12 Relationships of Public Relations
เขียนโดยผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 12, 2020
**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
Preface
โพสนี้อาจารย์พราว จะพูดถึงประเภทของการประชาสัมพันธ์ โดย อาจารย์พราว ได้เคยพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง การประชาสัมพันธ์ กับการตลาด (The relationships between Public Relations and Marketing) และอาจารย์พราว ก็ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการประชาสัมพันธ์ กับการโฆษณาแล้ว (The relationships between Public Relations and Advertising) มาบทนี้อาจารย์พราวจะขยายความสัมพันธ์ของ การประชาสัมพันธ์ตามประเภทต่าง ๆ รวม 12ประเภท ดังนี้
This post, lect. Proud will extend the relationships between public relations and other people as below.
ความสัมพันธ์ 12 ประเภทของการประชาสัมพันธ์
12 Relationships of Public Relations
1. Investor relationships (ความสัมพันธ์ PR กับนักลงทุน)
อาจารย์พราวหมายถึงนักลงทุนที่เป็นทั้งผู้ถือหุ้นสามัญ (Shareholders or stakeholders) และนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (The Stock Exchange of Thailand, SET)
2. Government relationships (ความสัมพันธ์ PR กับรัฐบาล)
อาจารย์พราวหมายถึงรัฐบาล (Governmen) คนของหน่วยงานรัฐ (People of government) ข้าราชการ (Officials) หรือเจ้าหน้าที่ (Officers) สืบเนื่องมาจากนโยบายรัฐ (Government Policy) ที่มีต่อองค์กร
3. Communication relationships (ความสัมพันธ์ PR กับการสื่อสาร)
อาจารย์พราวหมายถึงการสื่อสารต่าง ๆ เช่นผ่านสื่อ (Communication via Media)
4. Media production relationships (ความสัมพันธ์ PR กับผู้ผลิตสื่อ)
อาจารย์พราวหมายถึงผู้ผลิตสื่อ ซึ่งอาจมาจากการติดต่อกับฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายโฆษณา
5. Customer relationships (ความสัมพันธ์ PR กับลูกค้า)
อาจารย์พราวหมายถึง ลูกค้าทั่วไปของบริษัท (Current customers) เพื่อให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น หรือแม้แต่ลูกค้าในอนาคต (Potential customers)
6. Marketing Communications relationships (ความสัมพันธ์ PR กับการสื่อสารทางการตลาด)
อาจารย์พราวหมายถึงการสื่อสารทางการตลาด
7. Influencer relationships (ความสัมพันธ์ PR กับผู้มีอิทธิพล)
อาจารย์พราวหมายถึง กรณีที่มีผู้ทรงอิทธิพล PR ควรเป็นฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะ PR ควรรู้วิธีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดภาพที่ดี หรือ ช่วยแก้ปัญหาได้
Lect. Proud talks about some who can influence the company’s business.
8. Internal relationships (ความสัมพันธ์ PR กับคนภายใน)
อาจารย์พราวหมายถึงพนักงานทุกหน่วยงาน หรือคนในองค์กรนั่นเอง
9. External relationships (ความสัมพันธ์ PR กับคนภายนอกทั่วไป)
อาจารย์พราวหมายถึง บุคคลภายนอกทั้งสิ้นที่อาจรวมหรือนอกเหนือจากคนในองค์กร
10. Industry relationships (ความสัมพันธ์ PR กับอุตสาหกรรม)
อาจารย์พราวหมายถึงอุตสาหกรรมที่องค์กรนั้นอยู่หรือสังกัด
11.Crisis communications (ความสัมพันธ์ PR เมื่อถึงภาวะวิกฤต)
อาจารย์พราวหมายถึงความสัมพันธ์ที่ต้องสื่อสารกรณีเกิดวิกฤต เพื่อช่วยให้บริษัทรอดพ้นวิกฤตนั้น ๆ
12.Other-country relations (ความสัมพันธ์ PR กับประเทศอื่นๆ)