Category Archives: Eng2

ตำแหน่งหน้าที่ในผังองค์กร

Functional Positions in an Organization Chart
เขียนโดยผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 13, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Preface

มีคำถามว่า ระหว่างตำแหน่งหน้าที่บางอย่าง ตำแหน่งไหนสูงกว่ากัน เช่น The chief executive officer (CEO) & the president และระหว่างตำแหน่ง The Director & the Vice president (VP) โพสนี้อาจาราย์พราวจะอธิบายเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่การงานตามลำดับขั้น ที่องค์กรทั่วไปนิยมใช้กัน

There is a question that which functional position is higher such as the chief executive officer (CEO) & the president; and the director & the vice president (VP). Lect. Proud will describe about these functional positions according to normal hierarchical organization.

ตำแหน่งหน้าที่ในองค์กร
The Positions in an Organization

อาจารย์พราวอาศัยผังการจัดองค์กรทั่วไปที่หลายบริษัทวางผังกัน โดยมีลำดับ 9 ขั้นตอนได้แก่
Lect. Proud refers to general organization that many companies normally use it.

(1) Board of Directors; (2) Committees (3) The chief executive officer (CEO); (4) The President; (5) Managing Director; (6) Executive Vice President; (7) Senior Vice President or Vice President; (8) Manager; และ (9) Staff level

12 Relationships of Public Relations

1. Board of Directors

อาจารย์พราว หมายถึง คณะกรรมการบริหาร เป็นกลุ่มคนที่อยู่สูงสุดขององค์กร เพราะเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือเจ้าของบริษัทนั่นเอง
Lect. Proud refers Board of Directors to the people group on the top hierarchy of an organization. They are the represents of shareholders.

2. Committees

อาจารย์พราว หมายถึง คณะกรรมการ ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit committees); คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Enterprise risk committees) คณะกรรมการสหภาพแรงงาน (Union committees); คณะกรรมการบริหารค่าตอบแทน (Remuneration committees); และ คณะกรรการกำกับดูแลองค์กร (Corporate governance committees) เป็นต้น
Lect. Proud refers to many committees such as Audit committees who control the internal audit division/section. Therefore, the auditor team will directly report to the board of directors.

3. The chief executive officer (CEO)

อาจารย์พราว หมายถึง ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท และระดับรองลงมามักเป็นตำแหน่งประธานบริษัท
Lect. Proud refers to the highest-ranking officer, and the president is the second level in chain of command.
These are the related English language:
– the highest-ranking officer คือ ระดับสูงสุดในบริษัท
– the second level in chain of command คือ ระดับที่สองของสายการบังคับบัญชา

4. The President

อาจารย์พราว หมายถึงประธานบริษัท หลายบริษัทที่องค์กรขนาดกลาง ตำแหน่ง ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท และประธานบริษัท อาจเป็นคนเดียวกัน ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องคือ
The chief executive officer คือ ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท; The president คือ ประธานบริษัท
SME คือ ธุรกิจขนาดกลาง ย่อมาจาก Small and Medium sized Enterprise
Many SME companies, two of job titles are held by the same person which are the chief executive officer and the president.

5. Managing Director (MD)

อาจารย์พราว หมายถึงกรรมการผู้จัดการ ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจทั้งหมดขององค์กร
Lect. Proud means that MS is a person who direct and supervise all business operations in the business.
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
To direct คือ กำกับดูแล; To supervise คือ กำกับบริหาร; และ All business operations คือ การดำเนินธุรกิจทั้งหมด

12 Relationships of Public Relations

6. Executive Vice President

อาจารย์พราว หมายถึง รองประธานกรรมการบริหาร หน้าที่คล้าย แต่กำกับดูแลงานประจำวันมากกว่า อาจารย์พราวใช้คำว่า More than the day-to-day activities ตามนี้
Executive Vice President will be responsible for the job like Senior Vice President but much more that the day-to-day activities.

7. Senior Vice President (SVP) and Vice President (VP)

อาจารย์พราว หมายถึง รองประธานอาวุโส (SVP) และ รองประธาน (VP)
The senior vice president of a company is below Executive Vice President in the chain of command while an Executive Vice President is second or third level below from CEO & President.

8. Manager

อาจารย์พราว หมายถึง ผู้จัดการ มีหลายฝ่ายหลายแผนกหลายส่วน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Department, Division, Section ดังนี้
There are many managers in an organization either in the departments, divisions or sections.
Normally, section manager will report to division manager who is lower department manager.

9. Staff level

อาจารย์พราว หมายถึง พนักงานทั่วไป โดยปกติมีทุกฝ่าย ทุกแผนก ทุกส่วน อาจารย์เรียกว่า department staff, division staff and section staff ตัวอย่างเช่น
Because of several audit objectives, the internal audit department requires 3 qualified division staff.
– several audit objectives หมายถึง วัตถุประสงค์การตรวจสอบหลายข้อ
– the internal audit department หมายถึง ฝ่ายตรวจสอบภายใน
– 3 qualified division staff หมายถึง เจ้าหน้าที่แผนก หรือเจ้าหน้าที่ส่วนที่มีคุณสมบัติ 3 คน เป็นต้น

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

ผังการจัดองค์กร

The Organization Chart
เขียนโดยผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 13, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Preface

โพสนี้อาจารย์พราวต้องการให้คนที่กำลังศึกษา หรือกำลังจะจบการศึกษา หรือกำลังจะหางานทำในองค์กร หรือในบริษัทหนึ่ง ๆ ได้รู้และเข้าใจตำแหน่งงานต่าง ๆ ในองค์กร
For this post, its’ benefit to ones who are studying in a college or ones who are nearly finish their study or who are intending to find a job in any organization. Lect. Proud will tell about the functions in some essential positions.

Characteristics of Excellence PR

อาจารย์พราวจะยกตัวอย่างเพื่อใช้คำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่งานในองค์กร ได้แก่

Find a job คือหางาน; Apply a job คือสมัครงาน
Organization คือองค์กร; Chart or diagram คือผัง หรือแผนผัง; Organization chart คือผังการจัดองค์กร
Function คือหน้าที่การงาน การปฏิบัติงาน; Responsibility คือความรับผิดชอบในงาน
Department คือฝ่ายในองค์กร; Section คือส่วนหรือแผนกงานในองค์กร มักขึ้นกับฝ่าย
Public relations คือการประชาสัมพันธ์; แต่พอเติมคำว่า Officer ตามหลัง ก็จะกลายเป็นนักประชาสัมพันธ์; Relationships คือความสัมพันธ์

For the example:

Lect. Proud wants to apply a job in an organization. The function, lect. Proud loves to do is the Public relations officer, PR. This PR has many responsibilities and it is one of many sections which must report to the Marketing Department.

Organization Chart Definition
ความหมายของผังการจัดองค์กร

ในที่นี้อาจารย์พราวให้ความหมายของคำว่า ผังการจัดองค์กร คือ แผนผังแสดงโครงสร้างตำแหน่งงานต่างๆ ที่อยู่ตามสายการบังคับบัญชา โดยแยกตามลำดับขั้นจากสูงไปต่ำกว่า มีรูปร่างเหมือนทรงปิรามิด ซึ่งอาจมีหรือไม่มีชื่อพนักงานระบุอยู่ในตำแหน่งงานต่าง ๆ ก็ได้

Lect. Proud gives the definition of an organization chart as a chart presents the structure of an organization which ranking under the chain of command. The hierarchy an organization normally ranks as a pyramid shape. The chart consists with or without names in the positions.

Characteristics of Excellence PR

อาจารย์พราวขอแยกคำต่าง ๆ ข้างต้นออกมาเพื่อให้เห็นการใช้ภาษาอังกฤษที่สามารถใช้แทนได้ดังนี้

1. Definition
คือ ความหมาย อาจใช้คำว่า The organization chart definition หรือใช้ preposition of เข้ามาช่วยเป็น The definition of an organization chart เป็นต้น

2. The structure of an organization
คือ โครงสร้างขององค์กร มีหลายรูปแบบมาก ขึ้นกับปัจจัยหรือเหตุผลหลายอย่าง เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจขึ้นกับอีกฝ่ายหนึ่งในบริษัทหนึ่ง แต่อาจเป็นฝ่ายอิสระในอีกที่หนึ่ง ตัวอย่างเช่น
– ฝ่ายตรวจสอบ (Audit department) ขึ้นกับกรรมการผู้จัดการ (Managing director, MD)
– ฝ่ายตรวจสอบขึ้นกับคณะกรรมการบริษัท (Board of directors) เพื่อให้สามารถตรวจสอบกรรมการผู้จัดการได้ด้วย เนื่องจาก MD มีหน้าที่จัดการงานในบริษัทอยู่แล้ว

อาจารย์พราวเขียนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อตามตัวอย่างข้างต้น

There are many structures of an organization because of many reasons, many factors such as
The audit department may report to Managing director in one company but may report the board of director in other company.

3. The chain of command
คือ สายการบังคับบัญชา ตามลำดับขั้นหรือลำดับชั้นของผังการจัดองค์กร โดย
The chain of command หมายถึง สายการบังคับบัญชา
Hierarchy of the organization หมายถึง ลำดับขั้นขององค์กร
The positions คือ ตำแหน่งงานต่าง ๆ
อาจารย์พราวจะใช้ตัวอย่างฝ่ายตรวจสอบต่อกับคำภาษาอังกฤษข้อนี้ ดังนี้
The hierarchy of the organization presents the audit department must report to the board of director.

Leave a comment

Filed under Eng2, Everything_Okay

ประเภทของการประชาสัมพันธ์

Types of Public Relations
เขียนโดยผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 13, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Preface

โพสนี้อาจารย์จะพูดถึงประเภทของการประชาสัมพันธ์ (Types of Public relations) หลายบทที่อาจารย์พราวเขียนไว้ได้สอดแทรกประเภทของการประชาสัมพันธ์ไว้แล้ว ในที่นี้อาจารย์พราวจึงสรุปประเภท โดยดูจากกระบวนการการทำงาน (Processes or functions) ของการประชาสัมพันธ์ และหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities) ได้ 2ประเภท
Lect. Proud classifies the types of Public relations by its functions and responsibilities in to 2 types as follow:

7 Advantages of Public Relations

ประเภทของการประชาสัมพันธ์ 2 ประเภท
2 Types of Public relations

1. การประชาสัมพันธ์องค์การหรือบริษัท
(Corporate Public Relations, CPR)

การประชาสัมพันธ์องค์การหรือบริษัท คือกระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อสนับสนุน รักษา ภาพลักษณ์ขององค์กร รวมถึงการสร้างความเข้าใจที่ดีซึ่งกันและกัน ตลอดจนการสร้างชื่อเสียงที่ดีแก่องค์กร อาจารย์พราวจะแบ่งความหมายออกเป็นคำ ๆ ได้ดังนี้
กระบวนการการสื่อสารภายในองค์กร (The process of communication in an organization)
– เพื่อสร้างความเข้าใจในองค์กร (To create mutual understanding)
– เพื่อสนับสนุนในองค์กร (To support organization)
– เพื่อรักษาองค์กร (To maintain organization)
– เพื่อภาพลักษณ์ขององค์กร (To support organization’s image)
– สร้างชื่อเสียงที่ดีแก่องค์กร (To create reputation to the business)
– สร้างความเข้าใจที่ดีซึ่งกันและกัน
(To built the mutual understanding between employees themselves; and employees & employer)
ตัวอย่างการประชาสัมพันธ์องค์การหรือบริษัท (CPR) ตามที่อาจารย์พราวเคยได้พูดไว้ ได้แก่ ความสัมพันธ์กับรัฐบาล (Government relations) กับชุมชน (Community relations) กับผู้ถือหุ้น (Shareholders relations) กับสื่อและผู้ผลิตสื่อ (Media and media producer’s relations) เป็นต้น

2. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด

(Marketing Public Relations, MPR)

อาจารย์พราวได้พูดเกี่ยวกับผังการจัดองค์กร (Organization chart) ที่มีการประชาสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับฝ่ายการตลาด (Marketing department or function) ดังนั้น การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด ก็ถือว่าเข้าข่ายการจัดองค์กรแบบนี้ด้วย (PR report to Marketing department)

หน้าที่ของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด
The functions of Marketing Public Relations (MPR)

(1) สร้างแบรนด์ และช่วยให้ความรู้โดยตรงแก่ลูกค้า เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เพิ่มขึ้น
Lect. Proud can say that the MPR functions are brand building and giving educations about the products for more credible to consumers.
(2) เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
Lect. Proud see the cooperation from the MPR will help products launch.
(3) การบริการลูกค้า
Lect. Proud thinks that MPR creates customer service building.

7 Advantages of Public Relations

ประโยชน์ของการมี การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด
Advantages of using Marketing Public Relations (MPR)

(1) เพิ่มประสิทธิผลการทำงานของฝ่ายการตลาดให้บรรลุวัตถุประสงค์
Lect. Proud means about effective actions to reach the market objectives.
(2) ช่วยให้ลดข้อขัดแย้งระหว่าง 2 ฝ่าย ในกรณีที่ PR ไม่ได้ขึ้นกับการตลาด
Lect. Proud means this can reduce the conflict between 2 functions.
(3) สร้างความเชื่อมั่นให้ภายนอกเพิ่มขึ้น
Lect. Proud means that the corporate brand help will increase more credible.

การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดแบ่งตามลักษณะงานได้ 2 ประเภท คือ

Lect. Proud will tell more about Proactive Marketing Public Relations and Reactive Marketing Public Relations, later. However, Lect. Proud will tell in short meaning that Proactive MPR will create or control the issues may be incurred while Reactive MPR will respond it after happened.

1.การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive Marketing Public Relations)

อาจารย์จะลงรายละเอียด เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในบทอื่น Proactive MPR มีหน้าที่ ต้องให้ความสำคัญด้านการตลาดของบริษัท และมุ่งทำหน้าที่ PR เชิงรุกมากกว่ารับ

2. การประชาสัมพันธ์เชิงตอบโต้ (Reactive Marketing Public Relations)

เช่นกัน อาจารย์จะลงรายละเอียด เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เชิงตอบโต้ในบทอื่น เป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อตอบสนองหรือโต้ตอบสิ่งที่เกิดขึ้น

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

2 คำที่ความหมายเดียวกัน แต่คนไทยและอเมริกันเรียกต่างกัน

อาจารย์พราว เคยไปเรียนต่างประเทศก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ ถ้าถามถึงคนที่พูดภาษาไทย และให้ไปที่อเมริกา ก็จะไม่ค่อยรู้สึกแปลกกับภาษาที่เคยพูด ลองคิดสิ มันแตกต่างนะ ตอนที่กลับมาไทย และพบว่า ภาษาอังกฤษในไทยมันไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่นั่น วันนี้อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช จึงจะมายกตัวอย่างคำที่พบว่า คนอเมริกัน กับคนไทย พยายามสื่อถึงสิ่งเดียวกัน แต่พอดีใช้กันคนละคำ

โพสนี้เขียนโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). 2 คำที่ความหมายเดียวกัน แต่คนไทยและอเมริกันเรียกต่างกัน. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/10/13/synonyms/

Drawing Tablet และ Mouse Pen

ถ้าใครได้ไปเรียนวิชาที่ต้องวาดภาพในคอมพิวเตอร์ ยุคก่อนปัจจุบันที่มี Touchscreen เราก็จะซื้อ Drawing Tablet มาต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้วาดภาพ แต่เมื่ออาจารย์พราวมาอยู่กับนักศึกษาและเพื่อน ๆ ที่เป็นอาจารย์ในไทย ก็พบว่า เขาไม่เรียกอุปกรณ์นี้ว่า Drawing Tablet แต่เขาเรียกกันอย่างติดปากว่า Mouse Pen หรือ Mouse ปากกา ตอนแรกก็งง ๆ ว่ามันคืออะไรเหรอ มันไม่ต้องใช้ Tablet เหรอ แต่ใช้แค่ส่วนที่เป็นปากกา ก็วาดได้เหรอ ประมาณนั้น

Take a Screenshot และ Cap หน้าจอ

หลายครั้งที่อาจารย์พราวและคนทั่วไปใช้งานคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ และต้องการภาพหน้าจอ สมัยก่อน อาจารย์พราวเรียกว่าการกระทำนี้ว่า Take a Screenshot แต่เมื่อมาอยู่ที่ไทย และคุยกับคนที่เรียนด้านนิเทศศาสตร์ ก็ทราบว่า เขาเรียกขั้นตอนนี้ว่า Cap หน้าจอ นั่นเอง คำนี้ไม่งงเท่าไร ได้ยินครั้งแรกก็เข้าใจ

Text Me และ IB

ปกติอาจารย์พราวจะใช้คำว่า Text Me อาจหมายถึงส่งข้อความให้ฉันใน Facebook Messenger, Private Chate, หรือ ส่งข้อความ SMS ในโทรศัพท์ แต่เมื่อระยะหลัง ๆ ที่อาจารย์พราวค้นหาสินค้าที่ขายออนไลน์ ก็พบตัวย่อว่า IB ครั้งแรกที่เห็น ยอมรับว่าไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร จึงสืบค้นว่า What does IB stand for? หมายถึง IB นี่มันมาจากคำว่าอะไรกัน และก็พบว่า มันเป็นตัวย่อของสถานศึกษา เป็นชื่อย่อของวงดนตรี หาไปเรื่อย ๆ ไม่มีอันไหน make sense เลย ท้ายที่สุด ดูเว็บภาษาไทยดีกว่า จึงรู้ว่าคนไทยย่อเอง จากคำว่า Inbox

Internet Celebrity, Cyberstar, Influencer, และ Net Idol

เดิมทีอาจารย์พราวเรียกแบบ 3 คำแรก บางครั้งคนเราก็ชอบหาดูรูปคนหน้าตาดี เมื่อคิด ๆ ก็ตลกความไร้สาระของตนเอง เมื่อก่อน อาจารย์พราวเคยชอบเพลง Emo และก็หาดูรูป Emo Kids ที่มีชื่อเสียงใน Social Network ตอนนั้นอยู่ออสเตรเลีย จริง ๆ Sydney เป็นสถานที่ที่ทำให้อินกับความเป็นอีโมมาก ๆ เลยนะ พอมายุคหลัง ๆ ที่ประเทศไทย คนเรียกบุคคลมีชื่อเสียงในโลกออนไลน์เหล่านี้ว่า Net Idol เมื่อลองสืบค้นดู อ๋อ! คำนี้มันมาจากวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกนั่นเอง

US และ America

USA ย่อมาจากคำว่า The United States of America ซึ่งโดยทั่วไปคนอเมริกันจะเรียกประเทศตนเองว่า US แต่คนไทยมักจะเรียกว่า America เวลาอาจารย์พราวให้นักศึกษาเขียนเรียงความหรือประโยค และมีการพูดถึงประเทศนี้ นักศึกษาก็จะเขียนว่า America มาส่ง จริง ๆ ก็ไม่ได้ผิด เพียงแค่เราไม่ค่อยคุ้นเคยเท่านั้นเอง เวลาอยู่ในประโยคภาษาอังกฤษ น่าจะเป็นคำว่า US นะ แต่ถ้าในภาษาไทย ก็น่าจะเขียนว่า อเมริกา นะ เรารู้สึกคุ้นแบบนี้ สมัยที่อาจารย์พราวอยู่อเมริกา มีคนบอกว่า คนที่จะเรียกชื่อประเทศเต็ม ๆ The United States of America มักจะเป็นพวกภูมิใจในชาติตนเองมากกว่าคนทั่วไป

Fans และ Fan Club

2 คำนี้เป็นสิ่งที่อาจารย์พราว งง มาก ๆ โดยปกติ คำว่า Fans ควรจะถูกแปลว่า แฟน ๆ คือมีแฟนของสื่อบันเทิงหลายคน แต่เมื่ออาจารย์พราวเขียนบทความไปส่งตีพิมพ์ ก็มีคนทักท้วงมาว่า คนไทยจะเรียก Fans ว่า แฟนคลับ นะ ซึ่งครั้งแรก อาจารย์พราวคิดว่าเขาแนะนำผิดแน่ ๆ เลยลองสืบค้นดู และก็พบว่า คนไทยเรียก คนคนหนึ่งที่เป็นแฟนของสื่อบันเทิงว่า แฟนคลับ หรือ ติ่ง คำนี้ทำให้งงจริง ๆ เพราะคำว่า Fan Club มันควรจะมาเป็น Club สิ แบบว่า มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มคน มีผู้นำกลุ่ม เป็นทางการนิด ๆ อาจมีอำนาจเชิญศิลปินที่ชอบมาพบใน Event สำคัญ ประมาณนั้น นั่นคือคำว่า Fan Club ที่อาจารย์พราวเคยเข้าใจ

จริง ๆ อาจารย์พราวไม่อยากบอกว่าอะไรผิด หรืออะไรถูก เพราะคนเราก็ต้องปรับภาษาและคำพูดเพื่อให้คนที่เราอยู่ร่วมด้วยเข้าใจได้ดีที่สุด วันนี้ อยากให้นักศึกษายกตัวอย่างภาษาอังกฤษ 2 คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่นิยมถูกเรียกจากคนต่างกลุ่ม ตอบอย่าซ้ำกับตัวอย่างของอาจารย์ และเพื่อน ๆ ที่ตอบก่อนหน้า

ตัวอย่างคำตอบ
วรวิทย์ 012 ต่างชาติเรียกความเงียบสุด ๆ ในฉากภาพยนตร์ว่า Silence แต่ ม. เราเรียกว่า Dead Air

1 Comment

Filed under Eng2, Uncategorized

คำพ้องรูป ภาษาอังกฤษ ที่ต่างความหมายในต่างกันมีเยอะนะ

คำพ้องรูป ต่างความหมายในต่าง context มีเยอะนะ และอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ก็เคยเจอสิ่งที่ทำให้เราพูดกับคนอื่นและเข้าใจเป็นคนละความหมาย งั้นจะบอกเล่าประสบการณ์ที่เคยพบมา

โพสนี้เขียนโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). คำพ้องรูป ภาษาอังกฤษ ที่ต่างความหมายในต่างกันมีเยอะนะ. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/10/13/nym/

Language

ก่อนที่จะกลายมาเป็นอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช หรือปัจจุบันที่เป็น ผศ.ดร.พราว อรุณรังสีเวช เคยเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์มา ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Architecture อ่านว่า อาคิเทคเชอร์ นะ ไม่ใช่ อาชิฯ

ตอนนั้น สิ่งที่อาจารย์พราวถนัดมากคือ การทำให้ The whole model speaks the same language. หมายความว่า ทั้งโมเดลจะพูดภาษาเดียวกัน คำว่า Language นั้น หมายถึง ทั้ง Structure, Facade, Appearance ทั้งหมด จะต้องเป็นไปในทำน้องเดียวกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มิใช่ว่างานออกแบบดูแล้วเหมือนเอาส่วนต่าง ๆ ของงานคนละชิ้นมาแปะกันมั่ว ๆ

คำว่า Language นั้นเป็นคำที่มีความหมายเฉพาะในงานสถาปัตยกรรม แตกต่างจากความหมายของคำว่า Language ในงานด้านอื่น ๆ พอกลับมาที่ไทย อาจารย์พราว พยายามไปสมัครเรียนปริญญาเอกภาคภาษาไทย กับมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง อาจารย์ที่นั่นแนะนำให้ไปศึกษา Language เกี่ยวกับนิเทศศาสตร์ กลายเป็นเน้นว่า ภาษาเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งทำให้เราเข้าใจคำเดียวกันในอีกความหมายหนึ่ง

Structure

ย้อนกลับไปคำว่า Structure ซึ่งครั้นเมื่อ อาจารย์พราวเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ มันแปลว่าโครงสร้างอาคาร แต่เมื่อได้มาทำงานวิจัย หรือ Research Studies ในช่วงหลัง ๆ นี้ก็พบว่า ตนเองมักจะกล่าวถึง Social structure เพราะมักเขียนเรื่องความเท่าเทียมกัน Equality การเหยียดหรือการดูหมิ่น Discrimination เป็นต้น

Architect

จากที่บอกไปว่าอาจารย์พราวเคยเรียนปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์ ดังนั้นคำว่า Architect ก็ต้องแปลว่า สถาปนิก คนออกแบบอาคาร และงานสถาปัตยกรรม แต่เมื่ออาจารย์พราวได้สอนนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จึงได้ทราบจากนักศึกษาว่า Architect ในสายงานของพวกเขาคือ นักเขียนโปรแกรมที่สามารถออกแบบโครงสร้างของโปรแกรมได้ เก่งว่านักเขียนโปรแกรมทั่ว ๆ ไป

Out

อาจารย์พราวยังพบตัวอย่างที่ไม่ค่อยวิชาการมากนัก อาจารย์พราวเป็นแฟนเพลงวงดนตรีหลายวง ถ้าอยู่ดี ๆ ศิลปินประกาศว่า Album ของเขา Out หรือ Out Now นั่นหมายความว่า Album ออกมาแล้ว สามารถซื้อได้ทั้งออนไลน์หรือซื้อแผ่นจริง ๆ เมื่อเมื่อยุคหลัง ๆ ในประเทศไทย มักมีการใช้คำนี้บ่อย กลายเป็นว่า Out แปลว่า เชยแล้ว มาจากคำว่า Outdated ไม่ก็ Out-of-date ซึ่งความหมายของอเมริกากับไทยต่างกันแทบจะตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ที่อเมริกา คำนี้มีความหมายดี แสดงว่า Album พึ่งออกวางขาย สดใหม่ แต่ในไทย กลับแปลว่า เชย ถ้างั้นอาจารย์พราวจึงไม่ขอใช้คำนี้ในไทยนะ เดี๋ยวจะสับสนในตัวเอง

Stop Motion

สมัยที่อาจารย์พราวเรียนปริญญาโท ได้มีโอกาสเรียนการทำ Animation แบบ Frame-by-frame หมายถึงนั่งวาทีละ Frame เป็นงานแอนิเมชัน 2 มิติ หรือ 2D Animation นั่นเอง และเมื่อเรียนปริญญาเอก ก็ได้แอบไปนั่งเรียนกับวิชาที่ตนเองไม่ได้ลงทะเบียน เป็นวิชาประวัติศาสตร์แอนิเมชัน (History of Animation) ตอนนั้น เราเข้าใจเลยนะว่า Stop Motion แปลว่า การทำแอนิเมชันจากภาพถ่าย ค่อย ๆ จับตุ๊กตา หรือตัวดินน้ำมันให้ขยับ ๆ ไปเรื่อย ๆ แต่แล้วอาจารย์พราว ก็กลับมาสอนแอนิเมชันที่ไทย และพบว่า ผู้สอนคนอื่น ๆ รวมถึงนักศึกษาที่เรารู้จักรุ่นแรก เรียก Frame-by-frame Animation ว่า Stop Motion

Dead Air

คำว่า Dead Air เป็นเป็นอีกคำว่าอาจารย์พราวสงสัย ช่วงหลัง ๆ อาจารย์พราวได้มาให้คำแนะนำแก่นักศึกษาที่่ทำงานภาพยนตร์ เวลานักศึกษาลืมใส่เสียง Score หรือ Soundtrack ในช่วงที่ไม่มีบทพูด นักศึกษาและเพื่อน ๆ ของอาจารย์พราวจะเรียกช่วงเงียบ ๆ ช่วงนั้นว่า Dead Air ซึ่งต่างจากที่เคยทราบมา อาจารย์พราว คิดว่า น่าจะเรียกช่วงเงียบ ๆ เหล่านั้นว่า Silence มากกว่า เพราะเข้าใจว่า Dead Air คือ การที่รายการโทรทัศน์ หรือ วิทยุ ขาดช่วง เงียบไปเฉย ๆ ไม่ก็ภาพในจอหายไปเฉย ๆ

TV Show

อาจารย์พราว ชอบดู Series บางเรื่อง และมักจะเรียก TV Series เหล่านั้นว่า TV Show จนติดปาก แต่เมื่อได้มาสอนนักศึกษาในสาขาวิทยุโทรทัศน์รุ่นหนึ่ง อาจารย์พราวพยายามสั่งงานให้ทำ TV Show เวลานั้นคิดว่า เขาจะทำ TV Series ไม่ก็ TV Serials แต่กลายเป็นว่า พวกเขาเข้าใจว่า เป็นการทำ Game Show หรือ สารคดีให้ความรู้

TV Series

นี่ก็เป็นอีกคำที่อาจารย์พราว และนักศึกษากับเพื่อน ๆ ชาวไทยเข้าใจไม่ตรงกัน คนที่เข้าใจตรงกันก็มีนะ แต่หายากมาก อิอิ TV Series ที่อาจารย์พราวเคยเข้าใจคือ ภาพยนตร์โทรทัศน์ที่มีเรื่องราวจบในตอนของมัน แต่ใช้ตัวละครเดิมต่อไปจนจบทั้ง Season ลองคิดถึง TV Series ประเภท Crime Drama ซึ่งแต่ละตอน ผู้สืบคดีจะเจอคดีที่ต่างกันออกไป และมีเรื่องราวที่จบภายในตอนเดียวกัน แต่แล้ว เมื่ออาจารย์พราวมาพูดกับคนอื่น ๆ เขาเข้าใจว่า TV Series ไม่จำเป็นต้องจบในตอน หากแต่สามารถต่อเนื่อง ลากยาว ไปจบทีเดียวที่ท้ายเรื่องหลังจากรับชมไปแล้ว 2 เดือน เป็นต้น

Slash

เดิมที อาจารย์พราวชอบดูหนัง ฆ่า เชือด ที่เรียกว่า Slasher Film เมื่อได้ยินคำว่า Slash ก็คิดถึงการเชือด แต่ก็ลืมคิดไปว่า มันคือเครื่องหมาย ทับ หรือ / บนแป้นคีย์บอร์ดนั่นเอง ในเวลาต่อมา อาจารย์พราวไปสืบค้นแฟนอาร์ท Fan Art ชายรักชาย ที่คนไทยเราคุ้น ๆ คำว่า การ์ตูนวาย การสร้างงานโดยแฟน ๆ แนวนี้เรียกว่า Slash ซึ่งมาจากเครื่องหมาย / ระหว่างชื่อผู้ชาย 2 คน อย่าง Kirk/Spock เป็นต้น แสดงว่าคำนี้ Slash มีถึง 3 ความหมายที่อาจารย์พราวได้พบมาในชีวิต

Facebook Fan Page

สมัยก่อนอาจารย์พราวเป็นแฟนของวงดนตรีจำพวก Punk และ Metal หากวงดนตรีไหนหรือศิลปินคนไหนไม่มี Official Page ที่ตนเองสร้างเองใน MySpace หรือ Facebook อาจารย์พราวหรือแฟน ๆ คนอื่น ๆ ก็จะสร้าง Fan Page ให้ เช่น Mushroomhead Fan Page เป็นต้น แต่เมื่อมาใช้ Facebook กับร้านค้าไทย ร้านค้าก็ตั้งชื่อเพจ เป็นชื่อ Brand ของตนเองและตามด้วยคำว่า Fan Page ซึ่งจริง ๆ แล้ว อาจารย์พราว รู้สึกว่า เขาควรจะตั้งชื่อโดยมีคำว่า Official Page มากกว่า แต่เขาคงจะพยายามสื่อว่า เขาตั้งเพจมาเพื่อแฟน ๆ

อยากให้นักศึกษาลองคิดถึงคำภาษาอังกฤษอะไรก็ได้ ที่เป็นคำเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน เมื่อเรานำไปใช้ในสถานที่ที่ต่างกัน ตอบมา 1 คำเท่านั้น ห้ามซ้ำกับของอาจารย์ และของเพื่อน ๆ ที่ตอบไปก่อนหน้า
ตัวอย่างคำตอบ
วิทย์วรา 016 คำว่า Mother แปลว่าแม่จริง ๆ หรือมารดา แต่ที่โรงเรียนคริสต์ แปลว่านักบวชผู้หญิงที่อาวุโส

92 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

7 เคล็ดลับ ในการได้งานการประชาสัมพันธ์

7 Tips to get a Job in PR
เขียนโดยผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 12, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Preface

อาจารย์พราวกล่าวไว้ในบทความส่วนอื่นแล้วเกี่ยวกับ การประชาสัมพันธ์ (Public Relations, PR) อาจารย์พราวคิดว่าพอหลายคนรู้บทบาท (Roles) หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities) ความสำคัญ (How important?) ของ PR แล้วว่า เป็นกระบวนการสื่อสารที่สำคัญขององค์กร (A strategic communication process) เพื่อรักษาภาพลักษณ์ หรือสร้างภาพให้ดีขึ้น (Build the organization image) โดยยึดถือพื้นฐานแห่งความจริง (Base of fact, truth or real story) ไม่ใช่การโฆษณาเหลือเชื่อ (False advertising)

ตอนนี้ถ้าใครอยากสมัครงานเพื่องานประชาสัมพันธ์ (Apply a job in PR) อาจารย์พราวอยากฝากเคล็ดลับ 7 ข้อ ในการได้งานการประชาสัมพันธ์ดังนี้

7 เคล็ดลับในการสมัครงาน PR

1. ความสมบูรณ์ถูกต้องของเอกสารของผู้สมัคร
The completeness of applicant’s document

อาจารย์พราวแนะนำให้เตรียมเอกสารให้พร้อม ควรมีสำเนาไว้ด้วย ต้องสมบูรณ์ ถูกต้อง และเช็คเรื่องข้อมูลการติดต่อ เช่น email address, เบอร์โทรและบุคคลที่ติดต่อได้ (Telephone number and contact person) เพื่อไม่ให้คนรับหรือคนอ่านเสียเวลาได้ (Don’t waste the reader’s time or the recipient’s time)
Lect. Proud recommends reviewing and proofreading the completeness of the whole applicant’s document.

7 Advantages of Public Relations

2. อ่านข้อมูลต่าง ๆ ในใบสมัครให้ถี่ถ้วน ถูกต้อง ครบถ้วน
Read the instructions in the application form carefully

ปกติอาจารย์พราวจะอ่านคำสั่ง (Instructions) คำแนะนำต่างๆ (Recommendation) ในใบสมัคร (Application form) อย่างรอบคอบ (Carefully) เพื่อป้องกันความผิดพลาด ความซ้ำ และการลบในแบบฟอร์ม ถ้าเป็นการสมัคร Online ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาลบข้อมูลไปมา
Lect. Proud recommends the applicant to read the instructions in the application form carefully to prevent any mistake, any repeating information in filling the form out and don’t waste any time.)

3. เติมแบบฟอร์มสมัครงานให้เต็ม
Full filling in the application form

ไม่ว่าการสมัครงานใด ๆ อาจารย์พราวจะแนะนำเหมือนกันคือ ให้กรอกแบบฟอร์มสมัครงานให้ครบถ้วน อย่าให้มีที่ว่าง (Avoid leaving blanks in the form) และอย่าให้เกิดคำถามกับผู้อ่าน (Don’t leave out questions)
Lect. Proud suggests that every job application, the applicant must avoid leaving blanks in the application form and don’t let the reader have any question.

4. ใส่เงินเดือนที่ต้องการเป็นช่วง หรือกรอกว่า “ต่อรองได้”
Give a range of Salary or stated “negotiable”

อาจารย์พราวแนะว่า ในใบสมัครงาน ควรกรอกช่วงเงินเดือน หรือ เว้นช่องเงินเดือน และพูดต้องสัมภาษณ์ได้

7 Advantages of Public Relations

5. เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
Well prepared for interview in common or general questions

อาจารย์พราวแนะให้เตรียมตอบคำถามพื้นฐานทั่วไปที่น่าจะถูกสัมภาษณ์ เช่น
– ทำไมถึงต้องการมาสมัครงานที่นี่ Why do you want to apply job, here?
-ทำไมถึงสนใจงานนี้ Why are you interest in this job?

6. เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับงานที่สมัคร
Well prepared for in depth interviews or depth questions.

อาจารย์พราวแนะให้เตรียมตอบคำถามเชิงลึก (Depth interviews) เช่น ลักษณะงานการประชาสัมพันธ์ (Public relations responsibilities) และประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากผู้สมัคร (The applicant can offer to the company)

7. จำลองการสัมภาษณ์
Mock interviews

อาจารย์พราวอยากให้ลองจำลองการสัมภาษณ์ และฝึกพูด ฝึกท่าทางด้วยความมั่นใจ
Lect. Proud instructs here that applicant can do mock interviews and practice speaking voice and body language for positive impression with confidence.

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

7ข้อ ประโยชน์หรือข้อดีที่มีการประชาสัมพันธ์

7 Advantages of Public Relations
เขียนโดยผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 12, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Preface

อาจารย์พราวคิดว่าทุกคนได้รู้ความหมายของ การประชาสัมพันธ์แล้วว่า เป็นกระบวนการสื่อสารที่สำคัญขององค์กร (A strategic communication process) เพื่อรักษาภาพลักษณ์ หรือสร้างภาพให้ดีขึ้น (Build the organization image) โดยยึดถือพื้นฐานแห่งความจริง (Base of fact, truth or real story) ไม่ใช่การโฆษณาเหลือเชื่อ (False advertising)

7 Advantages of Public Relations

ประโยชน์หรือข้อดี 7 ข้อที่มีการประชาสัมพันธ์
7 Advantages of Public Relations

บทความนี้อาจารย์พราวจะพูดถึงข้อดีที่องค์กรจะได้จากการประชาสัมพันธ์ (Advantages of Public Relations) อย่างน้อย 7ข้อ โดยประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีผลแค่ระยะสั้น ๆ แต่มีผลดีต่อองค์กรไปนาน (Short term and long term advantages of Public Relations) แม้บางบริษัทที่เลิกกิจการ (Company goes out of business) ก็ยังมีผลต่อชื่อเสียงของบริษัทอยู่เช่นกัน
Lect. Proud will say that a company can take the Public Relations’ advantages not only short term but also long term to the company even such company will go out of business.

1. ความเข้าใจซึ่งกันและกัน (Mutual Understanding)
อาจารย์พราวเห็นประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์ช่วยสื่อสารให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ระหว่างองค์กรกับคนภายใน และภายนอกองค์กร (Lect. Proud see the mutual understanding happened between business and its people or the insiders and the outsiders)

2. รักษาและสร้างชื่อเสียง (Maintains and create or build company reputation)
Public Relations professionals help a business a positive reputation.

3. รักษาภาพลักษณ์ (Maintains Image)
อาจารย์พราวเชื่อว่าการประชาสัมพันธ์สามารถสร้างภาพลักษณ์แบรนด์สินค้าของบริษัท สร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจ (Business’ credibility) และตัวสินค้าด้วย (Brand’s credibility)
Lect. Proud believes that PR can build the business brand image and PR also gives credibility to its business including brand’s credibility.

จี้พระหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดศาลพันท้ายนรสิงห์

4. ป้องกันผลกระทบจาก การเมือง และฝ่ายตรงข้าม
Lect. Proud means that PR is a tool to protect the Attacks from politics, target market and the opposition.

5. PR ช่วยให้ความรู้ผู้คน (Educate people)
อาจารย์พราวคิดว่าการใช้ PR ให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนทั่วไปที่ตรงจุดตามที่องค์กรต้องการได้ (Help people understand a point of view)

6. PR ทำให้คนรัก และทำงานดีขึ้นได้
Lect. Proud see that PR can help people love Life and work better.

7. PR เป็นเสมือนที่ปรึกษาให้คนในองค์กร และองค์กรเอง
อาจารย์พราวมาถึงข้อสุดท้ายของข้อดีที่มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เห็นว่า PR ยังสามารถเป็นที่ปรึกษาได้ดีให้ฝ่ายบริหาร ทุกคน ทุกฝ่ายในองค์กร
Let’s see that Public Relations professionals can act as a counselor has a counseling skill to help people in the business.

Leave a comment

Filed under Eng2, Everything_Okay

ความสัมพันธ์ 12 ประเภทของการประชาสัมพันธ์

12 Relationships of Public Relations
เขียนโดยผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 12, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Preface

โพสนี้อาจารย์พราว จะพูดถึงประเภทของการประชาสัมพันธ์ โดย อาจารย์พราว ได้เคยพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง การประชาสัมพันธ์ กับการตลาด (The relationships between Public Relations and Marketing) และอาจารย์พราว ก็ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการประชาสัมพันธ์ กับการโฆษณาแล้ว (The relationships between Public Relations and Advertising) มาบทนี้อาจารย์พราวจะขยายความสัมพันธ์ของ การประชาสัมพันธ์ตามประเภทต่าง ๆ รวม 12ประเภท ดังนี้

This post, lect. Proud will extend the relationships between public relations and other people as below.

ความสัมพันธ์ 12 ประเภทของการประชาสัมพันธ์
12 Relationships of Public Relations

1. Investor relationships (ความสัมพันธ์ PR กับนักลงทุน)
อาจารย์พราวหมายถึงนักลงทุนที่เป็นทั้งผู้ถือหุ้นสามัญ (Shareholders or stakeholders) และนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (The Stock Exchange of Thailand, SET)

2. Government relationships (ความสัมพันธ์ PR กับรัฐบาล)
อาจารย์พราวหมายถึงรัฐบาล (Governmen) คนของหน่วยงานรัฐ (People of government) ข้าราชการ (Officials) หรือเจ้าหน้าที่ (Officers) สืบเนื่องมาจากนโยบายรัฐ (Government Policy) ที่มีต่อองค์กร

Yaowarat Street Food เยาวราช

3. Communication relationships (ความสัมพันธ์ PR กับการสื่อสาร)
อาจารย์พราวหมายถึงการสื่อสารต่าง ๆ เช่นผ่านสื่อ (Communication via Media)

4. Media production relationships (ความสัมพันธ์ PR กับผู้ผลิตสื่อ)
อาจารย์พราวหมายถึงผู้ผลิตสื่อ ซึ่งอาจมาจากการติดต่อกับฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายโฆษณา

5. Customer relationships (ความสัมพันธ์ PR กับลูกค้า)
อาจารย์พราวหมายถึง ลูกค้าทั่วไปของบริษัท (Current customers) เพื่อให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น หรือแม้แต่ลูกค้าในอนาคต (Potential customers)

6. Marketing Communications relationships (ความสัมพันธ์ PR กับการสื่อสารทางการตลาด)
อาจารย์พราวหมายถึงการสื่อสารทางการตลาด

7. Influencer relationships (ความสัมพันธ์ PR กับผู้มีอิทธิพล)
อาจารย์พราวหมายถึง กรณีที่มีผู้ทรงอิทธิพล PR ควรเป็นฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะ PR ควรรู้วิธีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดภาพที่ดี หรือ ช่วยแก้ปัญหาได้
Lect. Proud talks about some who can influence the company’s business.

8. Internal relationships (ความสัมพันธ์ PR กับคนภายใน)
อาจารย์พราวหมายถึงพนักงานทุกหน่วยงาน หรือคนในองค์กรนั่นเอง

9. External relationships (ความสัมพันธ์ PR กับคนภายนอกทั่วไป)
อาจารย์พราวหมายถึง บุคคลภายนอกทั้งสิ้นที่อาจรวมหรือนอกเหนือจากคนในองค์กร

10. Industry relationships (ความสัมพันธ์ PR กับอุตสาหกรรม)
อาจารย์พราวหมายถึงอุตสาหกรรมที่องค์กรนั้นอยู่หรือสังกัด

11.Crisis communications (ความสัมพันธ์ PR เมื่อถึงภาวะวิกฤต)
อาจารย์พราวหมายถึงความสัมพันธ์ที่ต้องสื่อสารกรณีเกิดวิกฤต เพื่อช่วยให้บริษัทรอดพ้นวิกฤตนั้น ๆ

12.Other-country relations (ความสัมพันธ์ PR กับประเทศอื่นๆ)

Leave a comment

Filed under Eng2, Everything_Okay

7 ลักษณะการประชาสัมพันธ์ที่เป็นเลิศ

Characteristics of Excellence Public Relations
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 11, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Preface

อาจารย์พราว ได้เขียนเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ไปหลายเรื่อง ได้แก่ Public Relations ควรอยู่จุดใดในองค์กร; วิธีการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์; 12 ทักษะของการประชาสัมพันธ์; ปัญหาของการประชาสัมพันธ์; PR หนึ่งใน 9Ps Marketing Mixed Model; ความสัมพันธ์ระหว่าง การประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา และการตลาด เป็นต้น

Characteristics of Excellence PR

บทนี้อาจารย์พราว จะพูดถึงลักษณะการประชาสัมพันธ์ที่เป็นเลิศ (Characteristics of Excellence Public Relations) แม้ว่าในการทำงานจริง (Real working life) อาจารย์พราวคิดว่านักประชาสัมพันธ์ (Public relations officers) อาจรู้สึกยากที่จะไปสู่ความเป็นเลิศของสายอาชีพหรือด้านการประชาสัมพันธ์ได้ (Excellence in PR) อาจารย์พราวก็ยังหวังว่า อย่างน้อยการทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้เป็นเลิศสามารถทำได้บางข้อ หรือได้เกือบทุกข้อ แต่อาจไม่ได้เต็มร้อยทั้งหมดก็ตาม
Lect. Proud believes that in real working life, PR officers can reach some or over all of these Characteristics of Excellence Public Relations.

ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler)

Philip Kotler ถือว่าเป็นบิดาแห่งการตลาดยุคใหม่ (He is known as the father of modern marketing) มองว่าการประชาสัมพันธ์ถือเป็นส่วนประกอบอย่างง่ายในส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix)
อาจารย์พราวถือว่าการประชาสัมพันธ์มีความสำคัญทั้งด้านการส่งเสริมด้านการตลาด และมีความสำคัญอย่างมาก ต่อองค์กร (PR is very important to the organization or corporate or business of company) ดังที่อาจารย์พราวเคยพูดแล้วในส่วนอื่นเพราะ PR ช่วยสร้างภาพลักษณ์สร้างชื่อเสียงให้องค์กรส่วนรวม (PR helps built the image and reputation for the company) ดังนั้นอาจารย์พราวจึงต้องการให้เห็นว่าการทำงานของ PR ที่ดีเลิศควรมีลักษณะอย่างไร

Characteristics of Excellence PR

7 ลักษณะการประชาสัมพันธ์ที่เป็นเลิศ
7 Characteristics of Excellence Public Relations

1.สร้างประสิทธิผลแก่องค์กร (Make effective)
อาจารย์พราว คิดว่าการประชาสัมพันธ์ที่ดี ต้องสร้างประสิทธิผลแก่องค์กร (Effectiveness to the organization) คือได้ผลตามเป้าหมาย (Targets) ไม่ใช่เพียงแต่ทำให้เสร็จในเวลาที่กำหนด (Action ontime) หรือประสิทธิภาพ (Efficiency) PR เป็นหน่วยงานที่ไม่ได้หากำไร (nonprofit) ซึ่งควรวัดผลงานได้ด้วย
Lect. Proud sees that good Public relations can make organizations more effective not only efficiency. PR is a nonprofit function and its activities have to be measured.

2.สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่องค์กร (Make good environments)
Here, lect. Proud wants to tell about the excellent PR should make organizations environments good or better.

3.ข้อมูลงานหรือเนื้อหามีสาระและจริง
อาจารย์พราวอยากเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ที่ดีว่า เนื้อหาของงาน (PR’s contents) ต้องมีสาระ (substantive) และอิงกับข้อเท็จจริง (Based on fact which is not the same as advertising)
Lect. Proud emphasizes the PR’s contents should be substantive and must be based on the fact too.

4.เนื้อหาการประชาสัมพันธ์สั้นกะทัดรัด และง่ายแก่การเข้าใจ
Lect. Proud will add more about PR’s contents that should make short and simple contents.

5.เติมเต็มภาพลักษณ์บริษัทและแบรนด์
Lect. Proud points out that Public relations complements marketing and advertising functions Make brands visibility

6.ทำงานให้เป็นปัจจุบัน
Lect. Proud recommends PR should keep it current.

7.PR ต้องไม่พลาดโอกาส
Lect. Proud can conclude that PR should keep it current but don’t miss any chances, too.

Leave a comment

Filed under Eng2, Everything_Okay

PR หนึ่งใน 9Ps Marketing Mixed Model

PR in Marketing Strategies of 9Ps
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 11, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

PR in Marketing Strategies of 9Ps

Preface

โพสนี้อาจารย์พราว จะพูดถึงส่วนผสมทางการตลาดทั้ง 9Ps (9Ps Marketing Mix) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรไปถึงเป้าหมายตามกลยุทธ์ทางการตลาด โดยมี Public Relations ผสมผสานอยู่ในส่วนผสมการตลาดนี้
Lect. Proud can say that 9Ps Marketing Mix can help the business meet the target market.

อาจารย์พราวคิดว่าธุรกิจต้องกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดก่อน (Set the marketing strategies before) ที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการตัดสินใจซื้อหรือบริโภคของผู้ซื้อ (The customer behavior) อาจารย์พราวเห็นหลายองค์กรใช้การโฆษณาเป็นเครื่องมือในการชักจูงผู้บริโภคให้ซื้อหรือเปลี่ยนพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ

Persuade customers’ purchase decision (ใช้การโฆษณาเพื่อชักจูงการตัดสินใจในการซ้อของผู้บริโภค)
Lect. Proud sees that many businesses (ธุรกิจหลายแห่ง) use advertising to persuade customers’ purchase decision. Lect. Proud will recommend that business should have their target market before launching advertising campaign. อาจารย์พราวแสดงถึง 9Ps ด้านล่างตามนี้

PR in Marketing Strategies of 9Ps

9Ps for Marketing Mixed Model

อาจารย์พราวคิดว่าหลายคนพอรู้จักส่วนผสมการตลาด 4Ps, 5Ps หรือ 7Ps เพื่อกลยุทธ์ทางการตลาด ในที่นี้อาจารย์พราวจะชี้ให้เห็นส่วนผสมการตลาดทั้งสิน 9Ps

1. Product (or service)
อาจารย์พราวเห็นว่านักการตลาด (Marketer) ควรกำหนดสินค้าหรือบริการ (Products which including goods and services) ที่เหมาะกับธุรกิจและลูกค้าของเรา
Lect. Proud calls this as a Right Product. PR is also important to describe about the product.

2. Price
อาจารย์พราวคิดว่าราคาเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่คนตัดสินใจซื้อแล้วสบายใจ
Lect. Proud calls this as a Right Price because the price the clients enjoy to pay it.

3. Place
อาจารย์พราวมองว่าสินค้าจะขายได้ก็ต้องจัดวางอย่างถูกต้อง หรือเลือกช่องทางจัดจำหน่ายได้ถูกต้อง (Placement or distribution channels)
Lect. Proud indicates the right place where buyers or potential buyers can buy including with product placement and distribution channels.

4. Promotion
การส่งเสริมการขายทำได้หลายรูปแบบ อาจารย์พราวคิดว่าไม่มีประเทศไหนมีรูปแบบการส่งเสริมการขายมากเท่าประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการลดราคา (Discount) การซื้อ 1 แถม 1 (Buy 1 Get 1 free) การแถมของสัมมนาคุณ (Premium) นักการตลาดไทย (marketer) สรรสร้างได้ทุกรูปแบบ
Lect. Proud sees that the promotion in Thailand has many styles more than other countries.

5. People
อาจารย์พราวจะพูดเกี่ยวกับพนักงานของบริษัท เพราะมีส่วนร่วมอย่างมากในการเป็นนักการตลาดที่ดี และยังสามารถเป็นกระบอกเสียงในการพูดปากต่อปากไปถึงลูกค้าได้
Lect. Proud believes that company’s employee can act as a good marketer and can function as word of mouth marketing.

PR in Marketing Strategies of 9Ps

6. Presentation
อาจารย์พราวคิดว่าการนำเสนอเกี่ยวกับสินค้าบริการเป็นสิ่งจะเป็นในเกือบทุกขั้นตอน
Presentation is a very important tool to explain product and service or to clarify any problem to clients.

7. Physical Evidence
อาจารย์พราวคิดว่ากลยุทธ์นี้มีมานานแล้ว แต่คนไม่ได้มาจัดอยู่ใน Marketing mix เช่น 7-11 แม้สินค้ามาก แต่สภาพร้านต้องดูดี มีพนักงานใส่แบบฟอร์มดูดี เหมือนกัน ต้องสุภาพเรียบร้อย รวดเร็ว อธิบายคำถามลูกค้าได้ เป็นต้น
Lect. Proud knows that the organization uses this tool for a long time such as the corporate image should look good as well as the employee and environment..

8. Process
อาจารย์พราว ให้คำนิยามของคำ Process ว่าคือกระบวนการภายในองค์กรเองไม่ว่าขั้นตอนในการให้บริการ หรือมาตรฐานในการให้บริการ ยิ่งในปัจจุบันเป็นเรื่องของการชาย online มากขึ้น การบริการขององค์กรยิ่งต้องดี ไว มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างพอเพียง
Lect. Proud states that process here means the process to service and it’s standard. Currently is social network period, therefore the process should be good, quick, efficient and effective.

9. Philosophy
จรรยาบรรณทางการตลาดในที่นี้รวมทั้ง Brand Philosophy, Customer Philosophy นักการตลาดต้องศึกษาคุณภาพของสินค้าบริการ (Goods and services quality) จริงใจกับลูกค้าเพื่อให้เกิดความภักดีต่อสินค้าบริการ (sincerity)
Lect. Proud thinks that the Philosophy is very important to see the sincerity of the company.

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized