ชีวิตหลังความตาย ใครจะพิสูจน์ได้
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). ชีวิตหลังความตาย ใครจะพิสูจน์ได้. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/04/08/after-life/
ใครกล้าพูดว่าตนไม่กลัวตาย หรือบางคนที่ไม่กลัวตาย ก็จะกลัวช่วงเวลาก่อนตาย เช่น กลัวโรคภัย กลัวอุบัติเหตุ กลัวการถูกฆาตรกรรม ตลอดจนกลัวแก่ เรื่องของการแก่นั้น อิเฎลเชื่อว่าเพื่อน ๆ ทุกคนก็ทราบดีว่าถ้าถึงเวลามันก็ต้องแก่ แล้วเคยไหมที่ท่านไปบนหรือขอพรพระเทวดา ว่า “ขอให้หนูอย่าแก่” นั่นซิ น่ากลัวกว่าแก่อีก เพราะถ้าท่านไม่เจอกับความแก่ ก็แสดงว่าท่านตายก่อนเวลาแก่
ที่อิเฎลพูดมาคือการแก่ของสังขาร มิใช่หมายถึงแก่ประสบการณ์ หรือ แก่วิชา เพราะแก่ 2 แบบหลังนั้นดี
สมัยนี้ สว อิเฎล ได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ซึ่งมีให้ฟังอย่างแพร่หลาย อาจถือได้ว่าเป็นยุคทองแห่งสื่อ (Media) ของพระพุทธศาสนาเลยก็ว่าได้ หนังสือก็หาง่าย ซีดีก็หาฟังง่าย สถานที่ต่าง ๆ ก็นิมนต์พระภิกษุมาเทศน์อยู่บ่อย ๆ และการนี้คนส่วนมากก็ทราบแล้วว่าหลังความตาย สถานที่หรือภพภูมิที่เราจะไปเกิดนั้นขึ้นอยู่กับจิตสุดท้าย ถ้าคิดดี มีสติ ก็ได้ไปสวรรค์ หรือถ้าหวาดกลัว เครียดแค้น มีห่วง ก็จะได้ไปนรก
อิเฎลลองคิดเองว่า ทำไมเวลาตายไปไม่ไปเกิดเป็นคนต่อทันที หรือเกิดเป็นสัตว์ต่อทันที สาเหตุมาจากช่วงชีวิต เวลาเกิด และเวลาตาย ของสิ่งมีชีวิตบนโลกอาจจะไม่ลงตัวอย่างพอดิบพอดี ท่านจึงจัดให้ไปเป็นเทวดาหรือสัตว์นรกที่เวลาของเขาเหล่านี้สามารถยืดหยุ่นได้ (flexible)
ถามท่านว่า ถ้าการตายเป็นเช่นนี้ คือ ไม่ได้ดับไปทั้งหมด แต่เหมือนกับเดินทางไปอีกสถานที่หนึ่ง เป็นที่ใหม่ที่เราไม่เคยรู้จัก พูดเช่นนี้ ท่านจะกลัวความตายหรือไม่ อีกทั้งคนที่ท่านเคยทำกรรมร่วมกันมาก็จะตามมาในอีกไม่ช้า ฟังดูแล้วก็เหมือนไปเที่ยว และเพื่อน ๆ ค่อยตามมาทีหลัง
คำว่า “กรรม” ที่ว่า มีทั้งกรรมดีและไม่ดี ถ้ามีกรรมไม่ดีเกิดขึ้นระหว่างเราหรือใครคนใด ให้อโหสิกรรมเขา อภัย และไม่ยึดกับความโกรธ หรือความกังวล การนี้อาจทำให้ในภพภูมิหน้า เรื่องเครียดระหว่างเรากับเขาก็จะทุเลาลง หรือไม่มีเลย
มรณะ คืออะไร? ภาวะที่ชีวิตดับไป หรือ ดำเนินไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ซึ่งมรณะได้ถูกแบ่งเป็น 5 แบบ เรียงจากไม่น่ากลัวเลย จนถึงน่ากลัวสุด ๆ ดังนี้
๑. สังสารวัตมรณะ คือ การตายไปจากสังสารวัต ไม่กลับมาเวียนไหว้ตายเกิดอีก ซึ่งก็คือนิพพานนั่นเอง (การตายของพระอรหันต์) สาเหตุที่เกิดนิพพานได้ คือ ภาวะจิตสุดท้ายไม่ได้ยึดติดกับสิ่งใด ๆ ทำให้ไม่มีการไปจับภพภูมิหน้าต่อไปได้
๒. คณิกะมรณะ คือการตายชั่วขณะ เช่น ภาวะความรู้สึกจากสัมผัสทั้ง 5 ตลอดจนอารมณ์ และความนึกคิด เช่น อยากเลี้ยงหมา พอได้เลี้ยงแล้วความอยากก็หมดไป, รู้สึกคัดจมูก เมื่อได้สั่งน้ำมูกแล้ว ความรู้สึกอึดอัดนั้นก็หมดไป เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถเกิดขึ้นไม่ได้เรื่อย ๆ หรือเกิดในรูปแบบอื่นที่ใกล้เคียงกัน
๓. สมมติมรณะ คือ การตายที่ถูกสมมติขึ้นโดยมนุษย์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พัง, ต้นไม้ตาย (ต้นไม้ไม่มีจิตวิญญาณ), อาหารบูดเน่าเสีย เป็นต้น
๔. กาลมรณะ คือ ตายเมื่อถึงเวลา ของทั้งคนและสัตว์ และสิ่งมีชีวิตในภพภูมิอื่น ๆ กล่าวคือการจากภพภูมิหนึ่ง ๆ เพื่อไปเกิดในอีกภพภูมิหนึ่ง เช่น แก่ตาย, ตายเพราะโรคภัย ตลอดจนตายเพราะหมดกรรม คือไม่มีกรรมใดติดค้างในภพภูมิที่เป็นอยู่ อย่างที่เราเห็นว่าคนหนุ่มคนสาวนอนตายไปเฉย ๆ โดยไม่ได้เจ็บป่วยอะไร
๕. อกาละมรณะ คือการตายเมื่อยังไม่ถึงเวลา ชาวบ้านเรียกว่า “ตายโหง” เป็นสิ่งที่คนทั่วไปกลัวที่สุด เกิดได้จากการถูกฆ่า อุบัติเหตุ และการฆ่าตัวตาย สาเหตุคือมีกรรมชั่วมาขัดรอนชีวิต
สว อิเฎลขอขอบคุณแหล่งที่มา ของเรื่องประเภทของ มรณะ บรรยายธรรมโดยพระครูธำมธรครรชิต คุณวโร
Pingback: ใครเกลียดครูสอนภาษาไทยบ้าง? พระอภัยมณีสำส่อน? | Sw-Eden.NET
Pingback: วัตถุ Follow through คืออะไร? | Sw-Eden.NET