อันนี้เป็นตัวอย่างการทำงานวิจัย 3 เรื่องต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลที่ลึกซึ้งขึ้น จนไปถึงจุดมุ่งหมายและหายสงสัยในปมดังกล่าว
อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับการ์ตูนวาย Slash หรือ Yaoi ยาโอย 3 เรื่องต่อเนื่องกัน ซึ่ง 3 เรื่องนี้ อาจถูกมองว่าเป็น PIG เลยก็ได้ และผลพลอยได้ที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัยคือ เมื่อทำเสร็จ ก็เลิกสืบค้นดูรูปการ์ตูนวายไปตลอดกาล เบื่อไปสักพัก หรือนานเลยแหละ 555
เล่าให้ฟังนะ เรื่องแรก ทำขึ้นมาเพื่อ disprove หรือ ล้มล้างความเชื่อจากงานวิจัยเก่า ๆ เกี่ยวกับการ์ตูนวาย งานวิจัยเก่า ๆ เขาเชื่อว่า Ship หรือคู่ ชายรักชาย (ที่มาจากภาพยนตร์ หรือสื่อบันเทิงต้นฉบับ) ต้องมาจากเพื่อนสนิท ดังนั้น อาจารย์พราวจึง disprove ความเชื่อดังกล่าว และได้ผลการวิจัยว่า การ์ตูนวายบางเรื่องที่มีการจับคู่กันระหว่าง ตัวดีกับตัวร้าย
ถ้าอยากอ้างอิง ก็งานนี้เลยนะ
Arunrangsiwed, P. (2016). The Confirmation Study of Mutant Being and Friendship of Slash Characters in Original Media. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 16(1), 19-34.
เรื่องที่ 2 อาจารย์พราวทำต่อจากเรื่องดังกล่าว เพื่อ disprove ล้มล้างความเชื่อที่ว่า Fan Fiction แนวชายรักชาย จะเหมือนภาพยนตร์รักโรแมนติกไร้ซึ่งความรุนแรง และอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ก็ได้เปรียบเทียบคู่รัก 3 ชนิด (ที่แฟน ๆ จับคู่มาจาก ภาพยนตร์ หรือสื่อบันเทิงต้นฉบับ) คือ คนดี กับ คนดี, คนดี กับ คนชั่ว , และ คนชั่ว กับ คนชั่ว ท้ายที่สุด อาจารย์พราว พบว่า คู่แบบ คนดี กับ คนชั่ว มีความรุนแรงทางเพศมากมาย
นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นงานต่อยอดจากงานแรก เพราะได้คำตอบที่ลึกลงไปอีก ได้รู้แน่ ๆ ว่า การที่คู่จิ้นไม่ได้เป็นเพื่อนรักกันมาก่อน ทำให้เกิดความรุนแรงในผลงานของแฟน ๆ
ถ้าอยากอ้างอิง ก็งานนี้เลยนะ
Arunrangsiwed, P. (2015). Equality, Friendship, and Violence in Slash or Yaoi Fan Art. World Academy of Science, Engineering and Technology, International Journal of Social, Behavioral, Educational, Economic, Business and Industrial Engineering, 9(12), 3946-3950.
มาถึงงานสุดท้าย งานที่ 3 เป็นสิ่งที่ทำให้อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เลิกสงสัย และหยุดทำงานด้านนี้ต่อ อาจารย์พราว คิดว่า การที่แฟน ๆ นำสื่อที่ไม่รุนแรง มาวาดใหม่หรือแต่งเรื่องใหม่ให้มีความรุนแรงทางเพศนั้น มันดูน่าเป็นห่วงกว่าการที่คนเราไปเลือกดูสื่อที่มีความรุนแรงทางเพศทั่วไป เพราะ แฟน ๆ เป็นคนคิด สร้างสรรค์ความรุนแรงเหล่านั้นขึ้นมาเอง แฟน ๆ เป็นผู้ผลิตความรุนแรงเอง
อาจารย์พราว จึงคิดถึงผลของงานวิจัย เรื่องที่ 2 ที่ตนเองค้นพบว่า การจับคู่ ชาย-ชาย แบบ ตัวดี กับ ตัวร้าย จะทำให้ผลงาน Fan Art มีความรุนแรงมากที่สุด อาจารย์พราว จึงต้องการหาสาเหตุว่า ทำไมแฟน ๆ จึงเลือกวาดหรือเขียน Fan Art or Fan Fiction ให้มีตัวร้ายอยู่ โดยสำรวจเบื้องต้นและพบว่า ตัวร้ายที่ถูกนำมาจับคู่กับพระเอก มักจะหน้าตาดี
แต่เมื่อเก็บข้อมูลก็พบว่า ความเป็นคนดี ทำให้แฟน ๆ อยากสร้างสรรค์ Fan Art มากกว่า ความหน้าตาดี เมื่อได้ผลเช่นนี้ อาจารย์พราว ก็หายห่วง และหันไปทำงานวิจัยด้านอื่นต่อ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลว่า เอ๋ ทำไม ผู้หญิงแบบเรา ๆ ท่าน ๆ จึงต้องอ่านงานยาโอยด้วย
ถ้าอยากอ้างอิง ก็งานนี้เลยนะ
Arunrangsiwed, P. (2017). Heroic Role and Attractiveness as the Cause of Creating Slash or Yaoi Fan Art. BU Academic Review, 16(1), 18-30.
Pingback: ผลสำเร็จของผลการวิจัยเป็น 3 ประเภท หรือ PIG มีอะไรบ้าง | Sw-Eden.NET