Category Archives: Eng2

ความสัมพันธ์ระหว่าง การประชาสัมพันธ์ และการตลาด

PR and Marketing Relationships
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 10, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Battery Park NYC

Preface

โพสนี้อาจารย์พราว ต้องการพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง การประชาสัมพันธ์ กับการตลาด (The relationships between Public Relations and Marketing) หลังจากอาจารย์พราว ได้เขียนมาหลายบทเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ รวมถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการประชาสัมพันธ์ และการโฆษณาแล้ว (The relationships between Public Relations and Advertising)

ความหมายของการประชาสัมพันธ์ (Definition of PR
)

อาจารย์พราวให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นกระบวนการในการสื่อสารข้อมูลออกไประหว่างองค์กรและสาธารณชน
Lect. Proud gives the meaning of PR as a procedure to communicate and spread of an organization’s information to the public.

ความหมายของการตลาด (Definition of Marketing)

อาจารย์พราวให้ความหมายของการตลาดว่าเป็นกระบวนการสื่อสารคุณค่าสินค้า/ผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กรหรือบริษัทไปยังลูกค้า
Lect. Proud gives the Marketing meaning as a procedure to deliver the product value to the corporate clients for promoting them to buy the company’s products or services.

PR & Marketing Relationships

Cooperating meeting เครื่องมือในการทำงานร่วมกัน PR vs การตลาด

อาจารย์พราว ให้ความหมายของ Cooperating meeting ว่าเป็นเครื่องมือ (Tools) ในการทำงานร่วมมือที่ดี ระหว่างฝ่ายต่างๆ (Good cooperation between departments) แต่การประชุมต้องตรงประเด็น (Straight to the points) เพื่อไม่ให้เสียเวลาจนกลายเป็นเวลาที่ยืดเยื้อ (Protracted period) และรู้สึกอึดอัดในการประชุม

อาจาย์พราว อย่ากบอกว่า ความจริงแล้วทั้งการประชาสัมพันธ์ การตลาด และการโฆษณา มีความสันพันธ์กันทั้งสิ้น (PR, AD and marketing have a relationship to each other.) อาจาย์พราวคิดว่ากลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategies) ที่ดีควรดึงทั้งการประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา มาอยู่ในกลยุทธ์ทางการตลาดด้วย โดยใช้ Cooperating meeting อาจาย์พราวคิดว่า Cooperating meeting เป็นการทำงานโดยประชุมร่วมกัน เพื่อประโยชน์อย่างน้อยดังนี้

– เป็นการระดมสมองเพื่อธุรกิจบริษัท Brainstorming for the benefit of the business
– ให้เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง Two-way communications
– ตรงประเด็นกับเป้าหมายการตลาด Straight to the points to target market
– ป้องกันความล้มเหลวในการทำงานจากความเข้าใจผิด Prevent the failure from the misunderstanding cases.

PR & Marketing Relationships

บทสรุป (Conclusion)

อาจารย์พราว สรุปได้ว่า การประชาสัมพันธ์รู้งานการตลาด และในทางกลับกันด้วย (Lect. Proud will conclude that the PR team knows marketing’s work and vice versa.) อาจารย์พราวอยู่ในโลกของสังคม Online หรือ Social network ดังนั้น การประชุมร่วมกันบ้างจะลดปัญหาการส่งอีเมลล์ไปกลับกันเสมอ (Protect the action of wasted time of emailing back and forth.) และป้องกันความเข้าใจที่ผิดพลาด (Misunderstanding)

Leave a comment

Filed under Eng2, Everything_Okay

ความสัมพันธ์ระหว่าง การประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา

PR & AD Relationships
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 10, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

PR & AD Relationships

Preface

อาจารย์พราว พูดถึงการประชาสัมพันธ์ (Public Relationships) มาหลายเรื่อง แต่หลายคนน่าจะสงสัยว่า แล้วการประชาสัมพันธ์ (Public Relationships, PR) กับการโฆษณา (Advertising, AD) ต่างกัน (Different) คล้ายกัน (Similar to) เหมือนกัน (The same as) หรือสัมพันธ์กันอย่างไร (Related to) ดังนั้นหัวข้อนี้จึงสามารถแบ่งออกเป็น 4 ข้อดังนี้

1. ความเหมือนกันของ (Public Relationships vs advertising look the same)
2. ความคล้ายกันของ (Public Relationships vs advertising are similar)
3. ความต่างของ (Public Relationships vs advertising are different)
4. ความสัมพันธ์กันของ PR vs AD (Related to each others)

PR & AD Relationships

ตัวอย่างสนับสนุน ความเหมือน ความคล้าย ความสัมพันธ์ ความต่างของ PR vs AD

(1) ความเหมือนกันและความคล้ายกันระหว่าง PR vs AD ได้แก่ (The following are what PR is the same and/or is similar to Advertising) ตัววอย่างเช่น
PR & AD purposes are nearly the same.

อาจารย์พราว ต้องการชี้ให้เห็นว่า การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณามีวัตถุประสงค์เหมือนกัน (The same purposes) คล้ายหรือใกล้เคียงกัน (or nearly the same) คือช่วยการตลาด และ ทำเพื่อองค์กร (Support the marketing and the corporate)

(2) ความต่างของการประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา ได้แก่ (The different of Public relations and advertising)
PR & AD support marketing but a little bit different

Lect. Proud can say that PR purposes are all for marketing and the organization as well as AD but there are some differences; lect. Proud will give examples below.
ในที่นี้อาจารย์พราวจะบอกว่าแม้วัตถุประสงค์ (Objectives/Purposes/Targets) ของ PR vs AD คล้ายกันเพื่อฝ่ายการตลาด และเพื่อองค์กร แต่ก็ต่างกันบ้าง (A little bit different)

PR & AD Relationships

อาจารย์พราว ได้พูดเรื่องผังการจัดองค์กรไปแล้ว จะเห็นได้ว่าบางองค์กร (Corporate) ทั้งการประชาสัมพันธ์ (Public relations, PR) และการโฆษณา (Advertising, AD) เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด (Marketing) ตามผังการจัดองค์กร (Organization chart of the business) อาจารย์พราว ต้องการบอกในที่นี้ก็คือ การประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา ต่างมีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งร่วมกันคือ สนับสนุนการตลาดขององค์กร (Support marketing) และองค์กรเอง (Support the corporate) แต่ต่างกันที่การให้ความสำคัญ ดังนี้

(1) การประชาสัมพันธ์ (Public relations)

– PR ให้ความสำคัญที่ภาพรวม (Lect. Proud used to post that Public relations concentrate in the whole company and the Image of company’s products)
– PR สื่อสารให้ผู้รับที่กว้างกว่าการโฆษณา (Lect. Proud states that Public relations communicate to many people not only customers such as shareholders, government, ministry, ect.)
– PR ประชาสัมพันธ์เป็นระยะเวลาตลอดไป (Lect. Proud also posts about Public relations which function their duties as long as the company going concern)

(2) การโฆษณา (Advertising)

– AD ให้ความสำคัญที่ตัวสินค้า จำนวนคนผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเล็กกว่า เจาะจงกลุ่มเป้าหมายตามโปรแกรมที่ฝ่ายการตลาดกำหนดไว้ (Advertising build brands and communicate to their target customers)
– AD ทำหน้าที่โฆษณาตามโครงการตามช่วงเวลาที่ต้องรณรงค์ หรือ โฆษณาเพื่อผลิตภัณฑ์เป็นช่วง ๆ ตามที่ฝ่ายการตลาดกำหนด (Advertising space advertise their products to launch their products according to the product campaign)

อาจารย์พราวสรุปได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา ใกล้กันมาก จนบางงานอาจดูแล้วซ้ำซ้อนกัน
Lect. Proud can conclude that PR are close to AD and sometimes look like duplicate functions.

1 Comment

Filed under Eng2, Uncategorized

ความล้มเหลวของการประชาสัมพันธ์

Causes of PR Failure
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 9, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Excellent PR Functions

Preface

อาจารย์พราว ได้พูดถึงการประชาสัมพันธ์ (Public Relationships) ที่จะประสบความสำเร็จได้ (Successful at the job) ต้องมีหน้าที่ (Ffunction) อย่างน้อย 10 ข้อ นอกจากความเก่งเฉพาะตัวในการสื่อสาร (Communication experts) ยังต้องมีความรับผิดชอบต่องาน (Job-Specific Responsibilities) และสังคมภายนอกตลอดจนสิ่งแวดล้อมด้วย (Corporate Social Responsibilities, CSR)

Here, lect. Proud will tell about how PR can be the failure in the job. ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่อาจารย์ยกมา 10 ข้อ ที่ทำให้นักประชาสัมพันธ์ (Public relationships officers) สามารถล้มเหลวได้ในการประชาสัมพันธ์ ดังนี้

สาเหตุความล้มเหลวของการประชาสัมพันธ์
(Causes of PR Failure)

Excellent PR Functions

1. วัตถุประสงค์ PR ผิดพลาด (Misleading PR)
2. ขาดเงิน (Ran out of Cash)
3. การประชาสัมพันธ์ที่อ่อนหัด (Poor PR)
4. การตลาดที่อ่อนหัด (Poor Marketing)
5. ไม่ใส่ใจลูกค้า (Ignore clients) ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในองค์กร หรือไม่ก็ตาม
6. ไม่มีแรงปรารถนาจะทำงาน (No Passion in Work)
7. การประชาสัมพันธ์ ผิดที่ผิดเวลา PR mistimed and Product mistimed
8. ขาดทีมเวิร์ค (No teamwork)
9. ไม่รักษาสัญญา (Not keeping promise)
10. สิ่งที่ PR ไม่ดังพอ (No- name brand)

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

10 หน้าที่การประชาสัมพันธ์ที่เป็นเลิศ

10 Excellent PR Functions
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 8, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Excellent PR Functions

Preface

อาจารย์พราว พูดถึงการประชาสัมพันธ์ (Public Relationships) มาพอประมาณแล้ว คราวนี้มาดูกันว่าจะทำหน้าที่การประชาสัมพันธ์ได้อย่างเป็นเลิศได้อย่างไร Excellent in PR ด้วยหน้าที่ที่ดีสัก 10 ข้อด้านล่างนี้
Lect. Proud will tell about the 10-Excellent-Functions for PR officers. หน้าที่ที่เป็นเลิศสำหรับเหล่านักประชาสัมพันธ์ ได้แก่

หน้าที่ที่เป็นเลิศ 10 ข้อสำหรับนักการประชาสัมพันธ์
(10-Excellent-Functions for PR Officers)

ถ้าอาจารย์พราวเป็นนักประชาสัมพันธ์ จะให้เป็นเลิศอย่างน้อยอาจารย์พราวต้องไม่ลืมหน้าที่สำคัญดังนี้

Excellent PR Functions

1. Community relations
อาจารย์พราว คำนึงถึงชุมชนสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนภายใน (Communities in the organization) หรือภายนอกองค์กร (Communities outside the organization)
2. Good Advisor
อาจารย์พราว ยินดีให้คำปรึกษา คำแนะนำที่ดี แก่หน่วยงานต่าง ๆ เพราะบางหน่วยงานอาจไม่ถนัดในด้านการประชาสัมพันธ์
3. Sincere Contribution
อาจารย์พราว ควรที่จะทุ่มเทให้กับงาน ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่นักประชาสัมพันธ์ในฝ่ายของตน หรือหน้าที่สนับสนุนฝ่ายอื่น (Supporter to other functions) เช่น สนับสนุนฝ่ายการตลาด (Marketing department) การขาย (Selling department) บุคคล (Personnel department) และบริหาร (Management) เป็นต้น

4. Customer relations
อาจารย์พราว ในฐานะนักประชาสัมพันธ์ ก็สามารถทำหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ได้
5. Government relations
รัฐสัมพันธ์ คือกรณีที่องค์กรต้องเกี่ยวของกับรัฐบาล อาจารย์พราวคิดว่านักประชาสัมพันธ์และนักบริหารต้องมีส่วนร่วมเต็มที่

Excellent PR Functions

6. Internal communication
ความสัมพันธ์ภายใน อาจารย์พราวเชื่อแน่นอนว่าฝ่ายต่าง ๆ ยอมต้องการ PR สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ลงทุน (Investor) ฝ่ายผลิตภัณฑ์และบริการ (Product/service publicity) ตลอดจนความสันพันธ์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร (Stakeholders relations)
7. External communication
ความสัมพันธ์ภายนอก บางครั้งอาจารย์พราวรู้สึกว่าเป็นงานยากในเรื่องความสัมพันธ์กับคนภายนอก ทั้งคนที่ติดต่อด้วย ได้แก่ Media & Digital communication และบุคคลที่ไม่ได้ติดต่อด้วยไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่มีผลต่อองค์กรหรือไม่ก็ตาม

Excellent PR Functions

8. Considering Publications
ปัจจุบันสังคม Online มีความสำคัญมาก อาจารย์พราว อยากให้นักประชาสัมพันธ์ให้ความสำคัญทั้งด้าน Social network และสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
9. Respecting commitments
อาจารย์พราวเน้นเรื่องการรักษาคำพูดมาก ๆ เมื่อ Public relationships officers สัญญาอะไรกับใครแล้ว ไม่ควรลืมสิ่งที่ตกลงกัน หรือให้สัญญากัน
10. Corporate Social Responsibility, CSR
อาจารย์พราวให้ความหมายตามคำภาษาอังกฤษเลยว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจารย์พราวจะพูดในบทต่อๆ ไป

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

ปัญหาของการประชาสัมพันธ์จากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

Problems of PR from Uncontrollable factors
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 8, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Problems of PR

Preface

โพสนี้อาจารย์พราว ต้องการพูดถึงปัญหาในการประชาสัมพันธ์ Problems of Public Relations โดยอาจารย์พราว จะให้ความสำคัญของปัญหา PR ที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable factors) ส่วนปัญหา PR ที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ (Controllable factors) อาจารย์พราวได้พูดไว้แล้วในหัวข้อปัญหาของการประชาสัมพันธ์จากปัจจัยที่ควบคุมได้

นอกจากนี้อาจารย์พราวก็ได้พูดไว้ในหัวข้อ ปัญหาของการประชาสัมพันธ์ อีกหัวข้อหนึ่งด้วย ว่ามีทั้งปัญหาที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ (Controllable factors) และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable factors) Lect. Proud already categorized the problems of PR by uncontrollable factors and uncontrollable factors as below.

ปัญหาในการประชาสัมพันธ์
(Problems of Public Relations)

ในที่นี้อาจารย์พราวจะพูดถึงปัญหาที่ PR พบในการทำงานเกี่ยวกับกระบวนการประชาสัมพันธ์ตามปัจจัย 2 ข้อ และหัวข้อนี้จะให้ความสำคัญของปัญหาการประชาสัมพันธ์ที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ดังนี้
1. PR Problems from Controllable factor
2. Problems from Uncontrollable factors

Problems of PR

PR Problems from 9 Uncontrollable factors
9 Examples of PR Problems from Uncontrollable factors

ต่อไปนี้อาจารย์พราวจะให้ตัวอย่างปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ที่ทำให้เกิดปัญหาในการประชาสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามในบางสถานการณ์ (In some situations) ในบางเวลา (In some times or seasons) และหรือในบางโอกาส (In some chances or opportunities) ตลอดจนในบางองค์กร (In some businesses or organizations) อาจารย์พราวยังเห็น Uncontrollable factors กลายเป็น Controllable factors ได้

Lect. Proud will point that some Uncontrollable factors may be Controllable factors or in vice versa. อาจารย์พราวหมายถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ บางครั้งก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ หรือในทางกลับกันก็ได้
และปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก (External factors) บางเรื่องก็สามารถแก้ปัญหา (Solving the problems) ได้ บางเรื่องก็ต้องปล่อยผ่านไป แต่เอามาเป็นแนวทางให้ระวังในกระบวนการประชาสัมพันธ์ในอนาคตได้ ตัวอย่างปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมไม่ได้ที่ทำให้เกิดปัญหา PR ได้แก่ 9 ปัจจัย ดังนี้

(1) Business or Corporate Objectives
วัตถุประสงค์ขององค์กรเอง
(2) Weak Brand Reputation
ผลิตภัณฑ์ไม่มีชื่อเสียงขององค์กร
(3) Competitors
คู่แข่งของบริษัท ทำให้ PR ทำงานยาก
(4) Demand of the product
ความต้องการในผลิตภัณฑ์

Problems of PR

(5) Poor Customer Services
อาจารย์พราวคิดว่าหากฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ที่ด้อยความสามารถ การประชาสัมพันธ์ก็อาจไม่ได้ผล
(6) Social Media Crisis
วิกฤตของสื่อและเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
(7) World economic crisis
วิกฤตเศรษฐกิจโลก
(8) Business Ethics จริยธรรม
จริยธรรมของบริษัท หรือคนในองค์กร
(9) Government policy
นโยบายรัฐบาลแต่ละสมัย

For the example of Thai government
Lect. Proud thinks that many businesses can acknowledge the big effects from COVID-19 crisis. It’s a hard task for PR to work. Lect. Proud believes that everyone knows about this especially after P.M. Prayut has declared an emergency decree to contain the contagion of COVID-19. The decree will be effective from March 26, 2020 onward.

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

ปัญหาของการประชาสัมพันธ์จากปัจจัยที่ควบคุมได้

Problems of PR from Controllable factors
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 8, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Problems of PR from Controllable factors

Preface

อาจารย์พราวได้โพสเกี่ยวกับความหมายของ Public Relations or PR คือการประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็คือ กระบวนการที่ใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร A Strategic Communication Process นั่นเอง โดยมีวัตถุประสงค์ (Objectives) เพื่อสื่อสารให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีมีประโยชน์ (Beneficial Relationships) ระหว่างองค์กร (The Organization) กับสังคมคนภายในองค์กร (Insiders) และสังคมภายนอก (Outsiders)

โพสนี้อาจารย์พราว จะลงรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาของ Problems of Public Relations ที่มาจากปัญหาที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ (controllable factors) ส่วนปัญหาที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable factors) อาจารย์พราวจะพูดในบทต่อไป

Lect. Proud will categories the problems of PR by controllable factors and uncontrollable factors. However, here below, Lect. Proud will present only Problems of Public Relations from controllable factors. For the Problems of Public Relations from uncontrollable factors will present later in the next session.

Problems of PR from Controllable factors

ปัญหาในการประชาสัมพันธ์ ที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้
(Problems of Public Relations from Controllable factors)

ในที่นี้อาจารย์พราวจะพูดถึงปัญหาที่ PR พบในการทำงานเกี่ยวกับกระบวนการประชาสัมพันธ์ที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ ส่วนมากเป็นปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายใน (Internal factors) สามารถแก้ปัญหา (Solving the problems) ได้ด้วยฝ่าย PR หรือ องค์กรเอง อย่างไรก็ตามบางปัจจัยอาจเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ในสถานการณ์อื่นหรือในองค์กรอื่น ตัวอย่างปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ที่ทำให้เกิดปัญหา PR ได้แก่ 9 ปัจจัย ดังนี้

9 Examples of PR Problems from Controllable factors

(1) Too Little Knowing Business
อาจารย์พราว หมายถึง PR ต้องรู้เกี่ยวกับบริษัทให้มากพอ
(2) Lacks of Confidence
อาจารย์พราวอยากให้ PR มั่นใจในองค์กร ในตัวเอง และมั่นใจในงานที่จะทำ PR
(3) Poor Communication Skills
ทักษะในการสื่อสารซึ่งอาจารย์พราวเคยพูดไปแล้วในโพสก่อน ๆ
(4) No Teamwork (work in collaboration with marketing)
PR ต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝ่ายการตลาด

Problems of PR

(5) Less Negotiation and persuasion
อาจารย์พราวทราบดีว่า PR ควรมีนิสัยช่างเจรจาต่อรอง และชักจูงคนอื่นได้ดี
(6) Lack of Problem solving strategies
ความสามารถในการแก้ปัญหา
(7) Without Leadership
อาจารย์พราวอยากให้ PR มีลักษณะเป็นผู้นำ
(8) Perseverance not Perfection
ความมุมานะ หรือ ความเพียร นั่นเอง เช่น ทำงาน PR แล้วต้องมีการติดตามผล (PR Following up)
(9) Ability to work under pressure
ความสามารถในการจัดการ หรือทำงานในภาวะคับขัน

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

ปัญหาของการประชาสัมพันธ์

Problems of Public Relationships
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed| Oct 8, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Problems of PR

Preface

อาจารย์พราวได้โพสเกี่ยวกับความหมายของ Public Relations or PR คือการประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็คือ กระบวนการที่ใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร A Strategic Communication Process นั่นเอง โดยมีวัตถุประสงค์ (Objectives) เพื่อสื่อสารให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีมีประโยชน์ (Beneficial Relationships) ระหว่างองค์กร (The Organization) กับสังคมคนภายในองค์กร (Insiders) และสังคมภายนอก (Outsiders)

โพสนี้อาจารย์พราว ต้องการพูดถึงปัญหาในการประชาสัมพันธ์ Problems of Public Relations ซึ่งมีทั้งปัญหาที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ (controllable factors) และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ (controllable factors) Lect.Proud will categories the problems of PR by controllable factors and uncontrollable factors as below.

Problems of PR

ปัญหาในการประชาสัมพันธ์
(Problems of Public Relations)

1. PR Problems from Controllable factor
2. Problems from Uncontrollable factors

ในที่นี้อาจารย์พราวจะพูดถึงปัญหาที่ PR พบในการทำงานเกี่ยวกับกระบวนการประชาสัมพันธ์ตามปัจจัย 2 ข้อ โดย

1. PR Problems from Controllable factors

ปัญหาจากปัจจัยที่ควบคุมได้ ส่วนมากเป็นปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายใน (Internal factors) สามารถแก้ปัญหา (Solving the problems) ได้ด้วยฝ่าย PR หรือ องค์กรเอง ตัวอย่างปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ที่ทำให้เกิดปัญหา PR ได้แก่ ตัว PR เองที่ต้องเข้าใจองค์กรก่อน (Know Business) ขาดความมั่นใจ (Not Confidence) หรือขาดทักษะการสื่อสาร (No Communication Skills) และไม่ทำงานเป็นทีมเวิร์ค (Lack of Teamwork) เป็นต้น

Problems of PR

2. PR Problems from Uncontrollable factors

อาจารย์พราวมาถึงหัวข้อของปัญหา PR ที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ส่วนมากเป็นปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก (External factors) บางเรื่องก็สามารถแก้ปัญหา (Solving the problems) ได้ บางเรื่องก็ต้องปล่อยผ่านไป ตัวอย่างปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมไม่ได้ที่ทำให้เกิดปัญหา PR ได้แก่ วัตถุประสงค์ขององค์กรเอง
(Business or Corporate Objectives) ผลิตภัณฑ์ขององค์กรไม่มีชื่อเสียง (Weak Brand Reputation) และคู่แข่ง (Competitors) เป็นต้น

Lect. Proud will show the PR problems in details in next chapters. อาจารย์พราวจะพูดลงรายละเอียดในหัวข้อถัด ๆ ไป คือ
– ปัญหาของการประชาสัมพันธ์จากปัจจัยที่ควบคุมได้ Controllable factors
– ปัญหาของการประชาสัมพันธ์จากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ Uncontrollable factors

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

12 ทักษะของนักประชาสัมพันธ์

12 Public Relations Officers Skills
เขียนโดยผศ. ดร. พราว
Written by Asst. Prof. Dr. Proud Arunrangsiwed | Oct 8, 2020

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

12 Public Relations Officers Skills

Preface

อาจารย์พราว ได้เขียนเกี่ยวกับงานของการประชาสัมพันธ์ (Public Relations, PR) สายการบังคับบัญชาของ PR (Organization) พร้อมข้อดีข้อเสีย และอาจารย์พราวยังได้เขียนเกี่ยวกับการใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ (PR by media) ประเภทของสื่อ (Analogue and Digital media) ตลอดจนข้อดีข้อเสียของสื่อด้วย (Pros & Cons of Analogue and Digital media) ตอนนี้อาจารย์พราวจะพูดถึงทักษะของนักประชาสัมพันธ์ (Ten Skills for Public Relations Officers) รวม 10 ทักษะดังนี้

12 ทักษะของนักประชาสัมพันธ์

1. ทักษะในการวางแผน (Planning skills)
2. ทักษะในการสื่อสารด้านการพูด (Verbal or Oral communication skills)
3. ทักษะในการสื่อสารโดยไม่ใช้การพูด (Verbal or Oral communication skills)
4. ทักษะในการสื่อสารด้านการเขียน (Writing communication skills)

Public Relations

5. ทักษะในการสื่อสารด้วยภาพ (Visual communication skills)
6. ทักษะในการความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal skills)
7. ทักษะในเรื่องความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์ (Initiative and Creative thinking)
8. ทักษะในการแก้ปัญหา (Problem solving)

Public Relations

9. ทักษะในการทำงานเป็นทีม (Team skills)
10.ทักษะในการเป็นผู้นำ (Leadership skills)
11.ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving skills) เช่น กรณีที่ทำงานในภาวะคับขัน หรือกดดัน อาจารย์พราวใช้คำว่า Work under pressure.
12.ทักษะการอ่าน และการฟัง (Reading & Listening)

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized

สรุปย่อ ๆ งานวิจัยการ์ตูนวาย ยาโอย Trilogy ของครูพราว

อันนี้เป็นตัวอย่างการทำงานวิจัย 3 เรื่องต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลที่ลึกซึ้งขึ้น จนไปถึงจุดมุ่งหมายและหายสงสัยในปมดังกล่าว

อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับการ์ตูนวาย Slash หรือ Yaoi ยาโอย 3 เรื่องต่อเนื่องกัน ซึ่ง 3 เรื่องนี้ อาจถูกมองว่าเป็น PIG เลยก็ได้ และผลพลอยได้ที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัยคือ เมื่อทำเสร็จ ก็เลิกสืบค้นดูรูปการ์ตูนวายไปตลอดกาล เบื่อไปสักพัก หรือนานเลยแหละ 555

เล่าให้ฟังนะ เรื่องแรก ทำขึ้นมาเพื่อ disprove หรือ ล้มล้างความเชื่อจากงานวิจัยเก่า ๆ เกี่ยวกับการ์ตูนวาย งานวิจัยเก่า ๆ เขาเชื่อว่า Ship หรือคู่ ชายรักชาย (ที่มาจากภาพยนตร์ หรือสื่อบันเทิงต้นฉบับ) ต้องมาจากเพื่อนสนิท ดังนั้น อาจารย์พราวจึง disprove ความเชื่อดังกล่าว และได้ผลการวิจัยว่า การ์ตูนวายบางเรื่องที่มีการจับคู่กันระหว่าง ตัวดีกับตัวร้าย

ถ้าอยากอ้างอิง ก็งานนี้เลยนะ
Arunrangsiwed, P. (2016). The Confirmation Study of Mutant Being and Friendship of Slash Characters in Original Media. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 16(1), 19-34.

เรื่องที่ 2 อาจารย์พราวทำต่อจากเรื่องดังกล่าว เพื่อ disprove ล้มล้างความเชื่อที่ว่า Fan Fiction แนวชายรักชาย จะเหมือนภาพยนตร์รักโรแมนติกไร้ซึ่งความรุนแรง และอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ก็ได้เปรียบเทียบคู่รัก 3 ชนิด (ที่แฟน ๆ จับคู่มาจาก ภาพยนตร์ หรือสื่อบันเทิงต้นฉบับ) คือ คนดี กับ คนดี, คนดี กับ คนชั่ว , และ คนชั่ว กับ คนชั่ว ท้ายที่สุด อาจารย์พราว พบว่า คู่แบบ คนดี กับ คนชั่ว มีความรุนแรงทางเพศมากมาย

นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นงานต่อยอดจากงานแรก เพราะได้คำตอบที่ลึกลงไปอีก ได้รู้แน่ ๆ ว่า การที่คู่จิ้นไม่ได้เป็นเพื่อนรักกันมาก่อน ทำให้เกิดความรุนแรงในผลงานของแฟน ๆ

ถ้าอยากอ้างอิง ก็งานนี้เลยนะ
Arunrangsiwed, P. (2015). Equality, Friendship, and Violence in Slash or Yaoi Fan Art. World Academy of Science, Engineering and Technology, International Journal of Social, Behavioral, Educational, Economic, Business and Industrial Engineering, 9(12), 3946-3950.

มาถึงงานสุดท้าย งานที่ 3 เป็นสิ่งที่ทำให้อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เลิกสงสัย และหยุดทำงานด้านนี้ต่อ อาจารย์พราว คิดว่า การที่แฟน ๆ นำสื่อที่ไม่รุนแรง มาวาดใหม่หรือแต่งเรื่องใหม่ให้มีความรุนแรงทางเพศนั้น มันดูน่าเป็นห่วงกว่าการที่คนเราไปเลือกดูสื่อที่มีความรุนแรงทางเพศทั่วไป เพราะ แฟน ๆ เป็นคนคิด สร้างสรรค์ความรุนแรงเหล่านั้นขึ้นมาเอง แฟน ๆ เป็นผู้ผลิตความรุนแรงเอง

อาจารย์พราว จึงคิดถึงผลของงานวิจัย เรื่องที่ 2 ที่ตนเองค้นพบว่า การจับคู่ ชาย-ชาย แบบ ตัวดี กับ ตัวร้าย จะทำให้ผลงาน Fan Art มีความรุนแรงมากที่สุด อาจารย์พราว จึงต้องการหาสาเหตุว่า ทำไมแฟน ๆ จึงเลือกวาดหรือเขียน Fan Art or Fan Fiction ให้มีตัวร้ายอยู่ โดยสำรวจเบื้องต้นและพบว่า ตัวร้ายที่ถูกนำมาจับคู่กับพระเอก มักจะหน้าตาดี

แต่เมื่อเก็บข้อมูลก็พบว่า ความเป็นคนดี ทำให้แฟน ๆ อยากสร้างสรรค์ Fan Art มากกว่า ความหน้าตาดี เมื่อได้ผลเช่นนี้ อาจารย์พราว ก็หายห่วง และหันไปทำงานวิจัยด้านอื่นต่อ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลว่า เอ๋ ทำไม ผู้หญิงแบบเรา ๆ ท่าน ๆ จึงต้องอ่านงานยาโอยด้วย

ถ้าอยากอ้างอิง ก็งานนี้เลยนะ
Arunrangsiwed, P. (2017). Heroic Role and Attractiveness as the Cause of Creating Slash or Yaoi Fan Art. BU Academic Review, 16(1), 18-30.

1 Comment

Filed under Eng2, Uncategorized

ผลสำเร็จของผลการวิจัยเป็น 3 ประเภท หรือ PIG มีอะไรบ้าง

ผลสำเร็จของผลการวิจัย หากแปลตรงตัวคือ Achievement of Research Findings ซึ่งในโพสนี้ อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช จะมาแนะนำความรู้พื้นฐานให้แก่นักศึกษา

PIG แปลว่าอะไร แปลว่าหมู หรือไม่ นั่นอาจใช่ แต่ไม่ใช่สำหรับบริบท หรือ Context นี้

1) P มาจากคำว่า Preliminary results หมายถึง ผลเบื้องต้น แสดงว่า ถ้านักศึกษาเลือกทำงานวิจัยที่ได้ผลเช่นนี้ ผลที่ได้จะถูกนำไปศึกษาต่อ และต่อยอดเพื่อเข้าสู่เรื่องที่สำคัญมากขึ้น
2) I มาจากคำว่า Intermediate results ภาษาไทยคือ ผลแบบกึ่งกลาง อาจเป็นงานที่ต่อยอดมาจาก P ซึ่ง P นั้นจะเป็นงานตนเองหรืองานของคนอื่นก็ได้ เดี๋ยว อาจารย์พราวจะยกตัวอย่างเพิ่มในภายหลัง
3) G มาจากคำว่า Goal results แปลว่า ผลเป้าหมาย เป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องการทราบจริง ๆ หรือเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดจริง ๆ

การตีความของคำว่า PIG นี้ขึ้นอาจขึ้นอยู่กับองค์กรที่แต่ละคนสังกัด ตัวอย่างเช่น อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช อาจเป็นในองค์กร A และเขาระบุว่า P ต้องใช้เวลา 1 ปี และเป็นโครงการเกิดใหม่ และ I ต้องเป็นอะไรก็ตามที่ต่อเนื่องมาจาก P และ so on…

แต่เมื่ออาจารย์พราว ได้ไปลองอ่านงานวิจัยที่มีพ่วงคำว่า Intermediate results ก็พบว่า มันอาจไม่ได้หมายถึงงานวิจัยที่ทำต่อเนื่องหลายปี หากแต่ นิยมเขียน เมื่อมีการทดสอบโมเดล กับกลุ่มตัวอย่างใน Lab หรือโลกความจริง สมมติว่า อาจารย์พราว ลองตั้งชื่องานวิจัยว่า

The Effect of Teacher Outfits on Students’ Intention: An Intermediate Results
แปลว่า ผลกระทบของเครื่องแต่งกายของครู ที่มีต่อความตั้งใจเรียนของนักเรียน: ผลแบบกึ่งกลาง

นั่นหมายความว่า อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เคยอ่านงานวิจัย หรือ ทำงานวิจัยมาก่อนหน้านี้ และได้ผลแบบ Preliminary results จากการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม และ ณ เวลานี้ เลยทำวิจัย เพื่อให้ได้ผลแบบ Intermediate Results โดยการทดลองในห้องเรียนตัวอย่าง

เอ๋ แล้วห้องเรียนตัวอย่าง ที่มีกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ เราเรียกวิธีการวิจัยว่าอะไรนะ? นั่นก็คือ Quasi-experiment ซึ่งคนอเมริกันเอง ก็อ่านคำนี้กัยทั้งสองรูปแบบ คือ บ้างอ่าน ควอซี่ บ้างก็อ่านว่า ควอซาย

คล้าย ๆ กับคำว่า Anti-Christ ที่เดิมที่อาจารย์พราว เคยอ่านว่า แอนตี้ไครส แต่กาลต่อมา ก็ได้ยินคนพูดว่า แอนทายไครสกันมากขึ้น จะอ่านอย่างไรก็ไม่ผิด นักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษไม่ต้องกังวลนะ

เรากลับมาดูกันที่ Goal Results นั่นก็คือ ผลการวิจัยที่จะทำให้ผู้วิจัยหายสงสัย ซึ่งหลายครั้ง ถ้าเป็นอาจารย์พราวเอง ก็หยุดทำงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ ไปเลย ถ้าได้ผลเช่นนี้ออกมาแล้ว อาจเพราะ พอใจแล้ว 555

ช่วยกดอ่านต่อตรงนี้นะ เป็นงานวิจัย ภาคต่อ 3 ภาครวด อาจเป็นตัวอย่างหนึ่งของ PIG ก็ได้ งานวิจัยการ์ตูนวาย ชายรักชาย 3 เรื่องต่อเนื่อง และทำเพื่อหาคำตอบที่ลึกขึ้นเรื่อย ๆ

Leave a comment

Filed under Eng2, Uncategorized