ข้อควรระวังในการเลือก ผศ.ดร. พราว อรุณรังสีเวช เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ในทุก ๆ ปี นักศึกษาจำเป็นต้องเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งจะให้คำปรึกษาใน 2 ส่วนคือ การสร้างภาพยนตร์หรือแอนิเมชัน และการทำรูปเล่ม ที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้า และวิจัยประกอบ นักศึกษาสามารถเลือกทำโครงการภาพยนตร์ ร่วมกับวิจัยเล็ก ๆ หรือ จะเลือกทำวิจัยอย่างเดียวก็ได้ แต่ถ้าเลือกทำวิจัยอย่างเดียว จะต้องเป็นวิจัยใหญ่ ๆ
ซึ่งหากนักศึกษาจะเลือก ผศ.ดร. พราว อรุณรังสีเวช เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือ ที่เรียกติดปากว่า Thesis ธีสิส นั้น จะต้องระวัง ต่อไปนี้
1. รูปเล่มต้องพิมพ์เองทุกคำ หรือ ถ้าจะคัดลอกต้องทำให้ถูกวิธี ห้าม Plagiarism เด็ดขาด มิเช้นนั้น อาจารย์พราวจะหักคะแนน มี 2 วิธีคือ หักหน้าละ 1 คะแนน หรือ หักตามอัตราส่วน เช่น ถ้า Copy จากคนอื่นมาครึ่งเล่ม ก็เอาคะแนนสูงสุดไปไม่เกินครึ่งเดียวพอ
2. คนที่อยากทำวิจัย ครูพราวอาจจับคุณไปขึ้นเวทีจริง ๆ นำเสนองานร่วมกับนักศึกษา ป. โท ซึ่ง อ. จะจ่ายเงินค่าลงทะเบียนให้ครึ่งหนึ่ง สำหรับนักศึกษาปี 4 ส่วนนักศึกษารุ่นพี่ที่โตกว่าปี 4 เช่น นักศึกษาปี 5 หรือ ปี 6 อาจารย์จะคาดเดาว่าคุณมีงานทำแล้ว และคุณต้องจ่ายเงินค่าลงทะเบียนแต่เพียงผู้เดียว อาจารย์จะไม่ช่วยจ่าย
3. นักศึกษาจะได้เขียนอ้างอิงแบบ APA จริง ๆ แสดงว่า คุณจะมีความพร้อมบางส่วน ถ้าจะเรียนต่อปริญญาโท
4. อาจารย์อาจไม่เข้าไปแก้ไข Plot ภาพยนตร์หรือแอนิเมชัน เพื่อนักศึกษาจะได้ทำในสิ่งที่อยากทำ แต่จะมีการแนะนำบางส่วน แต่สิ่งที่ให้แก้ มักจะเป็น เสียง และวิธีการเล่าเรื่อง ส่วนใหญ่แก้ไม่เยอะนะ ไม่เกิน 3 รอบจร้า ซึ่งถ้านักศึกษาคาดหวังจะให้อาจารย์แก้เยอะ นักศึกษาอาจจะผิดหวัง
5. ถ้านักศึกษาอยากได้เล่มวิทยานิพนธ์หนา ๆ ไว้อวดเพื่อน ๆ ว่าของตนเองหนา นักศึกษาก็จะผิดหวังถ้าไปอยู่กับอาจารย์พราว เพราะอาจารย์พราว จะให้คุณทำแค่ขั้นต่ำเท่านั้น คือ ไม่บังคับเรื่องความหนา แต่จะบังคับว่า ห้าม Plagiarism เด็ดขาด
จะบอกเลยนะ ว่าไม่ได้ชอบความหนาของเล่ม แต่ชอบให้ทำงานด้วยตนเอง คนที่ตั้งใจ Copy งานคนอื่นมาแปะในเล่มของตนเอง นั่นคือ พวกขี้ขโมย นักศึกษาของเราคือผู้มีสติปัญญา สร้างสรรค์ผลงานเองได้ ไม่ใช่โจร
Pingback: สอนใช้โปรแกรม Adobe Animate ฟรี! พื้นฐาน | Sw-Eden.NET
Pingback: สิ่งที่เราทำผิดกฎหมายบ่อย ๆ แต่ไม่รู้ตัว | Sw-Eden.NET