Homophily รู้สึกว่าตนเองเหมือนกับอีกฝ่าย คืออะไร?

Homophily รู้สึกว่าตนเองเหมือนกับอีกฝ่าย คืออะไร?
โพสนี้เขียนโดย พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). Homophily รู้สึกว่าตนเองเหมือนกับอีกฝ่าย คืออะไร? สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/08/19/homophily/

จากที่นักศึกษาได้ตอบคำถามของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พราว อรุณรังสีเวช ในครั้งที่แล้ว เกี่ยวกับตัวละครที่เรียกว่า Point-of-view character หรือ POV เป็นตัวย่อ นักศึกษาได้คิดเลือกตัวละครที่ตนเองอยากสร้างขึ้น ซึ่งมีตั้งแต่ เด็กผู้หญิง ผู้ชายที่มีความเศร้า ตัวละครที่มีภูมิหลังหรือมีปมในอดีต ตลอดจน LGBT นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกได้อย่าหลากหลายและน่าสนใจ

ตัวละคร POV ถือเป็นตัวละครที่ผู้ชมแอนิเมชันและภาพยนตร์ ตลอดจนคนที่เขียนนวนิยาย และ Fan Fiction อินได้ง่ายและเข้าถึงได้ง่ายที่สุด แต่เราสามารถมองเห็นได้ว่า เวลาที่เรารับชมภาพยนตร์แต่ละเรื่อง เรามีระดับความอินไม่เท่ากัน

ตัวอย่างเช่น คุณตู่ อาจจะอินกับตัวละครสาวนักศึกษา Final Girl ในภาพยนตร์เชือด (Slasher) ที่มีฆาตกรต่อเนื่อง แต่ไม่ค่อยอินไปกับตัวละครหญิงที่เป็นแม่เด็กในภาพยนตร์ที่มีวิญญาณสิงในบ้าน

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคุณตู่เป็นวัยรุ่น เป็นนักศึกษา จึงอินไปกับตัวละครที่มีความคล้ายคลึงกับตนเองได้ง่ายกว่า ซึ่ง การอินที่เกิดจากความเหมือนเรียกเป็นศัพท์ทางหลักนิเทศศาสตร์ได้ 2 แบบคือ Similarity Identification และ Homophily

อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เคยทำวิจัยด้านนิเทศศาสตร์เกี่ยวกับ Similarity Identification ร่วมกับรุ่นพี่สาขาภาพยนตร์ที่ทำ Thesis (พราว อรุณรังสีเวช, อติกานต์ เอี่ยมละมัย, และ นิติธร อุ้นพิพัฒน์, 2019) และยังมีอีกเรื่องที่เกี่ยวกับการที่ผู้บริโภคอินไปกับ Brand Mascot เมื่อพวกเขาใช้ Line Sticker ที่เป็น Brand Mascot ของสินค้าหรือองค์กรที่มีชื่อเสียง เขาจะรู้สึกผูกพันธ์และต้องการซื้อสินค้า/ใช้บริการนั้น ๆ บ่อยขึ้น (Arunrangsiwed & Klahan, 2019)

ส่วนศัพท์ Homophily มาจากแบบวัดเพื่อศึกษาทัศนคติและความเชื่อในงานวิจัยด้านนิเทศศาสตร์ ที่ว่าคนหนึ่ง ๆ จะมีความรู้สึกว่าตนเองเหมือนกับอีกคนมากน้อยเท่าไร แบบวัดนี้คิดค้นโดย โดย McCroskey, Richmond, & Daly (1975) และ พราว อรุณรังสีเวช ได้นำแบบวัดนี้มาศึกษา เพื่อตอบคำถามที่ว่า ถ้าผู้ชมภาพยนตร์ Superhero หรือการ์ตูนมังงะ รู้สึกว่าตนเองเหมือนกับตัวละคร พวกเขาจะเชื่อฟังหรือทำตามในสิ่งที่ตัวละครพูดจริงหรือไม่ (Arunrangsiwed, 2015)

งานการศึกษาเหล่านี้ ช่วยยืนยันว่า การที่ผู้ชมรู้สึกว่าตนเองเหมือนตัวละคร จะทำให้เขาอินมากขึ้น และได้รับผลกระทบจากสื่อมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด ความเชื่อ การกระทำ ตลอดจนการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

จึงมีคำถามต่อจากครั้งที่แล้วว่า ตัวละครที่นักศึกษาคิดอยากสร้างขึ้นนั้น มีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร กลุ่มเป้าหมายที่จะรับชมสื่อและอินไปกับตัวละครดังกล่าว

ตัวอย่างคำตอบ
นริศรา 092 คราวก่อนเลือกผู้ชายวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็น คนวัยทำงาน มนุษย์เงินเดือน และนักศึกษาปี 3-4 ที่กำลังจะเรียนจบไปทำงาน

ps. มีนักศึกษา 4 คนที่ตอบแบบ งง ๆ เกี่ยวกับกลวิธีการเลี้ยงสัตว์ ซึ่ง 3 คนในนั้นได้แก้ไขคำตอบเป็นการสร้างตัวละครแล้ว เหลือแต่ 138 ที่ยังไม่ได้แก้นะ

graphic design vector trace sexy
homophily similarity identification

20 Comments

Filed under Uncategorized

20 responses to “Homophily รู้สึกว่าตนเองเหมือนกับอีกฝ่าย คืออะไร?

  1. สัณหณัฐเครือแต้ 010

    สัณหณัฐ เครือแต้ 010

    Like

  2. Gucci panda

    สุชญา 288 คราวก่อนเลือกผู้ชายที่ดูมุ่งมั่น รักในหน้าที่ เหมือนหัวหน้าหน่วยรีไวท์ เลยจะเจาะจงกลุ่ม ทหาร อยากให้ทหารปฎิบัติตามหน้าที่ และป้องป้องประชาชน อยู่ข้างประชาชน

    Liked by 1 person

    • อมลาลักษณ์ ธนวิวัฒน์ 138

      ครั้งที่แล้วอยากสร้างตัวละครที่เป็นเด็กผู้หญิงที่มีความคิดที่โตเป็นผู้ใหญ่ วางแผนชีวิตมีความเป็นผู้นำครอบครัวและคิดถึงอนาคตตัวเองอยู่เสมอ เป็นเพราะตัวฉันบางมุมก็มีความคิดที่โต นึกถึงอนาคตตัวเองว่าอยากทำอะไรอยู่ตลอด แล้วก็อยากวางแผนชีวิตอยากดูแลครอบครัวอยากมีอนาคตที่มั่นคง กลุ่มเป้าหมายคือวัยรุ่น อยากให้คิดถึงอนาคตตัวเองและวางแผนชีวิตแบบจริงจัง (อมลาลักษณ์ 138)

      Like

  3. ภานุวัฒน์ เพ็งพิทักษ์

    ตัวละครที่เลือกนั้นคือเด็กที่มีความใสซื่อ ซื่อตรง เป็นดั่งเช่นผ้าขาว ที่รอสีมาเติมแต่ง มีกลุ่มเป้าหมายคือผูใหญ่หรือผู้ที่มีลูกแล้ว ให้หวนถึงความเป็นเด็กให้รู้ว่าคุณก็เคยเป็นเด็กมาก่อน (ภานุวัฒน์ เพ็งพิทักษ์ 234 )

    Like

  4. ฐิดา​พร​ เอกา​รัมย์​

    ครั้งที่แล้วอยากสร้างตัวละครเป็นผญที่แข็งแกร่งลุยกับปัญหาด้วยตัวเองได้แต่จริงๆแล้วเค้าก็ต้องการคนที่เข้าใจและอยู่ข้างเสมอ
    เป็นเพราะตัวฉันคล้ายคลึงกับตัวละครตัวเป็นลุยกับปัญหาต้องการคนเข้าใจอยู่ข้างๆเสมอ

    (ฐิดา​พร​ 018)

    Like

  5. พิริยะพงษ์ พละศูนย์

    ครั้งที่แล้วอยากสร้างตัวละครเด็กผู้หญิงตัวเล็ก ที่ขี้กลัว ขี้กังวล แต่ต้องไปผจญภัยในที่ต่างๆเพื่อหาทางกลับบ้าน กลุ่มเป้าหมายคือ วัยรุ่นและเด็กที่ชอบความสนุกและชอบผจญภัย
    ( พิริยะพงษ์ พละศูนย์ 003 )

    Like

  6. นริศรา ดีสุ่ย

    ครั้งที่แล้วสร้างตัวละครเป็นผญที่มีความมั่นใจในตัวเองแต่ข้างในจิตใจของเขาอ่อนเเออาจจะเพราะเรื่องที่บ้านหรือไม่ก็เรื่องที่เค้าต้องเจอในทุกๆวันเป้าหมายที่อยากได้คือวัยรุ่นประมาณอายุ20 ไปมหาลัยที่ต้องเจอกับหลายๆเรื่องและมีเพื่อนที่สนิทคนนึงที่อยู่เคียงข้าง

    นริศรา 008

    Like

  7. Sukparat.Bupanaprasert

    ตัวละคร​ครั้งที่แล้ว​ เป็นตัวละครที่รักครอบครัว​ รักน้อง​ รักแม่​ แข็งแกร่ง​ ปกป้องดูแลน้องด้วยชีวิต​ กลุ่มเป้าหมายที่เจาะจงคือ​ กลุ่มเด็กวัยรุ่น​ ตลอดไปจนถึงเด็กเล็ก​ เพราะการปลุกฝังความคิดให้รักครอบครัว​ เป็นพี่เป็นดูแลน้อง​ เป็นหลักที่เข้าใจได้ง่าย​ เด็กเล็กตลอดจนวัยรุ่นก็สามารถเข้าใจได้

    ​ สุขภารัตน์​ บูรณประเส​ริฐ​ 252

    Like

  8. สาธิน ศรีนิล

    เพศทางเลือก พยายามทำทุกทอย่างให้ตัวเองดูดี กลุ่มตัวอย่าง คือรุ่นพี่ lgbt ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต

    Like

  9. อมรเทพ ทวีสิทธิ์

    ครั้งที่แล้วเลือกคนที่อยากตามหาตัวตนของตัวเอง เพื่อที่จะให้ได้ผจญเรื่องราวต่างๆและทำให้รู้ว่าที่แท้ตัวเองสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่เป็น
    (อมรเทพ ทวีสิทธิ์)

    Like

  10. Supahkorn chanouan

    ตัวละครที่เลือกนั้นเป็นคนที่ใสซื่อมองโลกในแง่ดีตลอดไม่ว่ามันจะโหดร้ายขนาดไหนหรือจะโดนดูถูกแค่ไหน เป้าหมายทุกเพศทุกวัยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขถึงแม้จะเจอเรื่องร้ายๆก็คิดซะว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคนที่จะเจอเพราะเราไม่รู้หรอกว่าในแต่ละวันเราจะเจอกับอะไร ( ศุภกร จันทร์อ้วน 207 )

    Like

  11. ภูริ​ภัทร​ เพีย​ปลัด​

    คราวที่แล้วเลือกตัวละครที่มีปมเรื่องความรัก แต่พยายามทำตัวแข็งแกร่ง ที่ออกเดินทางตามธรรมชาติที่เขาชอบเพื่อให้จิตใจสงบ เลยเจาะกลุ่มเป้าหมายเป็นพวกวัยรุ่น และวัยทำงานที่รักในการเดินทาง และมีปมกับความรัก เพื่อให้พวกเขาเข้าใจว่า ยังมีอีกหลายๆสิ่งที่สามารถสร้างความสุขให้กับพวกเขา และยังเป็นการเปิดโลกธรรมชาติในมุมที่เรายังไม่เคยพบเห็นอีกด้วย (ภูริภัทร​ 291)

    Like

  12. วรางคณา ศิริชัย

    ครั้งที่แล้วอยากสร้างตัวละครที่มีบุคลิกของการเป็นผู้นำและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นให้คนอื่นได้เข้าใจ เพราะบางทีตัวเราเองยังไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นในบางเรื่อง กลุ่มเป้าหมายคือ วัยรุ่น เพราะช่วงอายุของการเป็นวัยรุ่นควรที่จะกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นให้ผู้ใหญ่ได้เข้าใจในมุมมองของตนเองมากขึ้น
    (น.ส.วรางคณา ศิริชัย 130 )

    Like

  13. ปณิธาน โพธิ์ลิบ

    คราวก่อนเลือกผู้ชายที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ เจาะจงไปที่กลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ เพื่อให้หลายๆคนที่ไม่เข้าใจพวกเค้าเหล่านั้นได้เข้าใจในตัวพวกเค้ามากยิ่งขึ้น (ปณิธาน 287)

    Like

  14. ปณิธาน โพธิ์ลิบ

    คราวก่อนเลือกผู้ชายที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ เจาะจงไปที่กลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ เพื่อให้หลายๆคนที่ไม่เข้าใจพวกเค้าเหล่านั้นได้เข้าใจในตัวพวกเค้ามากยิ่งขึ้น (ปณิธาน 287)

    Like

  15. Saharat Absomtua

    สหรัตน์ 250 คราวก่อนเลือกตัสละครที่มีภูมิหลังหรือเรื่องราวในอดีต ต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มวัยรุ่นจนถึงกลุ่มวันทำงาน เพราะเป็นช่วงวัยที่มีเรื่องราวมากมายผ่านเข้ามาในชีวิต ประเด็นที่ต้องการจะสื่อผ่านตัวละครจะสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายจากการประกอบร้อยเรียงกับเรื่องราวในชีวิตของผู้ชมเอง

    Like

  16. สุชาครีย์ ยี่รัมย์

    สร้างตัวละครเป็นคนเฮฮา รักสนุก เข้ากับคนง่ายแต่ในบางมุมเค้าก็เป็นคนขี้เขินขี้อาย
    สุชาครีย์ ยี่รัมย์047

    Like

  17. กฤตยา

    ตัวละครที่เลือกครั้งที่แล้วคือผู้ชายที่หลงรักในเสียงดนตรีแต่ไม่กล้าแสดงออกเลยเจาะจงในเรื่องดนตรีเพื่อให้คนที่รักในเสียงดนตรีได้มีความกล้าแสดงออกกล้าร้องกล้าเล่นแล้วโชว์ความสามารถ (กฤตยา 050)

    Like

  18. พรศักดิ์ วิไลวรรณ

    ตัวละครครั้งที่แล้วเป็นตัวละครที่คล้ายตัวเอง ที่มีนิสัยร่าเริง เป็นตัวละครที่ปกป้องเพื่อนรักเพื่อนรักฝูงแคร์คนรอบข้าง จนลืมแคร์คนในครอบครัว ตอนหลังทำให้ทำความคิดเขาเปลี่ยนกลับมาแคร์คนในครอบครัวมากกว่าเพื่อนกับสิ่งรอบข้าง กลุ่มเป้าหมายที่เจาะจงคือ วัยรุ่น อย่าแคร์เพื่อนมากไป เพราะบางทีเพื่อนไม่ได้อยู่กับเราตลอดเวลา

    Like

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.