Authors and Affiliations
Proud Arunrangsiwed, Animation and Multimedia program, Faculty of Management Science, Suan Sunandha Rajabhat University
อาจารย์ พราว อรุณรังสีเวช ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ดาวโหลดโดยตรง PDF
เข้าดูที่ Researchgate.net
Abstract
In this research, the researcher grew basil by herself more than 450 plants and 381 plants were selected as samples for the research. She spent 10 months to plant and conclude the research. The planting area was 70 square meters in Taweewattana district. The purpose of the research was to find out the way to maximize basil productivity in the same period of time on the same amount of area. The research results will be benefit to the farmers to increase their productivity of planting basil which could increase their income. For the 381 basil plants which were grown up for this research were measured to know the basic information which is height, weight of whole plant without root, weight of the part which can be sold in market, age (up to 11 months) and area usage (calculated by the width and formula of area of circle). After the average weight and average area for each age were calculated, the weight per one square metre per one year was known. The age of basil which could give the highest weight of the part that can be sold is between 100-140 days. And basil will give a small amount of weight of the part that can be sold if it was grown over 9 months.
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ปลูกกะเพราะมากกว่า 450 ต้น และคัดตัวอย่างเพื่อนำมาวัดและชั่งน้ำหนักเป็นจำนวน 381 ต้น งานวิจัยชิ้นนี้กินเวลา 10 เดือน ในพื้นที่ 70 ตารางเมตรในเขตทวีวัฒนาโดยจุดประสงค์ของงานวิจัยคือ เพื่อหาช่วงอายุของกะเพราที่ให้ผลผลิตสูงสุดในพื้นที่เท่ากันและในช่วงเวลาเท่ากัน ผู้วิจัยหวังว่าผลการวิจัยจะสามารถเพิ่มผลผลิตกะเพราให้แก่เกษตรกรเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับพวกเขา สำหรับกะเพราจำนวน 381 ต้นที่ถูกนำมาเป็นตัวอย่าง จะถูกเก็บข้อมูล ดังนี้ น้ำหนักทั้งต้น ไม่รวมราก, น้ำหนักของกิ่งสีเขียวซึ่งเป็นส่วนที่ขายในตลาดและห้างสรรพสินค้า, ความสูง (เพื่อไว้พิจารณาคัดตัวอย่างที่มีรูปร่างผิดปกติ), อายุ, พื้นที่ในการแผ่กิ่งก้านสาขา (คำนวณจากความกว้าง และสูตรพื้นที่วงกลม) หลังจากทราบน้ำหนักเฉลี่ยและพื้นที่ที่ใช้เฉลี่ยแล้ว จะทำให้ทราบว่า ต้นกะเพราที่มีอายุต่าง ๆ กันจะให้ผลผลิตมากเท่าใดในพื้นที่ 1 ตารางเมตร และจากนั้นจะสามารถคำนวณได้ว่าในหนึ่งปีจะได้ผลผลิตมากเท่าใดในพื้นที่ขนาดเดียวกันนั้น ผลของการวิจัยคือช่วงอายุ 100-140 วันจะให้ผลผลิตดีที่สุด และเมื่อหลังจากอายุได้ 9 เดือนจะเริ่มให้ผลผลิตน้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากช่วงอายุ 100-140 วัน ต้นกะเพราจะมีกิ่งเขียวหรือส่วนที่ตัดขายได้เกือบทั้งต้น ทั้งยังใช้พื้นที่ในการปลูกต่อต้นไม่มาก และในหนึ่งปียังสามารถปลูกได้ประมาณ 3 ครั้งในแปลงเดียวกัน
Conference : การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน “การพัฒนาภูมิปัญญาสู่อาเซียน”
Date: 3 สิงหาคม ๒๕๕๖
Publisher: Phetchaburi Rajabhat University
Keywords: Basil, Growing, Agriculture
คำสำคัญ: Basil, Growing, Agriculture
Cite this paper as: Arunrangsiwed, P. (2013). The Crop of Basil Measured by the Growing Age. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน การพัฒนาภูมิปัญญาสู่อาเซียน. Phetchaburi, Thailand: Phetchaburi Rajabhat University.
อ้างอิงเป็นภาษาไทยโดย: พราว อรุณรังสีเวช. (2556). การปลูกกะเพราะตามอายุ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน การพัฒนาภูมิปัญญาสู่อาเซียน. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
References
กะเพรา. (ม.ป.ป.). เรียกใช้เมื่อ 2555 กันยายน 7 จาก ภูมิปัญญาเกษตรกรไทย: http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/กะเพรา
การปลูกกะเพรา . (ม.ป.ป.). เรียกใช้เมื่อ 29 สิงหาคม 2555 จาก สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ: http://www.acfs.go.th/warning/view_Knowledge.php?id=7
เจนจบ ยิ่งสุมล. (2555). สารานุกรม สมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ทสพรบิลเลี่ยนกรุ๊ป.
ประโยชน์ของกะเพราในฐานะผักและอาหาร. (ม.ป.ป.). เรียกใช้เมื่อ 12 กันยายน 2555 จาก สำนักชลประทานที่ : http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/General/Pakinaka/01.htm
มนตรี แสนสุข. เกษตรพอเพียงมนตรี. สำนักพิมพ์ ปราชญ์ .
อังคณา รัตนจันทร์ แปล มิซุงุซิ. ปลูกผักกินเอง – แบ่งได้ ขายได้. สำนักพิมพ์นานมีบุคส์ ADULT.
© Copyright information
Proud Arunrangsiwed