2 คำที่ความหมายเดียวกัน แต่คนไทยและอเมริกันเรียกต่างกัน

อาจารย์พราว เคยไปเรียนต่างประเทศก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ ถ้าถามถึงคนที่พูดภาษาไทย และให้ไปที่อเมริกา ก็จะไม่ค่อยรู้สึกแปลกกับภาษาที่เคยพูด ลองคิดสิ มันแตกต่างนะ ตอนที่กลับมาไทย และพบว่า ภาษาอังกฤษในไทยมันไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่นั่น วันนี้อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช จึงจะมายกตัวอย่างคำที่พบว่า คนอเมริกัน กับคนไทย พยายามสื่อถึงสิ่งเดียวกัน แต่พอดีใช้กันคนละคำ

โพสนี้เขียนโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). 2 คำที่ความหมายเดียวกัน แต่คนไทยและอเมริกันเรียกต่างกัน. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/10/13/synonyms/

Drawing Tablet และ Mouse Pen

ถ้าใครได้ไปเรียนวิชาที่ต้องวาดภาพในคอมพิวเตอร์ ยุคก่อนปัจจุบันที่มี Touchscreen เราก็จะซื้อ Drawing Tablet มาต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้วาดภาพ แต่เมื่ออาจารย์พราวมาอยู่กับนักศึกษาและเพื่อน ๆ ที่เป็นอาจารย์ในไทย ก็พบว่า เขาไม่เรียกอุปกรณ์นี้ว่า Drawing Tablet แต่เขาเรียกกันอย่างติดปากว่า Mouse Pen หรือ Mouse ปากกา ตอนแรกก็งง ๆ ว่ามันคืออะไรเหรอ มันไม่ต้องใช้ Tablet เหรอ แต่ใช้แค่ส่วนที่เป็นปากกา ก็วาดได้เหรอ ประมาณนั้น

Take a Screenshot และ Cap หน้าจอ

หลายครั้งที่อาจารย์พราวและคนทั่วไปใช้งานคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ และต้องการภาพหน้าจอ สมัยก่อน อาจารย์พราวเรียกว่าการกระทำนี้ว่า Take a Screenshot แต่เมื่อมาอยู่ที่ไทย และคุยกับคนที่เรียนด้านนิเทศศาสตร์ ก็ทราบว่า เขาเรียกขั้นตอนนี้ว่า Cap หน้าจอ นั่นเอง คำนี้ไม่งงเท่าไร ได้ยินครั้งแรกก็เข้าใจ

Text Me และ IB

ปกติอาจารย์พราวจะใช้คำว่า Text Me อาจหมายถึงส่งข้อความให้ฉันใน Facebook Messenger, Private Chate, หรือ ส่งข้อความ SMS ในโทรศัพท์ แต่เมื่อระยะหลัง ๆ ที่อาจารย์พราวค้นหาสินค้าที่ขายออนไลน์ ก็พบตัวย่อว่า IB ครั้งแรกที่เห็น ยอมรับว่าไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร จึงสืบค้นว่า What does IB stand for? หมายถึง IB นี่มันมาจากคำว่าอะไรกัน และก็พบว่า มันเป็นตัวย่อของสถานศึกษา เป็นชื่อย่อของวงดนตรี หาไปเรื่อย ๆ ไม่มีอันไหน make sense เลย ท้ายที่สุด ดูเว็บภาษาไทยดีกว่า จึงรู้ว่าคนไทยย่อเอง จากคำว่า Inbox

Internet Celebrity, Cyberstar, Influencer, และ Net Idol

เดิมทีอาจารย์พราวเรียกแบบ 3 คำแรก บางครั้งคนเราก็ชอบหาดูรูปคนหน้าตาดี เมื่อคิด ๆ ก็ตลกความไร้สาระของตนเอง เมื่อก่อน อาจารย์พราวเคยชอบเพลง Emo และก็หาดูรูป Emo Kids ที่มีชื่อเสียงใน Social Network ตอนนั้นอยู่ออสเตรเลีย จริง ๆ Sydney เป็นสถานที่ที่ทำให้อินกับความเป็นอีโมมาก ๆ เลยนะ พอมายุคหลัง ๆ ที่ประเทศไทย คนเรียกบุคคลมีชื่อเสียงในโลกออนไลน์เหล่านี้ว่า Net Idol เมื่อลองสืบค้นดู อ๋อ! คำนี้มันมาจากวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกนั่นเอง

US และ America

USA ย่อมาจากคำว่า The United States of America ซึ่งโดยทั่วไปคนอเมริกันจะเรียกประเทศตนเองว่า US แต่คนไทยมักจะเรียกว่า America เวลาอาจารย์พราวให้นักศึกษาเขียนเรียงความหรือประโยค และมีการพูดถึงประเทศนี้ นักศึกษาก็จะเขียนว่า America มาส่ง จริง ๆ ก็ไม่ได้ผิด เพียงแค่เราไม่ค่อยคุ้นเคยเท่านั้นเอง เวลาอยู่ในประโยคภาษาอังกฤษ น่าจะเป็นคำว่า US นะ แต่ถ้าในภาษาไทย ก็น่าจะเขียนว่า อเมริกา นะ เรารู้สึกคุ้นแบบนี้ สมัยที่อาจารย์พราวอยู่อเมริกา มีคนบอกว่า คนที่จะเรียกชื่อประเทศเต็ม ๆ The United States of America มักจะเป็นพวกภูมิใจในชาติตนเองมากกว่าคนทั่วไป

Fans และ Fan Club

2 คำนี้เป็นสิ่งที่อาจารย์พราว งง มาก ๆ โดยปกติ คำว่า Fans ควรจะถูกแปลว่า แฟน ๆ คือมีแฟนของสื่อบันเทิงหลายคน แต่เมื่ออาจารย์พราวเขียนบทความไปส่งตีพิมพ์ ก็มีคนทักท้วงมาว่า คนไทยจะเรียก Fans ว่า แฟนคลับ นะ ซึ่งครั้งแรก อาจารย์พราวคิดว่าเขาแนะนำผิดแน่ ๆ เลยลองสืบค้นดู และก็พบว่า คนไทยเรียก คนคนหนึ่งที่เป็นแฟนของสื่อบันเทิงว่า แฟนคลับ หรือ ติ่ง คำนี้ทำให้งงจริง ๆ เพราะคำว่า Fan Club มันควรจะมาเป็น Club สิ แบบว่า มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มคน มีผู้นำกลุ่ม เป็นทางการนิด ๆ อาจมีอำนาจเชิญศิลปินที่ชอบมาพบใน Event สำคัญ ประมาณนั้น นั่นคือคำว่า Fan Club ที่อาจารย์พราวเคยเข้าใจ

จริง ๆ อาจารย์พราวไม่อยากบอกว่าอะไรผิด หรืออะไรถูก เพราะคนเราก็ต้องปรับภาษาและคำพูดเพื่อให้คนที่เราอยู่ร่วมด้วยเข้าใจได้ดีที่สุด วันนี้ อยากให้นักศึกษายกตัวอย่างภาษาอังกฤษ 2 คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่นิยมถูกเรียกจากคนต่างกลุ่ม ตอบอย่าซ้ำกับตัวอย่างของอาจารย์ และเพื่อน ๆ ที่ตอบก่อนหน้า

ตัวอย่างคำตอบ
วรวิทย์ 012 ต่างชาติเรียกความเงียบสุด ๆ ในฉากภาพยนตร์ว่า Silence แต่ ม. เราเรียกว่า Dead Air

1 Comment

Filed under Eng2, Uncategorized

One response to “2 คำที่ความหมายเดียวกัน แต่คนไทยและอเมริกันเรียกต่างกัน

  1. Pingback: หากการศึกษาไร้ค่า จะเรียนไปหาอะไร? จ้างคนอื่นเรียนแทนสิ! Part 1 | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.