กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ปรับเปลี่ยน จากรายได้ครอบครัวของผู้กู้ยืมที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จากเดิมไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี เป็นไม่เกิน 360,000 บาท ต่อ ปี ทำให้นักเรียนนักศึกษามีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
พอดี อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช พึ่งได้เซ็นใบ กยศ. ให้นักศึกษารุ่นที่พึ่งเข้าไป จึงรู้การเปลี่ยนแปลงนี้ ดังนั้น ตอนที่เรากรอกรายได้ของคุณพ่อ คุณแม่ เราจะต้องเอามารวมกัน บวกกันก่อน และรายได้ของทั้งสองคนรวมกันคือ ห้ามเกิน 360,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ ถ้ามีใบรับรองรายได้หรือใบเงินเดือนแนบมา คุณต้องกรอกให้ตรงกับเอกสารแนบด้วยนะ
บางครอบครัว แปลก และทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาตัดสินใจยากมากว่าจะเขียนอะไรลงไปดี เช่น ครอบครัวที่ ผู้ปกครองแยกกันอยู่ และนักศึกษาอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่มีรายได้น้อย ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด แต่ผู้ปกครองอีกคน ที่ไม่ได้ส่งเงินมาช่วย ไม่ได้มีส่วนช่วยเรื่องค่าเลี้ยงดู ค่าใช้จ่ายครอบครัว กลับเป็นคนที่มีรายได้มาก
แต่ถ้า กรณีที่ทำให้ติดสินใจเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น คือ ถ้าเกิดกรณีดั่งย่อหน้าบน และนักศึกษาไม่สามารถติดต่อผู้ปกครองอีกคนได้ ถ้าเป็นแบบนี้ เราก็สามารถเขียนระบุลงไปในแบบฟอร์มว่า ไม่สามารถติดต่อผู้ปกครองคนนี้ได้ และไม่ทราบรายได้ของเขา ประมาณนั้น
ส่วนเอกสารอีกอย่างหนึ่งที่ อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช รู้สึกลำบากใจ ที่จะเช็นต์ และไม่อยากเช็นต์ให้ คือ เอกสารรับรองรายได้ของครอบครัว เพราะ ผู้ที่รับรองให้ได้ควรเป็นเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น หรือคนที่รู้จักครอบครัวของนักศึกษาจริง ๆ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน คุณครู อาจารย์ใหญ่ เป็นต้น แต่ปัญหาที่เคยพบคือ บางครั้ง เขาลืมเซนชื่อ หรือกรอกแบบฟอร์มไม่ครบ และบางครั้ง นักศึกษาที่มาจากจังหวัดอื่นและมาเรียนต่อในกรุงเทพ ก็ไม่สะดวกที่จะกลับไปที่บ้านเกิดของตนเอง เจ้าหน้าที่ กยศ. ที่กรุงเทพ ก็จะแนะนำให้นักศึกษามาหาอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อกรอกใบนี้ให้ใหม่ทั้งหมด ซึ่งแบบนี้มันไม่ถูกต้องนะ เพราะอาจารย์ที่ปรึกษา ที่อยู่คนละจังหวัดกับครอบครัวของนักศึกษา และไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย จะไม่สามารถรู้รายได้จริง ๆ ถ้าลงนามไป หรือกรอกเอกสารให้ ก็เท่ากับโกหกอยู่ดี
ถ้าอาจารย์พราวจะแนะนำให้ป้องกันปัญหานี้ คือ เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เซ็น ลงนามให้แล้ว เราก็ควรที่จะตรวจทานก่อนเสมอ ว่าเขาเขียนครบทุกช่องหรือไม่ แบบนี้ดีที่สุด
เราไม่ควรปลอมลายมือชื่อด้วยนะ
มุธิตา เชื้อดวงผุย PR 034
Open Journal Systems (OJS) is an open source software application for managing and publishing scholarly journals. Originally developed and released by PKP in 2001 to improve access to research, it is the most widely used open source journal publishing platform in existence, with over 10,000 journals using it worldwide.
LikeLike
Pingback: หากการศึกษาไร้ค่า จะเรียนไปหาอะไร? จ้างคนอื่นเรียนแทนสิ! Part 1 | Sw-Eden.NET