(10 ways to take snake away from house)
Written by ©Ratajit| Nov 27, 2021
51697621325_6005389911_vm.mp4
**บทความสงวนลิขสิทธิ์โดย ©รตจิตร ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเว็ปไซด์อื่น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความนี้ไปลงในเว็ปไซด์อื่นเด็ดขาด ห้ามดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำงานเขียน หรือรูปภาพในเว็บไซต์นี้ไปใช้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ อย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านวรรณกรรม คือบทความ และศิลปกรรมคือรูปภาพ หรือวีดิโอ ทันที
You must not steal this article to post in your own blog/website. Please respect our blog owner. ©Ratajit
รตจิตร เขียนบทความนี้เพื่อเพื่อน ๆ ที่กังวลเรื่อง “งู เข้าบ้าน” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านในหมู่บ้าน บ้านสวน หรือบ้านที่ตรงข้ามกับที่ร้าง เป็นต้น หลายวิธีที่รตจิตร เคยทำอยู่ในบทความด้านล่างนี้ โดยแต่ละวิธี รตจิตร มีการเปลี่ยนสลับกัน หรือสลับที่ เป็นต้น ซึ่งถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านแล้วจะเข้าใจได้ อย่างไรก็ตามแม้ใช้วิธีตามที่รตจิตรเขียน รตจิตรก็ยังเจองูบางตัวฟันฝ่าอุปสรรคเข้ามา หากมันอยู่ในกรณีดังนี้
1. งูหนีอันตรายมา เช่น มีคนงานตัดหญ้าที่อยู่อาศัยของมัน
2. งูหิว และที่บ้านมีอาหารของมัน เช่น กบ คางคก เขียด ปาด ตุ๊กแก เป็นต้น
1. ปลูกต้นไม้ที่ลำต้นมีหนาม
รตจิตร ปลูกต้นไม้ริมรั้ว ประเภทที่กิ่งก้านมีหนาม จะทำให้งูไม่อยากเลื้อยเข้ามา ต้นไม้ที่รตจิตรปลูก ยังมีประโยชน์ทำพืชผักสวนครัวได้ เช่น มะนาว มะกรูด ส้ม ทับทิม และเฟื้องฟ้า เป็นต้น
2. ตั้งหรือวางขวดน้ำไว้
ตั้งหรือวางขวดน้ำตามจุดที่งูชอบเข้า เช่นริมรั้ว ขอบประตู มุมบ้าน เป็นต้น บางจุดอาจจำเป็นต้องวางขวดแนวนอนลง
3. ปลูกต้นกันงู หรือ Snake plant
Snake plant เพื่อชาวต่างชาติของรตจิตรชอบใช้วิธีนี้ มีหลายแบบ เช่น มีขอบเหลืองรอบใบสีเขียวสว่าง หรือไม่มีขอบเหลืองแต่ใบสีเขียวเข้มลายๆ รตจิตรคิดว่าถ้าไม่จำเป็น งูไม่อยากเลื้อยสัมผัสขอบคมๆ ของต้นกันงู
4. ไม่ปลูกต้นไม้ติดรั้ว
งูสามารถเลื้อยตามต้นไม้ที่ต่อเข้าตัวบ้านมาได้ รตจิตรเคยไล่งูออกจากบ้านเพราะเลื้อยตามต้นไม้ที่พาดเข้าตัวบ้าน พอรตจิตรจะจับ งูกลับเลื้อยต่อขึ้นตะขบไปจนสูงถึง 4 เมตร
5. ไม่มีสัตว์ที่เป็นอาหารงูในบ้าน
เพื่อนๆ ของรตจิตรรู้กันดีว่า งูเป็นสัตว์เลือดเย็น ถ้ากินอาหารแล้วสามารถหยุดไปหลายวัน แต่ถ้าหิวก็จะเข้ามาหากินอาหาร ได้แก่ หนู หรือกบ คางคก เขียด ปาด กิ้งก่า หรือจิ้งเหลน เป็นต้น
6. มีก้านเหล็กจับงู
เดิมที่บ้านรตจิตรใช้ที่หนีบถ่านไว้หนีบงูไปปล่อยตามแหล่งธรรมชาติ แต่ค่อนข้างอันตรายเพราะ 1) ไม่มีตัวล็อค 2) ด้ามสั้นไปแค่ 1 ฟุต ทำให้ใกล้ตัวงูเกินไป พอรตจิตรอ่านเจอว่าเพื่อนๆ บางคนซื้อก้านเหล็กจับงูที่ยืดได้ถึง 1.2-1.5 เมตร และพอซื้อมาก็ไม่มีงูให้จับอีกเลย รตจิตรจึงลองซื้อมาบ้าง เพราะอันละไม่กี่บาท ก็ดีกว่าให้งูเข้าบ้าน
7. มีสบู่กันงู
รตจิตรใช้วางสบู่ก้อนเล็กที่เหลือจากการอาบน้ำ บางทีรตจิตร ก็เอาสบู่ใหม่มาหั่นเป็นก้อนเล็ก กระจายไว้ตามจุดที่รตจิตรคิดว่าจะเป็นจุดที่งูชอบเข้า ยิ่งสบู่กลิ่นแรงยิ่งดี งูไม่ชอบ
8. โรยปูนขาว หรือพริกป่น
รตจิตรเห็นบางบ้านโรยปูนขาว หรือพริกป่น ตามทางที่งูชอบเข้ามา งูไม่ชอบเพราะปูนขาวทำให้ผิดงูแห้ง และพริกป่นอาจทำให้งูแสบร้อน หรือถูกตางูได้
9. วางเชือกมะนิลาไว้
การวางเชือกมะนิลาไว้ตามจุดที่รตจิตรคิดว่างูอาจเข้ามา ทำให้งูเห็นแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นงูตัวอื่น จึงไม่เข้าบ้านรตจิตร
10. เลี้ยงงูไม่มีพิษ
รตจิตรได้ยินว่างูจะมีถิ่นของใครของมัน บางครั้งรตจิตรเห็นงูสิงห์อยู่ในบ้าน ก็ทิ้งไว้ เพราะรตจิตรรู้จาก รปภ.ในหมู่บ้านว่า งูสิงห์ไม่ดุ แต่กัดแล้วแค่เจ็บ ไม่มีพิษ เมื่อมีงูสิงห์ในบ้าน งูมีพิษ หรืองูอื่นจะไม่เข้ามา
สรุป
หลายวิธีที่รตจิตรรวบรวมมาให้ ควรใช้สลับวิธีไปมา เพราะสัตว์มีความเคยชิน และงูเป็นสัตว์ฉลาดและคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งงูมีพิษ