Misconceptions of Crisis Communication แปลเป็นไทยอย่างตรงตัวว่า “การเข้าใจแนวคิดผิด ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต”
นาย Robert R. Ulmer และคณะ ได้แจงการเข้าใจแนวคิดผิด ในการสื่อสารขณะที่เกิดความขัดแย้งเป็น 10 ข้อ ในหนังสือของเขา คือ Effective Crisis Communication ซึ่งเมื่อ สว อิเฎล ได้อ่านแล้ว อยากนำมาแบ่งปัน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร บริษัท รายการโทรทัศน์ และสื่อบันเทิงทั่วไปในประเทศไทย
การเขียนในครั้งนี้ สว อิเฎล จะขออธิบายและยกตัวอย่างที่ชาวไทยน่าจะคุ้นเคยกัน เพื่อให้พวกเราได้อ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น กว่าที่จะใช้ตัวอย่างสถานการณ์ในต่างประเทศตามตำราต้นฉบับ
ก่อนอื่นต้องแนะนำก่อนว่า Crisis หมายความว่าอะไร ความหมายทั่วไปของ Crisis คือวิกฤต หรือความขัดแย้ง เมื่อ ตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปมีทิศทางทางความคิด หรือการปฏิบัติมุ่งไปคนละทิศทาง โดยความคิดและการปฏิบัติขัดนั้น ๆ ทำให้อีกฝ่ายเสียประโยชน์หรือเกิดความไม่พอใจ

การเข้าใจผิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง 10 ข้อนี้ได้แก่
1. Crisis สามารถสร้างชื่อเสียง ภาพลักษณ์ให้องค์กรได้
การเกิด Crisis ไม่ใช่เรื่องที่คนทั่วไปต้องการให้มี และถ้าเกิดขึ้นเมื่อไร เป้าหมายที่องค์กรควรทำคือ นำองค์กรเข้าสู่สภาวะปกติให้ได้ ในทางกลับกัน บางองค์กรเห็นว่าตนสามารถใช้ Crisis ในการสร้างชื่อเสียงได้ และจากที่ สว อิเฎลได้เข้าฟังการอบรมผู้ประกาศวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งวิทยากรได้นำตัวอย่างรายการโทรทัศน์ที่อาจจะใช้ Crisis ในการสร้างชื่อเสียงหรือสร้างกระแสมาใช้ชม เราชาวไทยคงทราบกันดี ถึง รายการที่ผู้หญิงใช้หน้าอกวาดภาพ และ ที่มีเด็กผู้ชายซึ่งมีสภาพจิตไม่ปกติร้องเพลงเปาบุ้นจิ้น
2. Crisis ไม่มีข้อดีอยู่เลย
แม้ว่าจะไม่มีคนปกติคนไหนต้องการให้เกิด Crisis กับองค์กรของตน แต่เมื่อเกิด Crisis ขึ้นแล้ว ก็จงแก้ไขมัน หรือใช้วิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส เช่น แสดงความสามารถในการแก้ปัญหาให้ผู้ที่จับตามองไว้วางใจบริษัท ผู้ที่จับตามองนี้สามารถหมายถึง ลูกค้า ผู้ใช้บริการ ตลอดจนผู้ถือหุ้น โดยส่วนตัวของ สว อิเฎลเอง เคยเป็นศิษย์วัดญาณเวศกวัน และได้อ่านหนังสือที่พระพรหมคุณาภรณ์ ได้เขียนไว้ กล่าวคือ อย่ามองว่าการมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับพระสงฆ์ จะเป็นเรื่องไม่ดีเสมอไป เพราะเมื่อมีข่าวไม่ดีออกมาตามสื่อต่าง ๆ แล้ว ก็จะมีวิธีการดำเนินการแก้ไขตามมา แต่ในทางกลับกัน ถ้าเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น แต่ไม่มีสื่อนำไปเผยแพร่ เรื่องไม่ดีก็จะไม่ได้รับการแก้ไข

3. ควรหาตัวคนผิดและคนรับผิดชอบ
นิสัยคนทั่วไป เมื่อเกิด Crisis ขึ้นก็จะมองหาว่าใครเป็นคนทำ และเจ้าคนทำควรจะรับผิดชอบ แต่จริง ๆ แล้ว สิ่งที่ควรทำหลังจากเกิด Crisis คือ หาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด โดยเริ่มมองจากความจริงที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาโจรภาคใต้ หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าใครอยู่เบื้องหลัง และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ความเป็นจริงคือ มีคนตาย และคนตายคือผู้บริสุทธิ์, อีกหนึ่งตัวอย่างที่ สว อิเฎล คิดต่างจากคนเล่า Social Network: Facebook คือ เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ที่คนใน Social Network หรือสังคม online มักจะโยนความผิดไปมาให้กับฝ่ายที่ตนไม่ชอบ บ้างว่าเป็นฝีมือของรัฐบาลชุดยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บ้างว่าเป็นฝีมือของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ความเป็นจริงที่ทราบกันโดยไม่ต้องถกเถียงคือ รัฐบาลทราบว่าเวลานั้นต้องปล่อยน้ำ และน้ำจะท่วมแน่ ๆ เมื่อ Crisis เกิดขึ้นแล้วก็ไม่ควรให้เหตุการณ์บานปลายโดยปล่อยให้ท่วมกรุงเทพและเขตอุตสาหกรรม
4. องค์กรพยายามใช้สารที่เอาใจผู้ถือหุ้น
เมื่อเกิด Crisis ขึ้น องค์กรมักใช้สารที่เอาใจผู้ถือหุ้น และลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการให้สัมภาษณ์ หรือการทำจดหมาย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ควรใช้ข้อความหรือพูดถึงสิ่งที่ผู้ถือหุ้นและลูกค้าสนใจ หรือต้องการทราบมากกว่า
5. การมีกฎองค์กรที่แน่นอน จะลดการเกิด Crisis
การมีกฎที่แน่นอนอาจจริงในบางกรณี แต่การที่กฎเกณฑ์สามารถยืดหยุ่นได้ จะทำให้เมื่อเกิด Crisis แล้ว สามารถแก้ไข Crisis ได้เร็วยิ่งขึ้น เหตุการณ์นี้ เห็นได้ชัดจากระบบราชการที่ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งเมื่อสถานที่ทำการถูกประชาชนยืดไว้ การทำงานและออกเอกสารราชการต่าง ๆ ล้วนแต่ทำได้ช้าลง, ส่วนอีกเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันคือการล่มสถายของกล้อมฟิลม์ยุคเก่าของ Codak
6. การเตรียมรับมือกับ Crisis เป็นการเตรียมการที่ดีที่สุด
แม้ว่าการเตรียมรับมือกับ Crisis เป็นการเตรียมการที่ดีที่สุดก็ตาม แต่สิ่งที่ดีกว่านั้นคือ การป้องกันไม่ให้เกิด Crisis อย่างที่พวกเราเคยชินกับการซ้อมหนีไฟของบริษัท หรือมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่ดีกว่าการเตรียมพร้อมนั้น คือ การป้องกันไม่ให้เกิด Crisis ในตัวอย่างนี้คือ มหาวิทยาลัยควรเข้มงวดกับการห้ามปรามมิให้นักศึกษาสูบบุหรี่ในอาคารเรียน มิใช่มีเพียงป้าย ว่าปรับเงิน หรือปรับตกทุกวิชา แต่ต้องมีการดำเนินการจริง

7. อย่าทำเป็นสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและประชาชนมากเกินไป
เมื่อเกิด Crisis องค์กรมักจะกลัวว่าผู้ถือหุ้นจะทิ้งหุ้นของตนเอง และหนีไปลงทุนในบริษัทอื่น ดังนั้นองค์กรจึงจะพูดเพื่อให้ผู้ถือหุ้นเกิดความมั่นใจ ซึ่งบางครั้งการกระทำให้ผู้ถือหุ้น-ลูกค้า-ประชาชนเกิดความมั่นใจมากเกินไป อาจทำให้คนสงสัย หรือถ้าพวกเขาเชื่อมั่นและเกิดอะไรไม่ดีตามมาภายหลัง องค์กรจะยิ่งเสียภาพลักษณ์ ในข้อนี้ สว อิเฎลขอยกตัวอย่างเหตุการณ์น้ำมันรั่วของบริษัท ปตท. ซึ่งหลังจากน้ำมันรั่วไม่ถึงปี นักวิจัยได้พิสูจน์ว่าการทำความสำอาจและสิ่งแวดล้อมปลอดภัยแล้ว ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่อื่น ๆ ของโลก ใช้เวลากว่า 15-20 ปี กว่าอาหารที่ได้จากการประมงค์จะปลอดภัยจากสารพิษ (ข่าวจากหนังสือพิมพ์ Post Today วันที่ 7 มีนาคม 2557)
8. อย่าปิดกั้น หรือไม่ให้ข้อมูลกับสื่อ
เมื่อมีนักข่าวมาสัมภาษณ์เมื่อองค์กรเกิด Crisis อย่าเอาแต่หลบนักข่าว หรือไม่ให้สัมภาษณ์ เพราะการไม่ใช้สัมภาษณ์ หรือที่เรียกว่า “stonewall” กำแพงหินนี้ จะยิ่งทำให้สาธารณะชนคาดเดาเหตุณ์การไปต่าง ๆ นานา และส่วนใหญ่จะเป็นแง่ร้าย ทางที่ดีองค์กรควรออกมาพูดในสิ่งที่ตนเองรู้ และยอมรับว่าตนไม่รู้อะไร และจะขวนขวายหาข้อมูลที่ไม่รู้เพิ่มเติม
9. องค์กรพยายามรักษาภาพลักษณ์
เมื่อ Crisis เกิดขึ้น องค์กรมักจะพยายามรักษาภาพลักษณ์ ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงภาพลักษณ์ ณ เวลานั้น ไม่ค่อยมีให้รักษา ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ ควรแสดงความรับผิดชอบ และแก้ไขปัญหา และเรียนรู้ให้มากที่สุดเกี่ยวกับ Crisis นั้น ๆ
10. การเฉไฉให้ดูดี
การโกหกเฉไฉให้องค์กรดูดี จะยิ่งมีผลเสียถ้าสาธารณะชนหรือผู้ถือหุ้นทราบความจริง เช่น การทำความสะอาดชายทะเลหลังจากที่ ปตท. ทำน้ำมันรั่ว แม้ว่าสื่อเคยออกข่าวไปแล้วว่าทะเลบริเวณดังกล่าวได้รับการทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว แต่ข่าวที่ตามมาคือ ยังมีคราบน้ำมันถูกพัดไปยังชายหาดอื่น

คำถาม: จากภาพยนตร์เรื่อง Batman: The Dark Knight (2008) นักศึกษายกตัวอย่างเหตุการณ์ ว่ามีการเข้าใจแนวคิดผิดเกี่ยวกับวิกฤตอย่างไรบ้าง
บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร และโมเดล
♦ ทฤษฎีการพิจารณาก่อนเชื่อ Elaboration Likelihood Theory และทฤษฎีแรงจูงใจ
♦ โมเดลแสดงแบบแผนระบบการคิด Heuristic-Systematic Model
♦ ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory
♦ ทฤษฎีปัญหาและทฤษฎีการบูรณาการ Problematic-Integration Theory
♦ ความไม่แน่ใจ หลังจากเกิดวิกฤต Crisis
♦ นิยายธรรมนิเทศศาสตร์ เรื่อง “ไอ้ปื๊ด” โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
♦ การเข้าใจแนวคิดผิด ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต (Misconceptions of Crisis Communication)
Like this:
Like Loading...