ถ้าไทยเลือกได้ จะเลือกใครระหว่าง จีน รัสเซีย หรือสหรัฐอเมริกา
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). ถ้าไทยเลือกได้ จะเลือกใครระหว่าง จีน รัสเซีย หรือสหรัฐอเมริกา. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/04/08/thailand-china-usa/
© สงวนลิขสิทธิ์โดย พราว อรุณรังสีเวช
มาถึง Colors Crisis มีทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อชมพู เสื้อน้ำเงิน เสื้อหลายสี และอะไรอื่น ๆ อีกมากมาย จนประเทศไทยเราจะกลายเป็นประเทศสายรุ้ง หรือประเทศเทย ดั่งที่ไร้สาระนุกรมได้กล่าวไว้
สีของเสื้อ มิใช่เพียงเครื่องบ่งบอกความคิดเห็นและอุดมการณ์ทางการเมือง แต่อิเฎลเชื่อว่ามันเป็นเครื่องแบ่งแยกชนชั้น (Class Division) กล่าวคือ สีแดงและสีน้ำเงิน เป็นคนยากจน และสีอื่น ๆ เป็นชนชั้นกลาง โดยส่วนมากในสังคม Online อิเฎลจะเจอแต่ชนชั้นกลาง เพราะพวกเขามีอินเตอร์เน็ตใช้
ชาวเสื้อแดงนั้นมีเอกลักษณ์อยู่อย่างคือ ใคร ๆ ไปเปลี่ยนความคิดเขาไม่ได้ เขารักใครแล้ว เชื่อใครแล้ว ก็เป็นเช่นนั้นตลอด แต่มีเสื้อแดงอยู่พวกที่อาจเข้ามาเพื่อหวังเอาเงินจากนักการเมืองเท่านั้นโดยที่ไม่สนใจอุดมการณ์ ถ้ามีนักวิจัยได้ศึกษาด้านจิตวิทยากับพวกเขา คงได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ไม่น้อย เพราะใคร ๆ เรียกเขาว่า “ควายแดง” โดยไม่ศึกษาให้ลึกซึ้งว่าเขาคิดอะไร
คุณลองถามเด็กเสื้อแดงดูซิ ว่าเขาเลือกใครในหัวข้อสนทนาของเราวันนี้ จีน รัสเซีย หรือสหรัฐอเมริกา แน่นอน คนส่วนใหญ่เลือกอเมริกา อยาให้อเมริกามาลงทุน อยากซื้อของผลิตจากประเทศอเมริกา อยากให้ประเทศได้ทำโครงการร่วมกับประเทศอเมริกา เหมือนเป็นลัทธิเห่อฝรั่ง ตามสัญชาตญาณของชาวไทย
อีกคำถามที่น่าสนใจของเด็กเสื้อแดง ในฐานะอาจารย์ อิเฎลพบว่าถ้าถามความคิดด้านการเมือง นักศึกษาเสื้อแดงส่วนใหญ่มักพูดว่าตนเองเป็นกลาง แล้วค่อยมายอมรับว่าตนเป็นเสื้อแดงในภายหลัง ตรงกันข้ามกับนักศึกษาเสื้อเหลือง ที่ตอบอย่างเต็มปาก และยินดีที่จะตอบ
เสื้อเหลือง เสื้อหลากสี ชนชั้นกลางมองโลกตามความเป็นจริง จริงหรือ? หรือพวกเขาเพียงมองโลกตามหนังสือพิมพ์ที่ดูเหนือชั้นกว่าหนังสือพิมพ์ชาวบ้าน ชนชั้นกลางเหล่านี้ชอบพูดกันเรื่องเหตุผล เป็นเหตุให้นักวิชาการมักออกมาต่อต้านนักการเมืองเสื้อแดงอยู่เสมอ แต่เรื่องเหตุผลนี้ ชนชั้นกลางแค่ฟังเขามา หรือลงไปพิสูจน์ด้วยตนเองกันแน่
แน่นอน เสื้อเหลืองอาจไม่เห่ออเมริกา หรือเชื่อถือสำนักข่าวอเมริกามากเท่าไรนัก เพราะคนของเขาก็มีประเภทที่ใช้เงินซื้อได้ ไม่แพ้ประเทศไทย อิเฎลสามารถลัดคิวจองโต๊ะในร้านอาหาร ถ้าให้ทิพเด็กเสริฟเพียง 20 เหรียญ หรือ อิเฎลสามารถได้ห้องในโรงแรมหรูทันทีเมื่อทิพให้พนักงาน แต่อิเฎลไม่ทำ เพราะผิดศีล คนที่ทำคือเพื่อนร่วมคณะคนหนึ่งสมัยปริญญาตรี
เร็ว ๆ นี้ (เวลานี้ เดือนสิงหาคม 2555) มีข่าวเรื่องการ แลกวีซ่าเข้าอเมริกา กับเรื่องอู่ตะเภา คุณเชื่อหรือไม่ หรือเชื่อเมื่อเห็นหลักฐาน อิเฎลคงไม่กล่าวอะไรซ้ำ แต่ถึงอย่างไรข่าวนี้ทำให้ชนชั้นกลางเกรงว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับจีน และ ไทยกับรัฐเซียอาจจะสั่นคลอน แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีสัมพันธไมตรีอันดีกับไทยมาโดยตลอดโดยเฉพาะกับสถานบันพระมหากษัตริย์ ที่ได้สร้างสมไว้มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
แน่นอน คำตอบของคนชั้นกลางคงหนีไม่พ้น การอยู่ข้างจีนกับรัฐเซีย แต่ในทางกลับกัน ชนชั้นกลางบางกลุ่มอาจมองว่าจีนกำลังเดินตามวิวัฒนาการทางวัตถุของสหรัฐอเมริกา อิเฎลไม่ได้คิดข้อนี้เองหรอก แต่เพื่อนของอิเฎล อาจารย์สุภาภรณ์ ชวนอิเฎลไปฟังเรื่องการก้าวเข้าสู่อาเซี่ยนที่ศศินทร์
สิ่งที่เราทำได้อยู่ตอนนี้คือ การกลั่นกรองสื่อ ว่าสิ่งใดควรเชื่อ หรือไม่ควรเชื่อ เสื้อแดงหลายกลุ่มก็อาจถูกซื้อมาประท้วง หรือ เสื้อเหลืองก็อาจเป็นเช่นกัน ไม่มีใครจะดีหรือจะเลวไปทั้งหมด อย่าให้ศีลขาดก็เพียงพอแล้ว ศีล มิใช่ศีล 5 แต่หมายถึงสิ่งที่เกื้อกูลกัน ทำให้ประเทศน่าอยู่ ร่วมเย็น เป็นสุข
คำถามทิ้งท้าย ให้ท่านผู้อ่านได้คิดกัน คือ เมื่อท่านเลือกฝ่าย เสื้อเหลือง หรือเสื้อแดงแล้ว ท่านเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในประเทศได้? อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่ท่านทำได้ก็คือ เป็นพลเมืองที่ดี เป็นสมาชิกของครอบครัวที่ดี และอย่าลืมปฏิบัติดีแก่ตัวของท่านเอง
ศีลจะเกิดขึ้นได้ หากไม่มีความเห็นแก่ตัว
Pingback: ใครเกลียดงานเอกสาร เบื่อทำรายงานบ้าง ยกมือขึ้น! | Sw-Eden.NET