวลากลางคืนที่รตจิตรปลุกทุก 2 ช.ม. เพื่อมาป้อนนมชงไว้ในขวด บางครั้งก็ต้องตื่นก่อนเพราะได้ยินลูกหมาร้องเพราะฉี่แฉะเลอะเทอะ บางครั้งก็เป็นอึ รตจิตรแทบจะไม่เคยให้ลูกสุนัขนอนแช่ฉี่ เพราะอาจทำให้สุนัขเป็นปอดบวมเสียชีวิตได้
นอกจากรตจิตรจะให้ความอุ่นโดยนอนบนผ้าในลัง รตจิตรต้องระวังเรื่องสิ่งของตกใส่น้องหมา เพราะลูกหมาจะเดินเตาะแตะ ชนโน่นชนนี่ รตจิตรคิดว่าเพราะสายตายังลืมไม่ 100% หรือการกะระยะยังไม่ดีพอ
รตจิตรต้องกั้นทางขึ้นบันไดด้วย ช่วงนี้รตจิตรเริ่มฝึกน้องหมาได้ไม่ยาก และบางครั้งรตจิตรต้องระวังลูกสุนัขไปดูดตรงนั้นของน้องหมาตัวอื่นอีกด้วย เพราะคิดว่านมแม่ เป็นต้น และที่สำคัญรตจิตรต้องระวังเรื่องยุง เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ด้วย
5.ช่วงเวลาที่เริ่มปล่อยได้
พอลูกสุนัขอายุสัก 40 สัปดาห์ รตจิตรเริ่มฝึกน้องหมาให้กิน 4 ชั่วโมงได้อย่างจริงจัง รตจิตรเป็นลูกสุนัขมี activities อื่น ๆ มากขึ้น นอกจากกินนอนแล้ว ยังชอบเดินด้วย ทำให้รตจิตรดูแลได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญรตจิตรคิดว่า รตจิตรยิ่งเลี้ยงก็ยิ่งรัก ทำให้รตจิตรไม่ได้รู้สึกว่า การเลี้ยงลูกหมายุ่งยาก แต่กลับเห็นแต่ความน่ารักของตู่น้อย
Pingback: อาการของสุนัขโดนงูพิษกัด และวิธีรักษา | Sw-Eden.NET