จิตอาสา ไร้ค่า แค่สร้างภาพ นี่หรือคือความหมาย
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). จิตอาสา ไร้ค่า แค่สร้างภาพ นี่หรือคือความหมาย. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/04/08/volunteer/
© สงวนลิขสิทธิ์โดย พราว อรุณรังสีเวช
ก่อนอื่น อิเฎลขอเริ่มที่ความหมายตรงตัวของคำว่าจิตอาสา ก่อนที่จะเข้าเรื่องความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป
จิต แปลว่า จิตใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด หรือ นึก, ทางพระพุทธศาสนาคือ “วิญญาณ” หนึ่งในขันธ์ 5
อาสา แปลว่า รับทำโดยเต็มใจ
จิตอาสา คำนี้เกิดมาในประเทศไทยราว ๆ หลังจากเหตุการณ์ซึนามิ (Tsunami) มีกลุ่มคนอาสาสมัครไปช่วยเหลือชาวบ้านและนักท่องเที่ยวผู้เดือดร้อน ผู้ประสพภัยพิบัติ ตามมาด้วยเหตุการณ์น้ำท่วมปลายปี 2554 ที่รัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจปล่อยน้ำเข้ากรุงเทพ ทำความเสียหายอย่างหนักให้ประเทศไทย มิใช่เพียงปกป้องเมืองหลวงไม่ได้ แต่เป็นผู้ทำเสียหายให้กับเมืองหลวง
ถึงคำว่า จิตอาสา จะเป็นศัพท์ใหม่ มาทีหลังคำว่า จิตสาธารณะ ที่ทางกระทรวงให้นักเรียนชั้นมัธยมจดจำมาค่อนข้างนานแล้ว ส่วนโรงเรียนมัธยมที่ สว อิเฎล เคยเรียนก็มีการให้รางวัลกับนักเรียนด้วยหัวข้อนี้ รับใช้ผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม อาสาสมัคร ฯลฯ และเรียกประกาสนียบัตรนั้งว่า “Serviam”
ทุกวันนี้ คนเราจะเข้าใจว่า จิตอาสา แปลว่าการรวมกลุ่มกันของคน หรือ สัตว์ประเสริฐอย่างมนุษย์ และเดินทางลงพื้นที่ไปช่วยเหลือผู้อื่น ตลอดจนปลูกป่า อนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อส่วนรวม แต่แท้ที่จริงแล้วนั้น จิตอาสาเกิดขึ้นได้ทุกขณะ เพียงแค่คุณมีความเป็นอาสาสมัคร พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น และลงมือช่วยเหลือจริง
© สงวนลิขสิทธิ์โดย พราว อรุณรังสีเวช
วันที่ 15-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 สว อิเฎล เดินทางไปฟังการเสวนาเกี่ยวกับเรื่องจิตอาสาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ วิทยากรเล่าว่า การที่จะเกิดจิตอาสาได้นั้น ต้อง อยากทำ, เชื่อว่าทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น, ทำได้ด้วยตนเอง และ ลงมือทำ
ในมหกรรมจิตอาสาครั้งนี้ ด้านนอกตัวอาคารมีโรงเรียนต่าง ๆ มาจัดซุ้ม เพื่อแสดงหลักฐานภาพถ่ายของผลงานที่ตนเป็นกลุ่มจิตอาสาไปช่วยเหลือพื้นที่ต่าง ๆ ครูของโรงเรียนหนึ่งในมหกรรมจิตอาสานั้นได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคุณรตจิตร หนึ่งในนักเขียนของเว็บบล็อกของเรา (sw-eden.net) ครูมีความเห็นว่า จิตอาสาจะเกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มกันเพื่อออกไปบำเพ็ญประโยชน์ โดยจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับหน้าที่ เช่น นักเรียนช่วยอาจารย์ถือของ ไม่ถือเป็นจิตอาสา, ชาวไทยตื่นมาตักบาตรเวลาเช้า ไม่ถือเป็นจิตอาสา ทั้งนี้เพราะ หน้าที่ของนักเรียนที่ดีต้องถือของให้อาจารย์อยู่แล้ว และ หน้าที่ของชาวพุทธคือการใส่บาตร
เหตุผลดังกล่าวไม่ตรงตามความหมายของ “จิตอาสา” ที่คุณรตจิตรได้รับฟังธรรมและสอบถามพระ ซึ่งท่านได้รวมการตักบาตรไว้ในจิตอาสาด้วย เพราะถือว่าเป็นการทำให้ศาสนาพุทธมีอายุยืนยาวขึ้น เพื่อเป็นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนนำธรรมะไปปฏิบัติ นอกจากตัวอย่างนี้ ท่านยังเสริมอีก โดยรวมว่า จิตอาสาเกิดได้ทุกวัน และทุกเวลา ที่เราได้ทำดีเพื่อผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
แต่ไม่ว่าจิตอาสาจะแปลว่าอะไรก้ตาม ท่านผู้อ่านคงจะสงสัยว่าทำไม สว อิเฎล จึงตั้งหัวขอบทความนี้ได้เลวร้ายนัก
จิตอาสาที่แท้จริงนั้น เป็นเรื่องที่ประเสริฐ ทำให้ผู้อื่นมีความสุข และผู้ให้ก็มีความสุข จิตใจอิ่มเอิบ ผ่องใส การให้ที่ไม่หวังผลประโยชน์นี้ ผู้ที่เป็นผู้ให้จะไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นเม็ดเงิน แต่จะได้ความสุข ความภาคภูมิใจกลับมา ซึ่งมีคุณค่ามาก จนประเมินหาค่ามิได้
ในทางกลับกัน การเข้าใจคำว่า จิตอาสา อย่างผิด ๆ หรือ การนำคำว่า จิตอาสา มาหากินเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนนั้น มีอยู่มากมายในสังคมปัจจุบันที่คำว่า “จิตอาสา” กำลังมาแรง เป็น Trend ว่าทำแล้วโก้ เท่ห์ ดูดี
ในมหกรรมจิตอาสาที่ ม.ธรรมศาสตร์ นั้น พูดถึงเรื่องการทำบุญสร้างภาพ โดยเน้นเฉพาะด้านการถ่ายภาพเพื่อนำไปอวดใน Facebook ซึ่งเช่นเคย คุณรตจิตรได้ถกประเด็นนี้กับวิทยากรว่า การถ่านรูปอาจมิใช้การสร้างภาพให้ตนเองดูดี แต่เป็นการนำไปเผยแพร่เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม อีกทั้งยังสามารถเก็บเป็นหลักฐานว่า ของบริจาคถึงมือผู้รับจริง
เมื่อการถ่ายภาพมิใช้ประเด็นที่แสดงให้ว่าเป็นการสร้างภาพ อิเฎลทราบจากประสพน์การณ์???? ของตัวเองว่า การสร้างภาพยังมีวิธีอื่นอีก และการโกงเงินบริจาคก็มีด้วยเช่นกัน
เดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา สว อิเฎล ได้ร่วมกับกลุ่มจิตอาสากลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง เราไปปลูกป่าต้นน้ำ ทำฝายชะลอน้ำ และทำโป่งเทียมเพื่อช้างป่า ที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัด เพชรบุรี และได้พบกับวีรบุรุษผู้หนึ่ง ผู้อุทิศตนให้กับธรรมชาติ ยืนหยัดเพื่อความถูกต้อง แม้ว่าจะมีอุปสรรคจากผู้มีอิทธิพลมากมายมาขัดความความถูกต้องชอบธรรมนั้น ๆ
คุณรตจิตรได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวีรบุรุษผู้นี้ซึ่งขับรถกระบะ Mazda และพวกเราจึงได้ทราบว่าการที่มาปลูกป่าช่วงเดือนตุลาคมนั้น ต้นไม้จะไม่มีทางรอด เพราะเป็นปลายฤดูฝน ซึ่งที่อุทธยาน ก็ไม่ค่อยมีฝนตกแล้ว อีกทั้งการที่ปลูกต้นไม้เบียดเสียดกันในพื้นที่เล็ก ๆ กลางแจ้งนั้นยากมากที่ต้นไม้จะรอด
อ่านเรื่องของวีรบุรุษผู้ขับรถ Mazda ต่อได้ที่นี่
กรณีของฝายชะลอน้ำ ทางเจ้าหน้าที่อุทยานได้จัดเตรียมวัสดุ คือ เตรียมไม้ไผ่ กระสอบดิน และหินที่นำมาจากน้ำตก ทุกอย่างถูกกองไว้ ณ ที่ที่เฎลจะไปทำฝาย ในระหว่างทำฝ่ายอิเฎลก็สงสัยว่าทำไมทางอุทยานไม่ทำฝายเองเสียเลยโดยเทก้อนหินลงจากรถทับลงบนกระสอบดิน แต่กลับมาให้กลุ่มจิตอาสาขนก้อนหินที่ถูกเทกองทิ้งไว้ แล้วมาจัดเป็นอีกกองหนึ่งทับลงบนถุงดิน อิเฎลพิจารณาว่า ทุกอย่างจะเร็วกว่ากว่ามาก ถ้าเจ้าหน้าที่อุทยานทำเอง และเขาก็บอกว่า ถ้าพวกเขาทำเองจะใช้แค่ 2-3 คน เพียงไม่ถึง 2 ชั่วโมงก็เสร็จ ซึ่งตรงกันข้ามกับกลุ่มจิตอาสา ที่ทางเจ้าหน้าที่อุทยานต้องขับรถไปรับไปส่ง และต้องมากำกับการสร้างฝาย โดยขนมาทีประมาณ 20 ต่อ 1 ฝาย ซึ่งอย่างมาก คนคนหนึ่งได้ช่วยจัดก้อนหินกันเพียงไม่กี่ก้อน
กรณีของโป่งเทียม เจ้าหน้าที่อุทธยานต้องนำส่วนผสมมาเตรียมให้กลุ่มจิตอาสาผสมกันเป็นขัน โดยต้องจัดเตรียมจำนวนขันให้เท่าจำนวนคน ซึ่งถ้าหากว่าทางเจ้าหน้าที่อุทยานทำเองจะทำได้ทีละมาก ๆ ไม่ต้องทำมาแบ่งส่วนผสมเกลือแร่เป็นขัน ๆ เพื่อให้ทุกคนในกลุ่มจิตอาสาได้ทำ
การที่ สว อิเฎล ได้ไปร่วมกับกลุ่มจิตอาสาในครั้งนี้ พบว่าสิ่งที่ตนทำลงไปแทบไม่มีประโยชน์เลย แถมยังลำบากเจ้าหน้าที่อุทยานอีกด้วย เหมือนว่าตนเป็นภาระของเขา ทำให้เขานำเวลาไปทำประโยชน์ได้น้อยลง
นอกจากการเข้าร่วมกลุ่มจิตอาสาในครั้งนั้นจะหาประโยชน์ได้ไม่แล้ว อิเฎลยังทราบอีกว่ามีกระใช้งบประมาณเกินความจริง ที่ทราบเช่นนั้นเพราะ อิเฎลได้เข้าร่วมกับกลุ่มจิตอาสาอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทราบต้นทุนในการจัดกิจกรรมของเขา ซึ่งจัดได้ดีมาก คือ การไปปลูกประการัง หากมองในภาพรวมแล้ว การปลูกประการัง และเดินทางไปชมงานสถานที่ใกล้เคียงนั้น ใช้งบดำเนินงานน้อยกว่าการไปที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนแก่งกระจานอยู่มาก แต่เมื่อได้รับทราบตัวเลขของการไปอุทยานแห่งชาติเขื่อนแก่งกระจานนั้น ทำให้อิเฎลพอสรุปได้ว่าต้องมีอะไรที่คนเขาต้องปิดหูปิดตากัน เพราะเจ้าหน้าที่ของอุทยานเขาก็จัดทุกอย่างให้กลุ่มจิตอาสาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
อิเฎลจึงอยากพูดอีกครั้ง คือ ทำบุญ ควรทำให้ถึงมือผู้รับ แม้ว่าบางครั้งเราจะไม่ได้นำหลักฐานไปหักลงหย่อนภาษีก็ตาม แต่อย่างน้อยของหรือเงินที่เราบริจาคก็จะถูกใช้อย่างคุ้มค่า โดยไม่ถูกองค์กรหรือตัวตั้งตัวตีในกลุ่มจิตอาสาโกงไป
จิตอาสานั้นดีอย่างคือ เราเป็นผู้ปฏิบัติเอง เราสามารถรับทราบได้ว่าของของเรา เงินของเรา ถึงมือของผู้รับจริง เพราะหากมีการโกงเกิดขึ้น เราจะรู้โดยทันที และเป็นบทเรียนไว้ว่าจะไม่มากับกลุ่มจิตอาสาดังกล่าวอีก
© สงวนลิขสิทธิ์โดย พราว อรุณรังสีเวช
Pingback: เกลียดพวกละเมิดลิขสิทธิ์แล้วได้ดี มั้ยหล่ะ? | Sw-Eden.NET