Category Archives: Communication

กระบวนการการผลิตสื่อโฆษณา-ประชาสัมพันธ์ (ต่อ)

@ คลิกที่นี่ เพื่อย้อนอ่านข้อ ๑. การก่อเกิดกลยุทธ์ และ ๒.ตั้งจุดมุ่งหมาย

๓. ระบุกลุ่มเป้าหมาย
ระบุคนที่เราต้องการให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อมาบริโภคสินค้าเรามากขึ้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้อาจไม่ได้เกี่ยวกับกาโฆษณาเท่านั้น เช่น เปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่, สร้างความเชื่อมั่นให้กับร้านค้าที่รับสินค้าจากเสริมสุข (ขอบคุณ อ.โจ้ สำหรับข้อมูล), สร้างความผาสุขให้กับพนักงานชาวสวนสุนันทา, ตลอดจนสร้างความจงรักภักดี โดยมอบรางวัลจำนวนมากให้กับชาวมอญและสวอิเฎล ครั้งตะเบงชะเวตี้ยึดเอาเมืองมาได้ใหม่ ๆ

ไดโนเสาร์ และแอปเปิ้ลแห่งอิดุล

๔. ระบุสารหลัก
เมื่อตะเบงชะเวตี้ยึดเอาเมืองหงสาวดีได้แล้ว เขาก็ต้องระบุว่าเขาต้องการจะสื่ออะไรกับชาวมอญ ซึ่งเป็นประชากรที่เขาต้องปกครองสืบต่อไป ตะเบงชะเวตี้จึงสั่ง สว อิเฎลว่า “เจ้าจงออกแบบสาร ที่ทำให้ชาวมอญรับข้า เสมือนกับที่ข้ารักแม่ของข้า” สว อิเฎลทราบสารหลักทันที ว่าคือ สารอะไรก็ตาม ที่มีประเด็นให้ชาวมอญรับรู้แล้วเกิดความรักต่อตะเบงชะเวตี้

สารหลักนี้สามารถมีได้มากกว่า ๑ สาร หรือสารหนึ่ง ๆ สามารถแยกออกเป็นหลาย ๆ สารได้ ขึ้นอยู่กับความกว้างของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

๕. พัฒนาสาร
คราวนี้ สว อิเฎลต้องนำสารหลักที่ตะเบงชะเวตี้ได้ให้ไว้ในข้อ ๔. มาพัฒนาให้เป็นชิ้นเป็นอัน และสามารถชักจูงชาวมอญให้รักตะเบงชะเวตี้ได้ ครั้นนี้ สว อิเฎล ต้องสืบดูว่าชาวมอญมักจะเชื่อสารที่อยู่ในรูปแบบใด จะเป็นการชักชวนตรง ๆ หรือมีการเล่นคำ หรือว่าชาวมอญไม่ชอบการฟัง แต่ชอบการดูรูปภาพมากกว่า หรือ สว อิเฎลควรออกแบบสัญลักษณ์แสดงถึงความรักของตะเบงชะเวตี้ที่มีต่อชาวมอญมานำเสนอ

๖. พัฒนากลยุทธ์สื่อ
ครานี้ สว อิเฎลต้องเลือกสื่อ ว่าสื่อใดจึงจะสามารถส่งสารให้ชาวมอญทั่วราชอาณาจักร เช่น ใช้ Mobile Billboard หรือป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ โดยเขียนภาพและแปะบนตัวม้า ให้วิ่งรอบเมืองหงสาวดี, หรือจะติดป้านธรรมดาตามกำแพงเหมือนประกาศจับนักโทษในหนังจีนจอมยุทธ นอกจากจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว สื่อยังต้องเหมาะกับสารด้วย เช่น สว อิเฎลอยากนำเสนอรูปภาพที่มีรายละเอียกมาก แต่ดันไปเลือกสื่อม้าวิ่งติดป้ายโฆษณา ทำให้ชาวมอญไม่สามารถดูรายละเอียดภาพนั้นได้ทัน ม้าก็วิ่งไปเสียแล้ว

โดยทั่วไป นักออกแบบโฆษณามันจะคำนึงถึงข้อดังกล่าว แต่ลืมคิดถึงสื่อที่คู่แข่งใช้ เช่น ถ้าทากายุปิเคยใช้สื่อเป็นทหารเดินตะโกนประกาศข่าว ให้ชาวมอญทราบมาเป็นเวลา ๑๐ ปี ชาวมอญก็จะเคยชินกับลักษณะการประกาศเช่นนั้น ดังนั้นแล้ว สว อิเฎล ก็จำเป็นต้องเลือกการประกาศแบบเดิน และอาจเพิ่มสื่อประเภทอื่นลงไป การประกาศข่าวโดยคน ยังเพิ่มศักยภาพของสื่อ คือ คนสามารถรับรู้สีหน้าของผู้รับสาร หรือชาวมอญได้ว่า เขาเชื่อหรือไม่ เห็นด้วยหรือต่อต้าน และสามารถนำกลับมารายงานให้ตะเบงชะเวตี้ทราบ
บางครั้งแคมเปนจ์หนึ่ง ๆ สามารถโฆษณา ประชาสัมพันธ์ได้หลายรูปแบบ เช่น ธนาคารทหารมอญ ผลิตสื่อนำเสนอในโรงละคร เป็นสัตว์ประหลาดค่าทำเนียมถูกไล่ออกไปจากโลก โดยฉากเป็นโลกมนุษย์ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ, และธนาคารทหารมอญยังมีสื่อที่เป็นป้ายโฆษณา ป้ายเดี่ยวใหญ่ ๆ ติดที่หน้าประตูพระราชวัง โดยป้ายนี้เป็นภาพสัตว์ประหลาดค่าทำเนียมถูกส่งมาถึงคุกต่าวดาวเรียบร้อยแล้ว, ป้ายนี้เป็นฉากต่างดาว ถ้าผลิตเป็นภาพนิ่ง จะประหยัดต้นทุนมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่มีเนื้อเรื่องที่ต่อเนื่องกันจากการแสดงในโรงละครมอญ

สุนัขสุดรักของบุเรงนอง นอนอยู่หน้าวังเมืองตองอู


๗. เตรียมเงินทุน

การเตรียมเงินทุน ต้องจัดเงินเป็น ๓ ส่วน คือ (๑) ค่าผลิตสื่อ (๒) ค่าเช่าสื่อ (๓) ค่าวิจัยและสรุปผล ตามตำรา จะเสนอให้คิดค่าเช่าสื่อก่อน แล้วค่อยคิดค่าผลิตสื่อ ทั้งนี้ ถ้าใครเคยอยู่ต่างประเทศ จะพบว่าเขาใช้งบในการผลิตโฆษณาน้อยจริง ๆ ถ้าเทียบกับประเทศไทย ที่เราจ้างดาราค่าตัวแพง ผนวกกับ special effect ที่ดีเกิน hollywood และดีเป็นร้อย ๆ เท่าเทียบกับภาพยนตร์ไทยทั่วไป

ทำไมต้องมีการเก็บข้อมูล และการวิจัยตามหลัง? เพราะจะได้รู้ว่าสิ่งที่สว อิเฎลได้ทำลงไปนั้นได้ผลมากน้อยเท่าไร เช่น สว อิเฎล ให้ทหารไปตะโกนบอกชาวมอญ ว่าตะเบงชะเวตี้รักชาวมอญทุกคน สว อิเฎล จะต้องรู้ว่าได้ผลหรือไม่ การทำวิจัยอาจวัดจากแบบสอบถาม, กิจกรรมพิสูจน์ความรัก, เนื้อที่ที่ข้อความประโคมปรากฎอยู่บนหนังสือพิมพ์ชาวบ้าน, จำนวนวันที่ข้อความประโคมปรากฎในหนังสือพิมพ์ชาวบ้าน, ดุว่าได้ลงสื่ออะไรบ้าง หรือไม่ได้ลงเลย, ถ้าไปถึงวิทยุชุมชน ต้องดูว่าเขาพูดถึงสารนั้นนานเท่าไร เป็นต้น

ตะเบงชะเวตี้ เชิดหน้า ทักทายตั้งใจ กำลังจะเริ่มแข่งช่วงชิงหินเรืองแสง

คำถาม: หากจะจัด Campaign เพื่อโปรโมทสาขาแอนิเมชัน จะทำอย่างไร และเพราะอะไรจึงทำเช่นนั้น? ให้คิดถึงสิ่งที่เป็นไปได้ในโลกความจริง และใช้งบประมาณไม่มาก

13 Comments

Filed under Communication

กระบวนการการผลิตสื่อโฆษณา-ประชาสัมพันธ์

Cite this journal as:
พราว อรุณรังสีเวช (2557). กระบวนการการผลิตสื่อโฆษณา-ประชาสัมพันธ์. สืบค้นจาก from https://sw-eden.net/2014/04/15/ads/
Cornelissen, J. P. (2011). Corporate Communication: A Guide to Theory and Practice. London: SAGE.

กระบวนการการผลิตสื่อโฆษณาในหน้านี้ สว อิเฎลอ้างอิงมาจากหนังสื่อ Corporate Communication: A Guide to Theory and Practice โดยนักวิชาการชื่อ Joep Cornelissen ซึ่งในหนังสื่อเล่มนี้ จะไม่ได้ระบุว่าเป็นการผลิตสื่อโฆษณา แต่กล่าวโดยภาพรวมว่า เป็นการวางแผนการดำเนินการ Program และ Campaigns ซึ่งเป็นไปได้ทั้ง การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการบริหารองค์กร โดย สว อิเฎล จะนำหัวข้อตามหนังสือดังกล่าว และอธิบายด้วยตัวอย่างอย่างที่คนไทยเข้าใจกัน เพื่อให้เหล่านักศึกษานิเทศศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเรา ได้ศึกษา และใช้เป็นแนวทางการทำงานในอนาคต

ตะเบงชะเวตี้ สู้กับสัตว์ประหลาด 2 หัวเพื่อปกป้องชาวมอญ

ก่อนอื่น ขออนุญาตอธิบายความแตกต่างของ Programs และ Campaigns กล่าวคือ โปรแกรมจะเป็นอะไรที่ยืดยามกว่า และหาจุดสิ้นสุดได้ไม่ จนกว่าองค์กรจะบรรลุสิ่งที่ต้องการ หรือเปลี่ยนใจไปหาเป้าหมายอื่น ส่วน แคมเปนจ์ คือการประโคมช่วงสั้น ๆ อาจเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม เช่น แคมเปนส์การหาเสียงผ่านทาง Facebook ของพรรคการเมือง “ถ้าไม่เลือกเรา เขามาแน่” เป็นต้น

หลังจากนี้ เชิญพบกับ กระบวนการการดำเนินการโปรแกรมและแคมเปนจ์

๑. การก่อเกิดกลยุทธ์
ทุก ๆ มหาวิทยาลัยและองค์กรจะมีวิสัยทัศน์ อันเป็นสิ่งที่องค์การนั้น ๆ อยากเป็น หรือคือเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายนั้นเป็นสิ่งที่แตกต่างจากปัจจุบัน ช่องว่างระหว่างปัจจุบัน กับอนาคตที่ตั้งเป้าไว้ ก่อให้เกิดความคิดที่จะต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อทำให้ช่องว่างนี้หมดไป เช่น สว อิเฎล อยากเป็นรับใช้ตะเบงชะเวตี้ สว อิเฎล จึงหาวิธีสมัครเป็นทหารเอกของท่าน

สอพินยา หรือจริง ๆ สอบินนยา พระราชาชาวมอญผู้งามสง่าที่สุดในโลก สอพินยา
ภาพวาด “สอบินนยา หรือ สอพินยา” โดย สว อิเฎล

๒. ตั้งจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร
จุดมุ่งหมายของการสื่อสาร หรือ จุดประสงค์การสื่อสารด้วยโปรแกรมหรือแคมเปนจ์นี้ ต้องเป็นสิ่งที่เฉพาะเจาะจง สามารถตรวจสอบและประเมินค่าได้ ว่าบรรลุจุดประสงค์แล้วหรือไม่ ถ้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สว อิเฎล ก็ต้องสร้างเครื่องมือ แต่ถ้าเป็นเชิงคุณภาพ สว อิเฎล ก็ต้องกลายเป็นเครื่องมือ นอกจากนี้วัตถุประสงค์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นจริงได้ ตามระยะเวลาที่กำหนด

ตัวอย่างเช่น ในระหว่างที่ สว อิเฎลเดินทางไปร่วมรบกับตะเบงชะเวตี้ ครั้งตีเมืองหงสาวดี เป้าหมายของเราทั้งสองคือ ยึดเอาเมืองหงสาวดี เป้าหมายนี้ เป็นเป้าหมายของ Campaign ซึ่งเป็นส่วนเล็ก ๆ ของโปรแกรมการรวมชาติมอญและพม่าของตะเบงชะเวตี้ ลักษณะความสัมพันธ์ที่ว่า เป้าหมายหนึ่ง เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายต่อไป แต่ไม่จำเป็นว่า ถ้าเป้าหมายแรกสำเร็จ และอีกเป้าหมายจะต้องสำเร็จตาม ตรงตามการศึกษา “goal-seeking behavior” การนี้ตะเบงชะเวตี้และสว อิเฎล มีจุดประสงค์ที่แน่ชัด ต่อมา ถ้ายึดเอาหงสาวดีได้สำเร็จ เราก็รู้ว่ามันสำเร็จ และถ้าไม่มีการสูญเสียทหารเลย ก็จะยอดเยี่ยมมาก แบบนี้เรียกว่า ความสำเร็จสามารถถูกประเมินค่าได้ ว่าสำเร็จหรือยัง หรือสำเร็จมากน้อยเท่าไร เมืองเล็ก ๆ อย่างตองอู หรือจะสู้หงสาวดีได้ ทีแรกก็ฟังดูยาก แต่สว อิเฎลมีพระราชาเป็นตะเบงชะเวตี้ผู้ชาญฉลาด ดังนั้น วัตถุประสงค์นี้ เป็นไปได้ นอกจากขนาดของเมืองแล้ว ทรัพยากรต้องเอื้ออำนวย คือ จำนวนทหาร ถึงแม้ว่าจำนวนทหารของตองอูจะน้อย และตะเบงชะเวตี้ต้องขยันถอยนับครั้งไม่ถ้วน เพื่อมิให้เกิดการสูญเสีย แต่กลยุทธการรบ และกลลวงอย่างชาวมอญในเรื่องราชาธิราช ทำให้ทรัพยากรที่มี สามารถนำมาซึ่งความสำเร็จได้ นอกจากนี้ ตะเบงชะเวตี้คงไม่บอกว่า ฉันจะต้องตีหงสาวดีให้ได้ โดยไม่มีเวลาจำกัด หรือบอกว่า จะต้องตีให้ได้ภายในเวลา 100 ปี ซึ่ง ณ เวลานั้น ท่านตะเบงชะเวตี้คงเหลืออยู่คนเดียว ดังนั้น ต้องระบุเวลา เหมือนตอนที่ชาวไทยเราชอบไปบน ว่าต้องได้แต่งงานภายในเวลากี่ปี

@ อ่าน (ต่อ) ข้อ ๓. , ๔. , ๕. , ๖. และ ๗. คลิกที่นี่
๓. ระบุกลุ่มเป้าหมาย
๔. ระบุสารหลัก
๕. พัฒนาสาร
๖. พัฒนากลยุทธ์สื่อ
๗. เตรียมเงินทุน

ตะเบงชะเวตี้ปลอมตัวเป็นคนส่งสารลวงศัตรู

1 Comment

Filed under Communication

ปัญหา ลูกจ้าง-นายจ้าง และ หัวหน้า กับ ลูกน้อง

หัวหน้าหรือเจ้านาย เป็นสัตว์ประเสริฐเสมอ แต่ลูกน้องไม่เป็นเช่นนั้น เพราะบางครั้ง เวลา สว อิเฎล นำกระดูกกลับมาให้สุนัขที่บ้าน เจ้าของร้านมักจะเรียกสุนัขว่า “ลูกน้อง” เช่นประโยคที่ว่า “อ๋อ เอากระดูกไปให้ลูกน้องใช่มะ”

Sid Wilson Dj starscream หันมาทำงานส่วนตัว ไม่หวังเป็นลูกน้องใครในบางเวลา

ในชีวิตการทำงาน หัวหน้าและลูกน้องก็สามารถมีสถานะเฉกเช่นเดียวกับคนเลี้ยงหมา และน้องหมา กล่าวคือ สว อิเฎล สามารถสั่งสุนัขของ สว อิเฎล ได้ และสุนัขของ สว อิเฎลสามารถฟังคำสั่งนั้นเข้าใจ แต่ในทางกลับกัน เมื่อสุนัขของ สว อิเฎล พยายามสื่อสารกับ สว อิเฎล สว อิเฎลกลับได้ยินเป็นเสียงเห่าเสียงร้อง ซึ่งอาจมีความหมาย หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า สว อิเฎล จะเข้าใจการเห่านั้นหรือไม่

ความสัมพันธ์ของเจ้านายกับลูกน้อง ที่เป็นเหมือนเจ้าของและสุนัข เรียกว่า “Close Communication Climate” คือข้อมูลจากลูกน้องถูกปิดกั้นด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ หรือข้อมูลของเจ้านายก็ลูกปิดกั้นเช่นกัน เช่น สุนัขไม่สามารถเข้าใจว่าทำไม สว อิเฎล ต้องพามันไปฉีดยา แต่ถึงอย่างไร มันก็ต้องทำตาม

“Close Communication Climate” ในสถานะการณ์ของบริษัทหรือองค์กรจริงคือ
(๑) ลูกน้องคิดว่าตัวเองไม่มีความรู้ ต่ำต้อยด้อยค่า จึงไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
(๒) สว อิเฎลคิดว่าลูกน้องโง่ อธิบายไปก็เสียเวลาเปล่า
(๓) สว อิเฎลคิดว่าความเข้าใจของลูกน้องไม่สำคัญ อธิบายให้เข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้น ไม่ใช่คนที่นำไปใช้
(๔) สว อิเฎลไม่รับฟังความคิดเห็น เพราะกลัวลูกน้องตำหนิ แล้วตนยอมรับความจริงไม่ได้

อุลตร้าแมนซีโร่ เซโร่ จัดการสัตว์ประหลาดเสื้อแดง

แต่ในความเป็นจริง หัวหน้าจำนวนมาก ในประเทศไทย ดินแดนนี้ มีกลเม็ดมากกว่าในตำรา เช่น ทำเป็นรับฟัง แต่ไม่เคยเอาไปใช้, ทำเป็นไม่รับฟัง แต่จำไปนำเสนอเจ้าของบริษัทและรับคำชมคนเดียว (ขโมยผลงานเด็ก ๆ), รับฟังปัญหา แต่พอเกิดวิกฤต ก็แสร้งเป็นไม่เคยรู้ปัญหาจากลูกน้อง เป็นต้น

สว อิเฎล มั่นใจว่า พวกท่านทั้งหลาย ที่เคยทำงานตามบริษัท ล้วนแล้วแต่เจอของแปลกที่ไม่เคยอยู่ในตำราของฝรั่ง วิธีแก้คือ ทำบุญให้ตัวเอง ให้มีบารมีเหนือกว่า และมารเหล่านี้จะสูญสลายไป เหมือนโดนลำแสงของอุลตร้าแมนซีโร่ (แบบที่เอา eye sluckers มาปักอก)

ปล. ถ้าใครบอกว่าให้ทำบุญให้พวกสัตว์ประหลาด ขอห้ามไว้ก่อนว่าอย่า เอาบุญนั้นมอบให้ผู้มีศีลครบ จะคุ้มกว่า

ตรงกันข้ามกับ “Close Communication Climate” คือ “Open Communication Climate” ซึ่ง “Open Communication Climate” นี้ได้กล่าวถึงหัวหน้า หรือเจ้าของบริษัทอันสุดแสนประเสริฐ ผู้รับฟังความคิดเห็น ผู้ไม่กั๊กข้องมูล ผู้ยอมให้เหล่าสมุนมีส่วนร่วมในการบริหาร เช่นนี้ ก็หนีไม่พ้น พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ที่ไม่เคยปรากฎในพงศาวดารว่า ชิชะ ด่าพี่ชายสุดรักของตนเลย แถมให้สิทธิ์ในการคุมกองทัพบก นอกสายตาของตน ซึ่งคุมกองทัพเรือ

Chris Fehn and Waylon Reavis

คำถาม: คุณคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ผู้สอนสาขาแอนิเมชันทั้งในละนอกสาขา ส่วนใหญ่เป็นความสัมพันธ์แบบ “Close Communication Climate” หรือ “Open Communication Climate” เพราะเหตุใด

12 Comments

Filed under Communication

โมเดลลำดับขั้นความสัมพันธ์ (Relational Stages)

บทความรัก เรื่อง โมเดลลำดับขั้นความสัมพันธ์ (Relational Stages)

ลำดับขั้นความสัมพันธ์ หรือ ระยะต่าง ๆ ของความสัมพันธ์ เป็นโมเดลที่ Imahori และ Cupach ได้ตั้งขึ้นมาจากการสังเกตุคู่รักในงานวิจัยของพวกเขา ความสัมพันธ์ของคู่รักต่างวัฒนธรรม หรือต่างชาติต่างภาษามีอยู่ 3 ระยะ คือ

(๑) Trial
โดยปกติคำนี้ สว อิเฎล จะพบได้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระยะทดลองใช้ ที่จะมีหน้าต่างปรากฏขึ้นก่อนเข้าโปรแกรมว่า “Free Trial” ดังนั้น คำนี้หมายความว่า ขั้นทดลอง เมื่อหนุ่มสาวที่มีวัฒนธรรมประเพณีภูมิหลังแตกต่างกันจะเริ่มมารักกันก็ต้องทดลองคบกัน สว อิเฎลเคยอยู่ต่างประเทศมาหลายปี พบว่าหนุ่มผวดำมักจะชอบสาวจีนมาก พวกเขาได้เรียนรู้วัฒนธรรมจีนโดยการดูภาพนตร์จีน หรือ หนังจอมยุทธ รวมถึงรับประทานอาหารจีน, นอกจากประสบการณ์ที่สว อิเฎล ได้เห็นมา สว อิเฎล ยังคิดถึงตะเบงชะเวตี้ ที่รักกับองค์หญิงชาวมอญ ความรักในขั้นทดลองคบนี้ คู่ชายหญิงอาจจะทำผิดพลาดในสายตาของอีกฝั่งบ่อยครั้ง เพราะความไม่รู้ ถ้าคู่ใดมีความพยายาม ความอดทน หรือมีความรักที่มีกำลัง ฟันฝ่าอุปสรรค์ ก็จะได้ไปในระยะที่ 2

โมเดลลำดับขั้นความสัมพันธ์ (Relational Stages)

(๒) Enmeshment
เป็นระยะการพัวพัน เริ่มค้นพบจุดเกี่ยวเนื่อง โดยตะเบงชะเวตี้และเจ้าหญิงชาวมอญ คู่รักเริ่มรู้ว่าทำอะไรแล้วอีกฝ่ายจึงจะสบายใจ หรือ เริ่มเคยชินกับพฤติกรรมของอีกฝ่าย และรู้สึกว่ายอมรับได้ เข้าใจเหตุผลของอีกฝ่าย เข้าใจและวางใจในวัฒนธรรมของอีกฝ่าย; ความจริงแล้ว ชาวมอญ ชาวพม่าไม่ได้มีวัฒนธรรมแตกต่างกันเหมือนกับที่ชาวมอญแตกต่างจากชาวเม็กซิกัน แต่สิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกแตกต่างคือ ความเกลียดชังจากสงครามหลายร้อยปี และจบลงที่ชาวมอญต้องย้ายรกรากมาอยู่ที่แดนสยามนั่นเอง

(๓) Renegotiation
คำคำนี้จริง ๆ แล้วแปลว่าการต่อรอง แต่ในโมเดลนี้ ได้อธิบายว่ากว่าจะมาถึงความรักระยะนี้ ทั้งสองได้มีประสบการณ์ร่วมกันมากมาย มีความทรงจำดี ๆ มากมาย ที่พัฒนาความรักขึ้นมาพร้อม ๆ กัน และความทรงจำอันดีนี้ ทำให้ความรักสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น สว อิเฎลพูดถึงตะเบงชะเวตี้และเจ้าหญิงมอญอีกเช่นเคย เมื่อทั้งสองได้คบหากันอยู่พักใหญ่ มีความทรงจำว่าเคยเดินทางไปรบด้วยกัน ฝ่ายตะเบงชะเวตี้ชื่นชมวัฒนธรรมชาวมอญมากขึ้นกว่าเก่า ด้วยความปลื้มปิติในตัวฝ่ายหญิง จนกระทั่วอภิเษกสมรสกันหลังได้เมืองอังวะกลัมมาเป็นของพม่า

สว อิเฎล ขอเป็นกำลังใจให้หนุ่มสาวต่างวัฒนธรรมได้คบหากัน และมีความเข้มแข็งจนกระทั่งได้สร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ร่วมกัน สว อิเฎลมั่นใจว่าคุณมีคำถามว่าทำไม สว อิเฎล จึงต้องการเช่นนั้น ถ้าทางชีววิทยา การแต่งงานกับคนที่ไม่ได้มีสายเลือดร่วมกัน จะเป็นการดำรงค์เผ่าพันธ์มนุษย์ให้อยู่สืบต่อไป และเนื่องจากที่ สว อิเฎล ชอบตะเบงชะเวตี้มาก แนวคิดการรวมชาติของเขา เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม เส้นบาง ๆ แห่งความขัดแย้งอาจจะหมดไป ถ้ามีคนอย่างตะเบงชะเวตี้พัฒนาสหภาพเมียนมาร์ ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดั่งชื่อ คำว่า “Union”

โมเดลลำดับขั้นความสัมพันธ์ (Relational Stages)

ตะเบงชะเวตี้ เหมือนหงส์ตัวผู้ เป็นสุภาพบุรุษให้หญิงมอญยืนบนหลัง ด้วยการแต่งกายเป็นชาวมอญ นำกองทัพเรือชาวมอญ และรับความเป็นมอญมาแต่สายเลือด มีวิธีการคิดและสติปัญญาดั่งเช่นชาวมอญ

คำถาม: ในอนาคต เมื่อนักศึกษาไปทำงานประจำ เป็นพนักงานของบริษัท นักศึกษาคิดว่าตนจะมีความจงรักภักดีกับบริษัท ใน Relational Stages ระยะใด เพราะเหตุใด

8 Comments

Filed under Communication

ทฤษฎีสื่อแบบดั้งเดิม (Classical Medium Theory)

บทความเรื่อง ทฤษฎีสื่อแบบดั้งเดิม (Classical Medium Theory)

ถ้าพูดถึงเรื่องทฤษฎีสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นทฤษฎีแบบดั้งเดิม เป็นไปไม่ได้ที่ สว อิเฎล จะนึกถึง Marshall McLuhan ซึ่งเป็นผู้มีงานเขียนที่แปลกแสดงออกถึงความคิดที่แปลกแต่ริเริ่มของเขา

ทฤษฎีสื่อแบบดั้งเดิม (Classical Medium Theory)

ท่ามกลางงานวิจัยมากมายที่เกี่ยวกับความรุนแรงของสื่อ (Violence of Media) เช่น เด็ดดูโทรทัศน์แล้วมีความก้าวร้าว (aggressiveness) ทฤษฎีสื่อในสายของ Marshall McLuhan มีแนวคิดว่า อันตรายไม่ได้มาจากโทรทัศน์ แต่มาจากรายการที่เด็กคนนั้นดู, เช่นเดียวกันกับสื่อออนไลน์ อินเตอร์เน็ต แอพลิเคชัน ซึ่งความรู้ที่ผู้ใช้ได้ และพฤติกรรมสมาธิสั้นของผู้ใช้ ไม่ได้มาจากตัวของสื่อออนไลน์ หากแต่มาจากสิ่งที่เขาเลือกที่จะดูในสื่อนั้น ๆ ตลอดจนพฤติกรรมการใช้ ที่ผู้ใช้เป็นผู้เลือกเอง

ชนิดของสื่อ แบ่งออกตามอิทธิพลต่อสังคมในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่ สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ที่ สว อิเฎล จะอธิบายดังต่อไปนี้

(๑) Time Binding สว อิเฎล ขออนุญาตแปลเป็นไทยว่า “สื่อร่วมเวลา”
ตัวอย่างของ Time Binding หรือ “สื่อร่วมเวลา” เช่น อนุสาวรีย์เมงจีโย ในเมืองตองอู, ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง, บ้านของ สว อิเฎล ซึ่งสื่อเหล่านี้ จะมีอายุยืนมาก คนตายไปหลายรุ่น สื่อก็ยังคงอยู่ และส่วนใหญ่แล้วจะตั้งอยู่ที่เดิม คนที่เสพสื่อเหล่านี้ ก็จะเป็นคนที่อยู่อาศัย หรือผ่านไปผ่านมาในบริเวณนั้น มิใช่คนทั่วไปทั่วโลก สื่อเหล่านี้ไม่ได้ทำให้คนในอดีตกับคนปัจจุบันคิดแตกต่างกัน เพราะเด็กก็เห็น ผู้ใหญ่ก็เห็น เมื่อเด็กโตขึ้น เด็กก็ยังเห็น ดังนั้นสื่อแบบ Time Binding จึงไม่ได้มีผลต่อการคิดของคนรุ่นต่าง ๆ กัน

(๒) Space Binding สว อิเฎล ขออนุญาตแปลเป็นไทยว่า “สื่อร่วมสถานที่”
สื่อร่วมสถานที่ คือสื่อที่คนในหลาย ๆ สถานที่ทั่วโลกสามารถเสพร่วมกันในระยะเวลาช่วงหนึ่ง ๆ เช่น ภาพยนตร์ที่ฉายในหลาย ๆ ประเทศพร้อมกัน, ข่าวในหนังสือพิมพ์, กระทู้ที่น่าสนใจ น่า share ใน อินเตอร์เน็ต และเนื่องจากสื่อเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายได้ และหลายคน จากหลายสถานที่สามารถเสพพร้อมกัน อีกทั้งเป็นสื่อที่ไม่ได้ยั่งยืน ถาวรเหมือนสื่อที่ทำด้วยหินในข้อแรก สื่อชนิด Space Binding หรือ “สื่อร่วมสถานที่” จึงมีผลทำให้คนในแต่ละรุ่นมีความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เช่น สมัยคุณปู่คุณย่าของ สว อิเฎล ยังเป็นหนุ่มสาว เขาชอบฟังเพลงในแผ่นเสียงขนาดฟุตกว่า และเป็นเพลงโบราณที่บ่งบอกความเป็นสังคมยุคนั้น ๆ ต่อมาในปัจจุบัน อุปกรณ์เหล่านี้หายาก เพลงหลายเพลงโบราณหลายเพลงหายไป และถูกแทนที่ด้วยเพลงใหม่ ๆ ซึ่ง ความแตกต่างกันของเพลงเหล่านี้ ทำให้คนโบราณ กับคนในยุคปัจจุบันคิดแตกต่างกัน

ทฤษฎีสื่อแบบดั้งเดิม (Classical Medium Theory)

คำถาม: สื่อแอนิเมชันเป็นสื่อชนิดใด? หรือเป็นได้ทั้งสองชนิด เพราะเหตุใด

39 Comments

Filed under Communication

การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา

บทความเรื่อง การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา

Quantity Maxim หรือสิ่งที่ควรพูดโดยคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม คือ
(๑) ความยาวของประโยคเหมาะสม
(๒) พูดความจริง
(๓) มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่คู่สนทนาคุยอยู่
(๔) ชัดเจน ไม่กำกวม หรือสร้างความเข้าใจผิด

theory ทฤษฏี โมเดล นิเทศศาสตร์

ในชีวิตประจำวัน สว อิเฎล และปุถุชนทั่วไปก็ทำผิด Quantity Maxim อยู่เสมอ ตัวอย่างจะแสดงตามหัวข้อ ดังนี้

(๑) ประโยคยาวไป หรือ สั้นไป
สว อิเฎล พูดสั้นเกินไป เพราะคิดว่าเพื่อนสนิทหรือนักศึกษาจะเข้าใจในสิ่งที่ สว อิเฎล พูด เช่น “ไปแด๊กข้าวกัน” แทนที่จะพูดเต็ม ๆ ว่า “ถึงเวลารับประทานอาหารแล้ว”

(๒) พูดความเท็จ
ตะเบงชะเวตี้สัญญากับประชาชนว่า เสร็จศึกชายฝั่งแล้วจะกลับมา ทั้ง ๆ ที่เป็นศึกหนักและตนไม่รู้อนาคต การโกหกชนิดนี้ เป็นการโกหกเพื่อให้ส่วนรวมสบายใจ ผู้ที่โกหกจะทำได้ง่าย และจับผิดได้ยาก เทียบกับคนที่โกหกเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน

(๓) ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คู่สนทนาคุยอยู่
ตะเบงชะเวตี้กำลังชวน สว อิเฎล ไปทำงานเป็นพลทหารเลว แต่เมื่อสว อิเฎลเห็นช้างลงเล่นน้ำในสระ สว อิเฎล จึงเปลี่ยนเรื่องสนทนาทันที โดยไม่สนว่า ตะเบงชะเวตี้กำลังพูดถึงเรื่องอะไร

(๔) กำกวม สร้างความเข้าใจผิด
สว อิเฎล บอกว่า “ปวดท้อง” ทำให้คู่สนทนาพยายามจะพา สว อิเฎล ไปหาหมอ แต่ สว อิเฎล มาบอกทีหลังว่า “ปวดท้องอึ”

theory ทฤษฏี โมเดล นิเทศศาสตร์

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

คำถาม: นักศึกษาคิดว่าตัวละครตัวเอกในการ์ตูน ส่วนใหญ่แล้วทำผิดต่อ Quantity Maxim ข้อใด จงยกตัวอย่างการกระทำผิดนั้นๆ และบอกชื่อตัวละคร

7 Comments

Filed under Communication

ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)

บทความเรื่อง ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)

จากที่ทราบกันในบทความ สัญญะของภาษา (Semiotics of Language) ว่าภาษาของมนุษย์เป็นสัญลักษณ์ (Symbol) ภาษา ณ ที่นี้คือทั้ง วจนภาษา (Verbal) และ อวจนภาษา (Nonverbal) โดยที่ อวจนภาษา (Nonverbal) บางส่วนที่คนไม่ได้สร้างขึ้นเอง อาจจะไม่ใช้สัญลักษณ์ (Symbol)

theory ทฤษฏี โมเดล นิเทศศาสตร์

อวจนภาษาแบ่งเป็น 6 อย่างคือ
(๑) อวจนภาษาประกอบวจนภาษา หรืออวจนภาษาประกอบการพูด จากที่เราทราบว่าทุกครั้งที่เราพูด จะมี 3 สิ่งประกอบกันคือ สีหน้า โทนเสียง และประโยคที่พูด; อวจนภาษาประกอบวจนภาษา คือ สีหน้า และโทนเสียง รวมถึงความเร็วในการพูด
(๒) การใช้มือประกอบ เช่น สว อิเฎล อธิบายให้ตะเบงชะเวตี้ฟังว่า ทางไปกรุงสยามต้องผ่านสถานที่อะไรบ้าง ถ้าผ่านป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ สว อิเฎลจะยกมือสูงเพื่ออธิบายหน้าตาของต้นไม้นั้น
(๓) อวจนภาษาสากล คืออวจนภาษาที่ทุกคนรู้ว่าคืออะไร เช่น ขมวดคิ้ว แปลว่าสงสัย, กวักมือเขา แปลว่า มานี่, ชี้นิ้วไปไกล ๆ คือ ทางโน้น
(๔) อวจนภาษาที่เกิดขึ้นพร้อมกับการพูด ซึ่งผู้พูดสามารถส่งสารที่มีความหมายแตกต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ตะเบงชะเวตี้สัญญา สว อิเฎลว่าจะมอบช้างตัวหนึ่งให้ ในขณะที่มือไขว้หลังเอานิ้วไขว้กัน และทหารของเขาก็เห็นว่าเขาทำเช่นนั้น แปลว่าเขากำลังโกหก เป็นต้น
(๕) อวจนภาษาที่ทำโดยอัตโนมัต เช่น หมาจะกัดตะเบงชะเวตี้ เขาก็วิ่งหนีทันที, สว อิเฎลเดินเข้าลิฟต์ สิ่งแรกที่ทำคือกลับหลังหัน เผื่อเตรียมออก
(๖) อวจนภาษาแห่งความกังวล เช่น สว อิเฎล นั่งทำข้อสอบและกัดเล็บในขณะเดียวกัน, วิวลี่กำลังถูกสัมภาษณ์เพื่อสมัครเข้าทำงาน เขากระดิกเท้าตลอดเวลา, ตะเบงชะเวตี้พูดไปเกาหัวไปในขณะที่กำลังเอาใจเจ้าหญิงชาวมอญ เป็นต้น

theory ทฤษฏี โมเดล นิเทศศาสตร์

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

คำถาม: ปกติการใช้วาจาไม่สุภาพไม่ควรมีในการ์ตูน นักศึกษาเคยพบอวจนภาษาที่ไม่สุภาพในการ์ตูนปรือไม่? นักศึกษาคิดว่าอวจนภาษาที่ไม่สุภาพมีผลเสียมากหรือน้อยกว่าวาจาไม่สุภาพ เพราะเหตุใด? จงยกตัวอย่างในการ์ตูนที่นักศึกษาชื่นชอบ

6 Comments

Filed under Communication

ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)

บทความเรื่อง ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)

เมื่อ สว อิเฎล คุยกับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ สว อิเฎล พยายามลอกเลียนแบบพฤติกรรมการสนทนาของตะเบงชะเวตี้ เพราะตะเบงชะเวตี้ดูน่านับถือ การเลียนแบบนี้เรียกว่า “Convergence” ต่อมา ตะเบงชะเวตี้เห็นว่า สว อิเฎลพูดภาษามอญไม่ชัด ตะเบงชะเวตี้จึงพูดภาษามอญให้ชัดขึ้น เพื่อให้ตนเองมีอิทธิพลทำให้ สว อิเฎล ได้สติและพูดชัด การกระทำของตะเบงชะเวตี้คือ การทำตรงข้ามกับสิ่งที่คู่สนทนากำลังทำอย่างสิ้นเชิง การทำตรงข้ามนี้เรียกว่า “Divergence”

การลอกเลียนแบบพฤติกรรมคู่สนทนา (Convergence) และ การทำตรงข้ามกับพฤติกรรมคู่สนทนา (Divergence) สามารถทำพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือ ทำเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ตะเบงชะเวตี้เอาดาบพาดบ่าตอนพูดกับ สว อิเฎล และ สว อิเฎลทำตามตะเบงชะเวตี้ ในขณะเดียวกันตะเบงชะเวตี้เห็นว่า สว อิเฎลมองไปทางรูปปั้นหงส์มอญ ตะเบงชะเวตี้จึงมองตาม การกระทำนี้แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายต่างเลียนแบบพฤติกรรมซึ่งกันและกัน เรียกพฤติกรรมนี้ว่า “Mutual” และถ้ามีเพียงฝ่ายใดฝ่ายเลียนแบบ ส่วนอีกฝ่ายพยายามทำตรงข้าม อย่างย่อหน้าแรก จะเรียกว่า “Nonmutual”

โดยธรรมชาติ คนเราจะลอกเลียนพฤติกรรมการสนทนาของผู้ที่มีคุณวุฒิเหนือกว่า และจะไม่ลอกเลียนพฤติกรรมของผู้อ่อนวัยกว่า การลอกเลียน (Convergence) หรือทำตรงข้าม (Divergence) สามารถทำให้คู่สนทนาเกลียดเราได้ เช่น ผู้ใหญ่ทำตัวปัญญาอ่อนเพื่อจะเล่นกับเด็กทารก ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว เด็กทารกบางคนไม่ชอบ เพราะถือว่าเป็นการดูถูก และพ่อแม่ของเด็กก็ไม่ชอบ เพราะการสอนเด็กที่ดี ควรสอนให้เขารู้จักโลกความจริง มิใช่การทำท่าทางปัญญาอ่อนของผู้ใหญ่ ที่ทำให้เด็กทารกมีพัฒนาการทางสมองช้า, อีกตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ราชการเห็นว่าชายชรามีการศึกษาต่ำ ดูโง่เขลา เชื่องช้า และพูดด้วยเสียงเบา ดังนั้นเจ้าหน้าที่ราชการจำใช้วิธีตะคอกใส่ชายชรานั้น ทำเช่นนี้คือ Divergence และเป็นบาปยิ่ง

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

คำถาม: จงยกตัวอย่างที่นักศึกษาเคยกระทำแบบ Divergence และบอกสาเหตุว่าทำเพราะเหตุใด

7 Comments

Filed under Communication

สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)

บทความเรื่อง สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)

สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)

ใจความสำคัญของกลุ่มทฤษฎีทางภาษา (Linguistic Theory) คือ ส่วนใหญ่คำที่มีความหมายเดียวกับของแต่ละภาษาออกเสียงไม่เหมือนกัน แสดงให้เห็นว่า คำที่มนุษย์บัญญัติขึ้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัตถุนั้น ๆ เช่น คำว่า ขอบคุณ ในภาษาอังกฤษคือ “Thank You” ภาาาพม่าคือ “เจ๊ะสุ” เป็นต้น การบัญญิตคำของมนุษย์ ทำให้ภาษาเป็นสัญลักษณ์ (Symbol) ไม่เหมือนกับการสื่อสารระหว่างสัตว์ในบางสถานการณ์ เช่น หมาแยกเขี้ยวจะกัด หมาอีกตัวทำท่ากลัว และวิ่งหนี การกระทำของหมาไม่ต้องถูกแปล แต่เป็นการสื่อสารโดยตรง หมาทุกตัวที่มาเห็นเหตุการณ์ เข้าใจในรูปแบบเดียวกันหมด

ภาษาแต่ละภาษามีรูปแบบของมัน มีการให้ความหมายมานานก่อนที่ สว อิเฎล จะเกิดมาบนโลกมนุษย์ มีรูปแบบไวยกรณ์ (grammar) ที่แน่ชัด สิ่งเหล่านี้ ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และผู้ใช้เรียนรู้มันเพื่อเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการเอามาใช้นั้นจะใช้ในลักษณะใดก็ได้ เพื่อสื่อสารตามที่ตนต้องการ อาจใช้ผิดหลักไวยกรณ์ก็ได้ การเรียบเรียงประโยค การออกเสียง การลำดับเหตุการณ์ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน

กล่าวคือ ภาษา (Language) จะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในขณะที่การนำมาใช้นั้นยืดหยุ่น แต่ละคนเปลี่ยนรูปแบบการใช้ แต่ภาษาต้นฉบับก็ยังคงอยู่

สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

คำถาม: สัญลักษณ์ในความคิดของนักศึกษาคืออะไร? นักศึกษาคิดว่าทำไมภาษาจึงเป็นสัญลักษณ์ชนิดหนึ่ง?

28 Comments

Filed under Communication

ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

บทความเรื่อง ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

. . .การบังคับให้คนอื่นเชื่อ เป็นเรื่องบาป ไม่ควรทำ
การดูถูกคนอื่นว่าโง่ เพื่อให้เขาเชื่อเรา ไม่ควรทำ
การใส่ความว่าความคิดคนอื่นผิด ไม่ควรทำ
การเชิญชวนให้คนอื่นมองโลกอย่างเรามอง ทำได้
แต่ทำด้วยความสุภาพ . . .

สว อิเฎล ได้อ่านวิธีการคิดนี้ ทำให้คิดถึงหลักคำสอนพระพุทธศาสนา แม้เราจะตักเตือนเขา ถ้าทำให้เขาไม่สบายใจก็ไม่ควรทำ สว อิเฎล จึงได้ร้อยเรียงเรื่อง ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) เป็นคำพูดข้างต้น

ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

จากคำพูดข้างต้นนั้น Sonja K. Foss และ Cindy L. Foss ได้แนะนำวิธีชักชวนเชื้อเชิญ อย่างสันติ และน่าจะได้ผล คือ

(๑) สร้างบรรยากาศในการชักชวน เช่น ตะเบงชะเวตี้ชวน สว อิเฎลออกรบ จึงพา สว อิเฎลเดินดูทหารซ้อมรบอย่างตั้งอกตั้งใจ ทำให้ สว อิเฎลเกิดความฮึกเหิม
(๒) สร้างความสบายใจ หรือ อุ่นใจ ให้กับผู้ที่ถูกชวน เช่น ตะเบงชะเวตี้บอกว่า ถ้า สว อิเฎล มารบให้ ลูกเมียของ สว อิเฎล จะได้รับการดูแลอย่างดี, หรือ ถ้า สว อิเฎล เซนต์สัญญาเป็นทหารแล้ว ข้อมูลของ สว อิเฎล จะไม่ถูกนำไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต หรือภาพถ่ายของ สว อิเฎล จะไม่ถูกส่งไปยังเมืองยะไข่
(๓) ฟังเขาก่อน ที่จะให้เขาฟังเรา เช่น ตะเบงชะเวตี้ สอบถามความเห็นจาก สว อิเฎล หลังจากที่ สว อิเฎล ได้เดินชมการซ้อมรบของทหาร เมื่อสว อิเฎลให้ความเห็นเสร็จแล้ว ตะเบงชะเวตี้จึงเริ่มชวน โดยการชวน ใช้คำพูดของ สว อิเฎล เป็นพื้นฐาน สมมติว่า สว อิเฎล บอกว่า “น่าจะให้ทหารใช้ธนูมากกว่าที่จะซ้อมรบประชิดตัว” และตะเบงชะเวตี้ก็กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ก็ขอเชิญอิเฎลมาเป็นพลธนู และฝึกสอนทหารของข้า”
(๔) แบ่งปันความคิดเห็นกัน สมมติว่า สว อิเฎล ปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นทหารในกองกำลังของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ตะเบงชะเวตี้จะถามว่าเพราะอะไร ถ้าเขาทราบสาเหตุ เขาก็จะเริ่มโน้มน้าวจากสาเหตุนั้น

ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

คำถาม: แต่งเรื่องสมมติ การชักชวน 4 ขั้นตอน โดยสมมติให้ คุณพยายามชักชวนเพื่อนให้ไปดูหนังเรื่องที่เพื่อนไม่ชอบ

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

24 Comments

Filed under Communication