Category Archives: Eng2

Voice-over Actor คือใครกันแน่?

Voice-over Actor คือใครกันแน่?
โพสนี้เขียนโดย พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). Voice-over Actor คือใครกันแน่? สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/09/01/voice-over-actor/

Voice-over ในงานภาพยนตร์มักหมายถึงการใช้เสียงพากย์เล่าเหตุการณ์ ซึ่งเสียงนั้นอาจเป็นเสียงของคนอื่นที่ไม่ได้แสดงใน Footage หรือ อาจเป็นเสียงที่นักแสดงมาพากย์ใส่ลงไปภายหลังก็ได้ Voice-over สามารถช่วยเพิ่มความเข้าใจในการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ได้

ส่วนในงานแอนิเมชัน (Animation) โดยส่วนใหญ่จะใช้เทคนิค Voice-over เนื่องจากตัวละครไม่ใช่นักแสดง และจำเป็นต้องมีคนพากย์เสียงเพื่อให้ตัวละครเหล่านั้นพูดได้ ผู้ที่พากย์เสียงตัวละครจึงถูกเรียกว่า Voice-over Actor หรือ Voice Actor

แต่ในบางกรณี ซึ่งพบได้น้อยมาก คืองาน Animation ที่เกิดจากการใช้เครื่อง Motion Capture นักแสดงจะแสดงท่าทางและพูดบทพูดไปพร้อม ๆ กัน ทั้งท่าทางของเขา และเสียงของเขาจะถูกบันทึกไว้

นอกจากงานภาพยนตร์และแอนิเมชันแล้ว Voice-over ยังพบได้บ่อยในงานโฆษณา โดยโฆษณานั้น ๆ อาจไม่มีนักแสดง หากแต่เป็นแอนิเมชันบอกสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ และ-หรือ มีนักแสดงที่มารับรองผลิตภัณฑ์ หากแต่ไม่ได้มีบทพูดอะไร

Documentary Film หรือภาพยนตร์สารคดี ยังเป็นอีก Genre หนึ่งที่มักใช้ Voice-over อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช คิดถึงสารคดีสัตว์ป่า สัตว์น้ำทะเลลึก ดาราศาสตร์ ไดโนเสาร์ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถพูดด้วยตัวเองได้ ดังนั้น จึงต้องใช้ Voice-over เพื่อบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ชมภาพยนตร์สารคดี

ให้นักศึกษาคิดถึงตัวละครที่ชอบในแอนิเมชันเรื่องใดก็ได้ และสืบค้นหาชื่อ Voice-over Actor ของตัวละครนั้น ๆ
ห้ามตอบซ้ำกับเพื่อนที่ตอบก่อนหน้านี้
ตัวอย่างเช่น อ.พราว ชอบ Beast Boy และ Voice-over actor คือ Greg Cipes

Voice over Actor คือใครกันแน่ แอนิเมชัน วาดการ์ตูน มังงะ animation

20 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

Voice-over ในภาพยนตร์หรือ Animation คืออะไร?

Voice-over ในภาพยนตร์หรือ Animation คืออะไร?
โพสนี้เขียนโดย พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). Voice-over ในภาพยนตร์หรือ Animation คืออะไร? สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/09/01/voice-over/

Voice-over ปกติแล้วหมายถึง เทคนิคการใส่เสียงในวิดีโอ หรือ Footage โดยเสียงนั้นไม่ได้มาจากการพูดของนักแสดง ณ ขณะนั้น หากแต่ถูกพากย์โดยผู้อื่น หรือพากย์โดยตัวนักแสดงเองก่อนหน้าหรือภายหลังการถ่ายทำ

เทคนิค Voice-over พบได้บ่อยในงานโฆษณา ที่มี Voice-over บรรยายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังพบใน TV show ที่มีการประกวด หรือ แข่งขัน อย่างเช่น การประกาศชื่อของแขกรับเชิญ การประกาศกติกาของเกมส์โชว์ เป็นต้น

ใน Computer เราสามารถปิดและเปิด Voice-over ได้ในอุปการณ์อย่าง iOs เช่น iPhone iPad และ MacBook นอกจากนี้ Application บางชนิดอย่าง Google Maps อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช สามารถใช้ Voice-over ในการบอกเส้นทาง (Navigator)

ในงานภาพยนตร์ เราสามารถใช้ Voice-over เพื่อเล่าเหตุการณ์เพื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจที่มาที่ไปได้ง่ายขึ้น Voice-over มักพบบ่อยใน Documentary Film หรือภาพยนตร์สารคดี อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช สามารถใช้ Voice-over บรรยายใส่ในวิดีโอที่ถ่ายภาพธรรมชาติ เป็นต้น

ใน Animation แน่นอนว่า Animation ใช้ตัวละคนที่ไม่ใช่คนจริง ๆ ดังนั้นคนที่พากย์เสียงจึงถูกเรียกว่า Voice-over Actor หรือ Voice Actor และกระบวนการนี้เรียกว่า Character Voice-over ส่วนการทำปากของตัวละครให้ขยับให้ตรงกับเสียงพากย์นั้น เรียกว่า Lip-syncing หากอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ต้องทำแอนิเมชันเพียงคนเดียว ก็จะทำหน้าที่เป็น Voice-over Actor ด้วยเช่นกัน อาจารย์พราวเป็นผู้หญิง และสามารถใช้เสียงที่บันทึกไว้ ปรับ Pitch ให้ต่ำลง เพื่อให้กลายเป็นเสียงของตัวละครชายได้

คำถามคือ นักศึกษาชอบเสียงพากย์ของตัวละครอะไร ในแอนิเมชันเรื่องใด พร้อมบอกเหตุผล
(หากนักศึกษารับชมแอนิเมชันต่างชาติที่พากย์ไทย สามารถนำมาตอบคำถามนี้ได้เช่นกัน และขอให้ตอบอย่าซ้ำกับเพื่อนที่ตอบก่อนหน้า)
ตัวอย่างเช่น อ.พราวชอบ Beast Boy เพราะเสียงแหบเสียงเล็ก มีเอกลักษณ์ จะเปลี่ยนคนพากย์กี่คน ก็มีเสียงคล้าย ๆ เดิม

Voice over ในภาพยนตร์หรือ Animation คืออะไร แอนิเมชัน วาดการ์ตูน มังงะ

16 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

จิตลักษณะ หรือ บุคลิกภาพ ก่อให้เกิดอะไรได้บ้าง?

จิตลักษณะ หรือ บุคลิกภาพ ก่อให้เกิดอะไรได้บ้าง?
โพสนี้เขียนโดย พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). จิตลักษณะ หรือ บุคลิกภาพ ก่อให้เกิดอะไรได้บ้าง? สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/08/25/traits-effect/

การศึกษาจิตลักษณะเป็นการสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งของนิเทศศาสตร์ จิตลักษณะต่าง ๆ มีทั้งข้อดีข้อเสีย

ตัวอย่างเช่น Vulnerability หรือความอ่อนไหว อาจมีข้อเสียคือทำให้เกิดความซึมเศร้าได้ง่าย แต่ข้อดีคือ ผู้ที่มีความอ่อนไหวจะเข้าถึงคนอื่นได้ง่าย อาจทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ต่อผู้อื่น

อีกตัวอย่าง เราทราบดีว่า Anger หรือความโกรธมีข้อเสียมากมาย แต่ก็ยังมีข้อดีคือ มันอาจทำให้คนที่มีความขี้โกรธทำงานเสร็จเร็ว (Working Speed)

อีกตัวอย่างนะ Self-protection หรือการปกป้องตัวเอง อาจทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว (Selfishness) หากแต่สามารถทำให้คนนั้น ๆ มีความระวังตัว (Awareness) และลดความเสี่ยง (Risk reduction) จากอันตรายต่าง ๆ (Danger)

ให้นักศึกษาคิดถึงจิตลักษณะที่ตอบคำถามของอาจารย์ไปครั้งที่แล้ว และตอบว่า ถ้าคุณมีจิตลักษณะที่เลือกนั้น จะทำให้คุณดีกว่าคนอื่น ๆ อย่างไร?
ตอบเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างคำตอบ
ถ้าคราวที่แล้วคุณตอบว่า Vulnerability
ครั้งนี้ก็ตอบว่า Vulnerability ทำให้ฉันมี Empathy
ห้ามซ้ำกับเพื่อน ๆ นะ โดยเฉพาะคนที่คราวนี้แล้วตอบคล้ายกัน อย่าง PR068 PR070 AD015 AD034 เป็นต้น

หมาตู่ ตู่น้อย กลิ้ง มีความสุข จิตลักษณะ งานวิจัย ข้อดี ข้อเสีย

73 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

การเลือก คำสำคัญ หรือ Keywords ในงานวิจัย!!

การเลือก คำสำคัญ หรือ Keywords ในงานวิจัย!!
โพสนี้เขียนโดย พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). การเลือก คำสำคัญ หรือ Keywords ในงานวิจัย!! สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/08/25/keywords/

การเขียนคำสำคัญ หรือ Keywords ในงานวิจัยเชิงปริมาณ จะใช้คำที่นำมาจากตัวแปร ถ้าเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ อาจตั้งเป็นสิ่งที่ต้องการค้นคว้า และผลลัพธ์ที่ค้นพบ

หลายครั้งที่อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ได้ใช้คำที่อยู่ในชื่องานวิจัยมาตั้งเป็นคำสำคัญ แต่ถ้าจำนวนคำไม่ครบตามที่วารสารวิชาการ หรืองานประชุมวิชาการกำหนด ก็จะนำผลลัพธ์หรือสิ่งที่พูดถึงบ่อย ๆ ในงานวิจัยมาเขียนเพิ่ม

อาจารย์พราวจะยกตัวอย่างงานวิจัยของตัวเอง และจะบอกว่าคำสำคัญของแต่ละงานคืออะไร

(งานวิจัยของพราว อรุณรังสีเวช ปี 2015)
The Achievement of Narcissistic Online Artists
ความสำเร็จ ของ ศิลปิน ผู้หลงตัวเอง ในสังคมออนไลน์
Keywords: Narcissism, Artist, Achievement, Social Network
คำสำคัญ: ความหลงตัวเอง, ศิลปิน, ความสำเร็จ, สังคมออนไลน์

(งานวิจัยของพราว อรุณรังสีเวช ปี 2016)
The Effect of Brand Mascots on ConsumersPurchasing Behaviors
ผลกระทบ ของ ตัวการ์ตูนมาสคอต ที่มีต่อ พฤติกรรมการซื้อ ของ ผู้บริโภค
Keywords: Brand mascot, Consumers’ behavior, Purchasing
คำสำคัญ: ตัวการ์ตูนมาสคอต, พฤติกรรมผู้บริโภค, การซื้อ

(งานวิจัยของพราว อรุณรังสีเวช ปี 2017)
Manga Saves Our Kids: The Effect of Manga CharactersEthics and Enthusiasm on their Attractiveness
มังงะช่วยเด็ก ๆ ไว้: ผลกระทบ ของ ศีลธรรมและความมุ่งมั่นของตัวละครมังงะ ที่มีต่อ ความหน้าตาดีของตัวละครนั้น ๆ
Keywords: Manga, Ethics, Enthusiasm, Attractiveness, Audiences
คำสำคัญ: มังงะ, ศีลธรรม ความมุ่งมั่น, ความหน้าตาดี, ผู้ชม/ผู้อ่าน

(งานวิจัยของพราว อรุณรังสีเวช ปี 2018)
Violence is Not Fun: The Effect of Violence and Alienation on Enjoyment in Television Serial
ความรุนแรงไม่ใช่เรื่องสนุก: อิทธิพล ของ ความรุนแรง และ ความแปลกแยก ที่มีต่อ ความสนุกของละครโทรทัศน์
คำสำคัญ: ความรุนแรง, ความสนุก, ความแปลกแยก, สื่อ, ละครโทรทัศน์
Keywords: Violence, Enjoyment, Alienation, Media, Television Serial

(งานวิจัยของพราว อรุณรังสีเวช ปี 2019)
Ex-Men in X-Men
ชายกลายเพศ กับ มนุษย์กลายพันธุ์
คำสำคัญ: เอ็กซ์เมน, เพศที่สาม, ความเท่าเทียมกัน
Keywords: X-Men, LGBT, Equality

(งานวิจัยของพราว อรุณรังสีเวช ปี 2020)
การวิเคราะห์เนื้อหางานการศึกษาตลาดน้ำประเทศไทย
Content Analysis in Floating Market Studies, Thailand
คำสำคัญ: ตลาดน้ำ, การวิเคราะห์เนื้อหา, การท่องเที่ยว, ประเทศไทย
Keywords: Floating market, Content analysis, Tourism, Thailand

ให้นักศึกษาคิดถึงงานวิจัยที่อาจารย์พราวถามคุณในครั้งที่แล้ว และคิด คำสำคัญ หรือ Keywords มาคนละ 3 คำ
ตอบเป็นภาษาอังกฤษ 3 คำ นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมแปลภาษาได้
จำชื่องานวิจัยที่ตั้งไว้คราวก่อนได้มั้ย?

ถ้าคนที่ยังไม่ตอบคำถามคราวก่อน เช่น PR013 PR053 PR056 PR096 ครั้งนี้ให้เขียนทั้งชื่องานวิจัยในจินตนาการณ์และคำสำคัญมาเลยนะ

ใบไม้ร่วง งานวิจัย วิทยาศาสตร์ คำสำคัญ keywords

25 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

Context แปลว่าอะไร? ในนิเทศศาสตร์

Context แปลว่าอะไร? ในนิเทศศาสตร์
โพสนี้เขียนโดย พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). Context แปลว่าอะไร? ในนิเทศศาสตร์ สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/08/19/context/

Context แปลว่าอะไร? เป็นคำที่ถูกกล่าวถึงเพื่ออธิบายทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์หลายทฤษฎี (Communication Theory) คำคำนี้ Context มีความหมายแปลไทยว่าบริบท แต่ถ้าจะให้แปลไทยเป็นไทยคือ สถานการณ์ สถานที่ กลุ่มคน สมมติว่า อาจารย์พราว พูดว่า School Context เราจะคิดถึง สถานที่คือโรงเรียน มีครู และมีเพื่อนนักเรียน และถ้าเราพูดถึง Family Context เราอาจจะเป็นลูก มีผู้ปกครอง มีลุงป้าน้าอา เป็นต้น

ในแต่ละ Context อาจารย์พราวจะมี Role และ Identity ที่แตกต่างกัน Role คือบทบาท ส่วน Identity คือความเป็นตัวตน สองสิ่งที่ทำให้รูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนไป เช่น การเรียกตนเอง และการแสดงออก หรือ Expression

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกคือ Power Structure หมายถึง โครงสร้างอำนาจ ซึ่งตัวอาจารย์พราวเองจะมีอำนาจต่างกันในแต่ละ Context

บาง Context ที่เรามีอำนาจมาก ความไม่แน่นอนไม่แน่ใจหรือ Uncertainty จะลดลง และความกังวลหรือ Anxiety จะลดลงด้วย

ตัวอย่างเช่น คุณพราว เป็นผู้ก่อตั้ง Fan Club ของ Matt Damon ในประเทศไทย เมื่อถึงวันที่นัดพบแฟน ๆ ของ Matt Damon คุณพราวรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจเพราะเป็นผู้ก่อตั้ง เธออาจจะรู้สึกตื่นเต้น แต่นั่นไม่ใช่ความหวาดกลัว ซึ่งต่างจากเมื่อคุณพราวไปสอบใบขับขี่ ที่นั่นคุณพราวไม่ได้มีอำนาจ แถมยังมีเจ้าหน้าที่คอยจับจ้องว่าคุณพราวจะขับรถเกินขอบเขตที่กำหนดหรือไม่ ทำให้เกิดความ Uncertainty และ Anxiety ขึ้นได้

คำถามคือ ให้นักศึกษาคิดถึงตัวเอง ตอบตามประสบการณ์ของตนเอง ลองคิดถึงสมัยอยู่มัธยมก็ได้ และยกตัวอย่าง Context เป็นภาษาอังกฤษ ห้ามซ้ำกับเพื่อนที่โพสก่อนหน้าตนเอง และห้ามซ้ำกับตัวอย่างของอาจารย์พราว และบอกว่าตนเองเป็นใครใน Context นั้น ๆ เป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมแปลภาษาช่วยหาศัพท์ที่ไม่รู้ได้

ตัวอย่างเช่น
คุณพราวอยู่ใน Context คือ “Matt Damon Thailand Fan Club” มีบทบาทเป็น “Founder (ผู้ก่อตั้ง)”
คุณพราวอยู่ใน Context คือ “Department of Land Transport หรือ Driving Test Centre (กรมขนส่ง)” มีบทบาทคือ “Applicant (ผู้สอบใบขับขี่)”

home family context pet and sweet boy

home family context pet and sweet boy

70 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

Kinetic Typography คืออะไร? เป็น Motion Graphic หรือเปล่า?

Kinetic Typography คืออะไร? เป็น Motion Graphic หรือเปล่า?
โพสนี้เขียนโดย พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). Kinetic Typography คืออะไร? เป็น Motion Graphic หรือเปล่า? สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/08/19/kinetic-typography/

นักศึกษานิเทศศาสตร์มักจะได้เรียนวิชา Visual Effect หรือ Special Effect และใด้เรียนโปรแกรม Adobe After Effects, Adobe Animate, และ Match Mover

หนึ่งในกิจกรรม หรือ Learning Activities ที่นักศึกษาจะได้ทำคือทำ Animation แบบง่าย ๆ อย่างเช่น Kinetic Typography ซึ่ง Animation ลักษณะนี้ถือเป็น Motion Graphic อย่างหนึ่ง คือการเอาตัวหนังสือมาเคลื่อนที่ไปมาให้น่าสนใจ อาจใช้เพื่อ การนำเสนองาน หรือ Presentation แรือทำ Lyrics Video ซึ่งอาจารย์พราวชอบทำมาก Lyrics Video คือวิดีโอที่มีทั้งเนื้อเพลงและเพลง ผู้ชมหรือ Audiences สามารถร้องและฟังเพลงไปได้พร้อม ๆ กัน

Lyrics Video ที่ดี จะต้องทำให้ Audiences สามารถร้องเพลงได้ทันในทุก ๆ คำ อย่าพยายามทำ Kinetic Typography ให้คำปรากฎที่หน้าจอพร้อม ๆ กับการได้ยินคำในเพลง เพราะนั่นจะทำให้ Audiences ไม่สามารถร้องตามได้ คือ Audiences cannot catch up with the lyrics.

อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เคยทำวิดีโอนี้เป็นตัวอย่างให้นักศึกษารุ่นก่อน ๆ เป็น Kinetic Typography เช่นกัน โดยรวบรวมคำที่ขึ้นต้นด้วย R และ G และ B มา โดยคำในแต่ละชุดจะเป็นคำในหมวดหมู่เดียวกัน เช่น

เกี่ยวกับดนตรีร็อค Rockers, Guitar, Bass
เกี่ยวกับสัตว์จำพวกตุ่นที่กินผักมีหัว Rabbit, Groundhog, Burrow
เกี่ยวกับผลไม้ Rambutan, Grape, Berry
เกี่ยวกับสี Red, Green, Blue

ให้นักศึกษาหาศัพท์อะไรก็ได้ที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน และขึ้นต้นด้วยชุดตัวอักษรดังต่อไปนี้ เลือกมา 1 ชุด และตอบคำถามเป็นศัพท์ 3 คำ ห้ามซ้ำกับเพื่อนที่ตอบมาก่อนคุณ และห้ามซ้ำกับอาจารย์
ชุดที่ 1 R G B
ชุดที่ 2 A B C
ชุดที่ 3 G O D
ชุดที่ 4 W S L
ชุดที่ 5 C P K

ตัวอย่างคำตอบ
“อธิพร 095 เลือก ชุดที่ 1 RGB
สี Red, Green, Blue”

graphic design adobe illustrator

graphic design adobe illustrator

32 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง?

Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง?
Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง?
โพสนี้เขียนโดย พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง? สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/08/18/match-moving/

Match Moving หรือ Matchmoving เป็นเทคนิคพิเศษอย่างหนึ่งในการทำคลิปหรือภาพยนตร์ ซึ่งศิลปินหรือ 3D Artist จะนำแอนิเมชัน (Animation) ไม่ว่าจะเป็น 2 มิติ หรือ 3 มิติ มาใส่ลงในคลิปวิดีโอ ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พราว อรุณรังสีเวช เคยสอนนักศึกษาสาขาวิทยุโทรทัศน์ และสาขาแอนิเมชันทำ ทั้งสองสาขานั้น มีความเข้มงวดเกี่ยวกับการเรียนแอนิเมชันมาก ในช่วงนั้นสาขาวิทยุโทรทัศน์ต้องเรียนแอนิเมชันถึง 2 วิชาต่อเนื่องกัน และสาขาแอนิเมชันเอง ต้องเรียนประมาณ 2-3 วิชาต่อ 1 ภาคเรียน

ก่อนที่ 3D Animation จะเป็นที่นิยม การนำตัวละคร 2 มิติ ไปใส่ในภาพยนตร์ เช่นในเรื่อง Who Framed Roger Rabbit (1988) ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็น Match Moving หรือจนกระทั่ง เทคนิคพื้นฐานใน Adobe After Effects อย่าง Motion Tracking ก็เช่นกัน

ต่อมา ในปัจจุบัน เมื่อเราพูดถึง คำว่า Match Moving ทุกคนรวมทั้งอาจารย์พราว อรุณรังสีเวชเองนั้น ก็จะคิดถึงการนำ 3D Animation หรือ 3D Object วัตถุ 3 มิติ ไปใส่ไว้ในคลิปวิดีโอหรือภาพยนตร์ เสมือนว่าวัตถุนั้นตั้งอยู่ในสถานที่นั้น ๆ จริง ๆ นักศึกษาลองคิดถึงของจำพวกยานอวกาศ หรือ Kaiju กำลังเข้ามาในเมือง

ลองดูวิดีโอที่อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ทำเพื่อเป็นตัวอย่างให้รุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้ว และผลงานของรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้ว จะเห็นได้ว่า วัตถุที่สร้างขึ้นใน Autodesk 3Ds Max หรือ Autodesk Maya ถูกนำไปวางในสถานที่ต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เหมือนว่ามันมีอยู่จริง ๆ

ถ้าจะให้สมจริงยิ่งขึ้น ลองสังเกตุดูสิว่า ศิลปินที่สร้างโมเดล 3 มิติ (3D Model) เหล่านี้ จะใส่เงาที่พื้น (Shadow) และเงาในวัตถุ (Shade) ในด้านเดียวกับที่ควรจะเป็น ประมาณว่า ก่อนที่อาจารย์พราวจะใส่เงา ต้องเข้าไปพิจารณาแสงเงาในวิดีโอก่อน ว่าแดดหรือไฟส่องเข้ามาทางด้านใด

คำถามคือ ในภาพยนตร์ที่นักศึกษาอยากนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการทำ Thesis ปี 4 มีการใช้เทคนิค Match Moving ในฉากใด? ถ้านักศึกษาจำได้ ให้ตอบมาเลย แต่ถ้าเรื่องนั้นไม่มี Match Moving เลย จะถามนักศึกษาว่า ถ้าจะทำ Match Moving ให้ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จะใส่ 3D Model อะไรลงไป

ตัวอย่างคำตอบ
ณัฐภัทร 248 ครั้งก่อนเลือก Darkest Hour เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการทำ Thesis
Darkest Hour ไม่น่าจะมี Match Moving แต่ถ้าจะให้ใส่ลงไป อยากใส่ Animation 3 มิติ ที่เป็น Balloon ความคิดของตัวละครเอก ก่อนที่จะพูดในห้องประชุม

ปล. ถ้า ณัฐภัทร 248 ตอบ ช่วยตอบเป็นวัตถุอื่นที่ไม่เหมือนตัวอย่างนะจ๊ะ

Autodesk 3Ds Max Model โมเดล 3 มิติ ทำเอง

20 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

Personality Traits หรือ จิตลักษณะ มีอะไรบ้าง?

เขียนโดย ผศ.ดร.พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะฟ้องร้อง และดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). Personality Traits หรือ จิตลักษณะ มีอะไรบ้าง? สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/07/31/personality-traits/

Personality Traits หรือ จิตลักษณะ/บุคลิกภาพ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของหัวข้อวิจัยที่นักศึกษาปริญญาตรีอาจเลือกทำ Personality Traits เป็นการสื่อสารภายในตัวบุคคล เรียกว่า Intrapersonal Communication นักศึกษาปริญญาตรีอาจนำ Trait ใด Trait หนึ่งไปจับคู่กับสิ่งที่ตัวเองชอบ และทำวิจัย เมื่อทำเช่นนั้น คุณก็จะรู้สึกสนุกไปตลอดภาคเรียน

เช่น
The Study of One Direction Fans’ Confidence
การศึกษา ความมั่นใจในตนเอง ของ แฟนเพลงวง One Direction
เมื่อจะเก็บข้อมูล คุณก็หาแบบวัดระดับความมั่นใจในตนเอง และนำไปให้แฟน ๆ วง One Direction ทำแบบสอบถาม
The Study of Liverpool Fans’ Loyalty
การศึกษา ความจงรักภักดี ของ แฟนบอลทีม Liverpool
เมื่อจะเก็บข้อมูล คุณต้องตามหาเพื่อนที่เป็นแฟนบอลทีมนี้ และเอาแบบสอบถามที่วัดระดับความภักดีต่อทีมให้เขาทำ

สังเกตว่า อาจารย์พราวจะยกตัวอย่าง เป็นการเก็บข้อมูลจากแฟน ๆ ของสื่อบันเทิง เพราะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่นักศึกษาหาได้ง่าย ถ้านักศึกษาอยากเก็บข้อมูลว่านักฟุตบอลที่ตัวเองชอบเป็นคนอย่างไร นั่นอาจทำได้ยาก ยกเว้นไปวิเคราะห์สิ่งที่เขาโพสใน Social Network

Traits นั้นมีหลากหลายมาก เช่น
Confidence ความมั่นใจในตนเอง
Loyalty ความจงรักภักดี
Honesty ความซื่อสัตย์
Moodiness ความโกรธง่าย หงุดหงิดง่าย
Selfishness ความเห็นแก่ตัว
Risk-taking ความกล้ารับความเสี่ยง ความกล้าเสี่ยง
Sensitivity ความอ่อนไหวง่าย
Empathy ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
Sympathy ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเฉพาะด้านเศร้า
Self-Esteem การเห็นคุณค่าของตนเอง
Seriousness ความเอาจริงเอาจัง
Optimism ความมองโลกในแง่ดี
Nervousness ความตื่นเต้นตกใจง่าย
Extraversion ความสนใจต่อสิ่งภายนอก มักเกี่ยวกับการเข้าสังคม
Introversion ความสนใจตนเอง หมกมุ่นในความคิดตนเอง
Modesty ความประนีประนอม สุภาพ ถ่อมตัว รักษาความสัมพันธ์ต่อผู้อื่น
Self-regulation หรือ Self-control ความสามารถในการควบคุมตนเอง ทั้งทางกายและใจ
Self-Efficacy การเห็นความสามารถของตนเอง
Sincerity ความจริงใจ
Sociability การเข้าหาสังคม
Perceptiveness ความสามารถในการรับรู้ความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น

ขอให้นักศึกษาตอบ 1 คำถาม คือ ถ้าจะทำวิจัยเพื่อศึกษาจิตลักษณะของแฟน ๆ จะใช้จิตลักษณะด้านใด และ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นแฟน ๆ ของใคร
(ตัวอย่างคำตอบ
อยากทำ Loyalty ของแฟนบอล Liverpool
)

Traits จิตลักษณะ บุคคลิกภาพ

74 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

ปริญญาตรี เลือกหัวข้องานวิจัยอะไรดี?

โพสเขียนโดย ผศ.ดร.พราว อรุณรังสีเวช
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). ปริญญาตรี เลือกหัวข้องานวิจัยอะไรดี? สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/07/31/bachelor-research/

นักศึกษาหลายคนที่ข้าพเจ้าเคยสอนมา อาจคิดหัวข้อวิจัยไม่ออก แม้แต่ตัวอาจารย์พราวเอง สมัยเข้ามาเป็นอาจารย์ใหม่ ๆ ก็จะคิดแต่เรื่องน่าเบื่อ ๆ ที่ไม่อยากจะทำ เพราะตัวอย่างที่เราเห็นได้ทั่ว ๆ ไปก็มีแต่เรื่องน่าเบื่อ

แล้วทำไมจึงเบื่อ? ถ้าเราต้องอยู่กับหัวข้อหนึ่ง ๆ เป็นเวลา 1 วัน นั่นไม่น่าเบื่อ แต่การทำวิจัย เราต้องอยู่กับมัน 1 ภาคเรียน ถึง 1 ปี เราจึงควรที่จะเลือกหัวข้อที่ตื่นเต้นจริง ๆ ที่เราจะอยู่กับมันนาน ๆ ได้ โดยไม่เบื่อ

จะยกตัวอย่างนักศึกษาคนนึงที่เคยทำงานด้วย ครั้งแรกเขาก็จะเดินมาหาเรา และบอกชื่อวิจัย

The Study of Plot Structure in Thai Films
การศึกษา โครงสร้างของโครงเรื่อง ใน ภาพยนตร์ไทย

สังเกตว่า ภาษาอังกฤษจะเรียงเหมือนภาษาไทย ยกเว้นตำแหน่ง คำวิเศษ กับ คำนามที่จะต้องสลับที่กัน เช่น
Blue Cat แมวสีน้ำเงิน
Tiny Camera กล้องจิ๋ว

หัวข้อวิจัยดังกล่าว เป็นหัวข้อที่มีความเป็นวิชาการ แต่เราอาจจะอยู่กับมันได้ไม่ถึง 1 ภาคเรียน โดยเฉพาะถ้าเป็นคนขี้เบื่ออย่างอาจารย์พราว จะต้องหาสิ่งที่ตัวเองสนใจและอยากรู้จริง ๆ มาทำวิจัย จึงเกิดคำถามว่า

What do you really like?
แปลว่า คุณชอบอะไรจริง ๆ

และนักศึกษาก็ตอบว่า
I like to listen to music.
แปลว่า ฉันชอบฟังเพลง

แต่นั่นยังไม่พอ เพราะนักศึกษาต้องระบุให้ลึกกว่านั้น เช่น เพลงแนวอะไร หรือศิลปินคนไหน
What kind of music do you like?
แปลว่า คุณชอบฟังเพลงแนวไหน
Who is your favorite artist?
แปลว่า ศิลปินคนโปรดของคุณคือใคร
What is your most favorite band?
แปลว่า วงดนตรีที่ชอบที่สุดคือวงอะไร

และในที่สุด นักศึกษาก็บอกความจริงออกมา
I like Lomosonic.
แปลว่า ผมชอบวงโลโมโซนิก

เราก็เลยได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับวงดนตรีโปรดของนักศึกษา คือเรื่อง
การแสดงออกทางอารมณ์ และ การสื่อความหมายด้วยสัญลักษณ์ ใน มิวสิควิดีโอวงโลโมโซนิค
The Emotion Expression and Symbolic Message in Lomosonic Music Video
(ดูสิ เราแปลตรงตัวตามภาษาไทย แค่สลับ Adj. และ Noun)

ซึ่งทำให้นักศึกษารู้สึกสนุกและมีกำลังใจในการทำวิจัย เพราะได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบจริง ๆ

ยังมีงานวิจัยอีกหลายงานที่อาจารย์พราวได้ทำในสิ่งที่ชอบ และสนุกกับมัน เช่น เรื่อง X-Men, ภาพยนตร์เรื่องฆ่าไถ่อำมหิต, หนังสยองขวัญ, การ์ตูนวาย, เด็กอีโม เป็นต้น

ถ้าเราไม่ได้อยู่สาขาแอนิเมชันหรือภาพยนตร์ เราก็ทำเรื่องน่าสนุกเหล่านี้ได้เช่นกัน ลองตั้งชื่องานวิจัยเล่น ๆ ดู เช่น
Content Analysis in BNK48’s Marketing Communication
การวิเคราะห์เนื้อหา ใน การสื่อสารทางการตลาดของ BNK48
The Study of Pop Bands Logo Design
การศึกษา ตราสัญลักษณ์ของวงดนตรีป๊อบ
The Relationship between Word Count and Popularity of Facebook Post of Cyber-star
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนคำ และ ความโด่งดังของโพสใน Facebook ของเน็ตไอดอล
The Comparison between Celebrity and Brand Ambassador Post on Instagram
การศึกษาเปรียบเทียบ การโพสของดาราและทูตตราสินค้าในอินสตาแกรม
Factors Influencing Facebook Usage in Green Day Fans
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ Facebook ของแฟนเพลงวง Green Day

ให้นักศึกษาลองตั้งชื่องานวิจัยที่อยากทำจริง ๆ 1 ชื่อ ขอให้มีชื่อสิ่งที่ตนเองชอบจริง ๆ อยู่ในชื่องานด้วย ตั้งด้วยตัวเอง ภาษาไทย หรือ อังกฤษก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำได้จริง ๆ แบบว่า แค่อยากทำ

งานวิจัย สนุก ชอบ มีความสุข ไม่น่าเบื่อ

27 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized

ถ้าเราจะพูดว่าเราชอบใครเป็นภาษาอังกฤษ

บทความสั้น ๆ นี้ เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากมีผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการฟ้องร้องและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
อ้างอิงบทความนี้: พราว อรุณรังสีเวช. (2563). ถ้าเราจะพูดว่าเราชอบใครเป็นภาษาอังกฤษ. สืบค้นจาก https://sw-eden.net/2020/07/31/i-like/

มีหลายครั้งในชีวิตเรา ที่เราจะต้องเจอกับคนใหม่ ๆ และแนะนำตัวกัน และสิ่งหนึ่งที่เรามักจะพูดเกี่ยวกับตนเองคือ เราชอบอะไร และเราก็จะถามเพื่อนใหม่ว่า เขาชอบอะไร

เพื่อนใหม่อาจถามอาจารย์พราวว่า
What kind of music do you like?
แปลว่า คุณชอบเพลงแนวไหน
What kind of movie do you like?
แปลว่า คุณหนังเพลงแนวไหน
What genre of fiction do you like to read?
แปลว่า คุณชอบอ่านนวนิยายแนวไหน

และคำตอบที่อาจารย์พราวสามารถตอบได้ สามารถเรียบเรียงได้หลายรูปแบบ เช่น
I am a fan of _______.
แปลว่า ฉันเป็นแฟน(คลับ)ของ _______
I have been a fan of _______ .
แปลว่า แปลว่า ฉันเป็นแฟน(คลับ)ของ _______ (มานานแล้ว)
I am a huge fan of _______.
แปลว่า ฉันเป็นแฟนตัวยงของ _______
I really really like _______. หรือ I like ________ a lot.
แปลว่า ฉันชอบ _______ มาก ๆ
I like ________ .
แปลว่า ฉันชอบ _______
I love ________ .
แปลว่า ฉันรัก _______

ถ้าอาจารย์พราว ตอบคำถามนี้ด้วยรสนิยมของตัวเองในเวลาที่เขียนโพสนี้ ก็จะตอบว่า
I am a fan of Mayday Parade.
แปลว่า ฉันเป็นแฟนของวงเมย์เดย์พาเรด
I really like Punk Music.
แปลว่า ฉันชอบเพลงพังค์มาก
I am a big fan of painting.
แปลว่า ฉันเป็นแฟนตัวยงของงานศิลปะภาพเขียน
I love writing historical fiction.
แปลว่า ฉันรักการเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์

อยากให้นักศึกษาเขียนมาประโยคนึง สั้น ๆ เขียนตามความเป็นจริง ว่าตัวเองชอบอะไร อาจจะระบุเป็นชื่อคน ชื่อทีมบอล ชื่อวงดนตรี กิจกรรมที่ชอบทำ วิชาที่ชอบ อะไรก็ได้ 1 อย่าง

สิ่งที่ชอบ

91 Comments

Filed under Eng2, Uncategorized