โดนถามว่า เกย์รับหรือเกย์รุก ทำไมโกรธ? และจะต้องถามกันมั้ย?
ถ้าทุกเพศเท่าเทียมกันจริง โดนถามคำถามนี้ก็ไม่ต้องโกรธคนถาม สวอิเฎลขอชวนให้คิด เกย์และเพศทางเลือกล้วนเกิดมาในสังคมชายเป็นใหญ่ เมื่อคนมีเซ็กซ์กัน คนจะคิดว่าผู้ชายเป็นฝ่ายได้ ผู้หญิงเป็นฝ่ายเสีย แบบที่คนชอบพูดว่า ได้เสียกันแล้ว เสียตัวให้เขาแล้วสิ เป็นต้น ดังนั้นการถามคำถามนี้ว่าใครเป็นเกย์รุกหรือใครเป็นเกย์รับ จึงทำให้เกิดความโกรธเคืองกันขึ้น เกย์รับจะรู้สึกเหมือนตนเองเป็นผู้หญิงในคำถามนี้ และรู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายเสีย รู้สึกว่าตนเองเป็นช้างเท้าหลัง รู้สึกว่าตนเองถูกกระทำ
Copyrights by the Sw Eden, 2022
คนทั่วไปแชร์โพสนี้ ให้ใช้ Link และห้าม copy ไปโพสใหม่
ส่วนนักศึกษาและอาจารย์ให้ block quote หรือ paraphrase และอ้างอิงเสมอ
แต่ในบางกรณีที่จำเป็นต้องถาม สวอิเฎลแนะนำให้เลือกใช้ประโยคที่เลี่ยง เช่น เกย์รุกคนหนึ่งอยากหาคู่ และไปเจอคนที่ใช่ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าวันนั้นคนคนนั้นอยากเป็นเกย์รับหรือเปล่า? เพื่อนเราแนะว่า ให้แนะนำตัวเองไปเลยโดยไม่ต้องถาม หรือหาวิธีอื่นในการบอกให้เขาเดาออก
แต่เราทุกคนก็รู้กันดีว่า เกย์ส่วนใหญ่เป็นทั้งรุกและรับ และหลายครั้งที่อารมณ์แต่ละอย่างจะมากันคนละวัน ถ้าสังคมมีความหลากหลายทางเพศ และยอมรับความหลากหลายนั้นตั้งแต่ต้น หรือถ้าเกย์เติบโตมาในสังคมที่เคารพศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน สวอิเฎลคิดว่า คำถามที่ว่าใครเป็นฝ่ายรุกหรือรับก็จะไม่ทำให้พวกเขาโกรธ และคนที่ไม่ใช่เกย์ก็จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปถามเพศของเกย์ คล้ายคลึงกับเวลาสัมภาษณ์งาน บริษัทก็จะไม่จำเป็นต้องถามลัทธิศาสนาที่ผู้สมัครนับถือ การยอมรับความหลายหลายไม่ใช่การทำเป็นตาบอด มองไม่เห็นอะไรเลย ปฏิบัติเหมือนกันโดยไม่เลือก แต่สวอิเฎลอยากเน้นย้ำว่า มันคือ การเคารพในความหลากหลายของผู้อื่น
สวอิเฎลจะอธิบายว่าการตาบอดในความหลากหลาย เป็นยังไง? ถ้าสวอิเฎลเป็นครูและตาบอดในเรื่องอายุ ก็จะสั่งเด็กเล็กไปช่วยย้ายอุปกรณ์กีฬาร่วมกับรุ่นพี่ แบบนี้เรียกว่าเท่าเทียมกันแต่ไม่ยุติธรรม อีกตัวอย่างนะ ถ้าตาบอดเรื่องความพิการ ก็จะไม่มีการสร้างทางลาดให้เข็นรถ แต่จะให้คนพิการที่เดินไม่ได้พยายามลากตัวเองขึ้นบันได แต่เพราะมีความยุติธรรมในการเข้าถึงโอกาส สถานที่ต่าง ๆ จึงมีทางลาดให้ สวอิเฎลเป็นเฟมมินิสต์ และ feminist จริง ๆ จะไม่พยายามขับเคลื่อนความเท่าเทียม แต่ขับเคลื่อนความยุติธรรม
อีกประเด็นนึง ในฐานะที่สวอิเฎลเป็นเฟมมินิสต์ จะรู้สึกแย่เมื่อผู้ชายแปลงเพศหรือกระเทยเรียกผู้หญิงว่าชะนี (Gibbon) ไม่ใช่ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นชะนี คนไทยรู้กันทุกคนว่าชะนีร้องอย่างไร มันร้องว่า ผัว เรื่องนี้สวอิเฎลพบว่าคล้าย ๆ กับชาวตะวันตกที่พูดภาษาอังกฤษ ทรานส์จะเรียกผู้หญิงว่า Bitch
สมัยสวอิเฎลยังเด็ก เพื่อนในกลุ่มเดียวกันเป็นผู้ชายเพศทางเลือกหลายคน และในที่อื่น ๆ ก็ด้วย นักศึกษาที่สวอิเฎลเคยสอนก็จะมีกลุ่มที่เขาสนิทสนมกัน เป็นกลุ่มที่มีทั้งผู้หญิงและกระเทย สิ่งที่สวอิเฎลอยากบอกคือ ในโลกความจริงทั้ง 2 เพศคือเพื่อนที่ดีต่อกัน แต่สื่อและสังคมกลับทำให้เกิดคำดูถูกอย่าง ชะนี และ Bitch แถมยังทำให้คนเพศปกติหลายคนหัวเราะเยาะกระเทยเพราะนำพวกเขามาแสดงให้ดูตลกในรายการเกมส์และภาพยนตร์ ที่แย่ไปกว่านั้น เมื่อไรก็ตามที่มีผู้พยายามแนะนำให้เลิกนำเสนอบทบาทขำขันและเว่อร์เหล่านี้ กลับถูกย้อนถามว่า มันยังไม่ดีอีกหรือ? ที่สื่ออุตส่าห์ให้โอกาสกระเทยออกรายการ? ถ้ายังย้อนถามแบบนี้อยู่ สวอิเฎลเดาเลยว่า คงไม่มีการปรับปรุงใด ๆ เกิดขึ้น
ท้ายนี้ สวอิเฎลอยากฝากให้ทั้งผู้หญิงและเพศทางเลือกทุก ๆ เพศ สามัคคีกัน เราทั้งหมดไม่ใช่ศัตรู เฟมมินิสต์ไม่ใช่ศัตรูของเกย์ เพราะทุกคนควรร่วมมือกันเพื่อให้ลัทธิชายเป็นใหญ่ หรือ ปิตาธิปไตย (Patriarchy) หมดไป