Tag Archives: กฎหมาย

กฎหมายการทำที่จอดรถในสหรัฐอเมริกา

บทความมีลิขสิทธิ์ เขียนโดย สว อิเฎล
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องอ้างอิงอย่างถูกวิธี คือ ผู้เขียน ที่อยู่ URL และวันที่คัดลอก และห้ามมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
อ่านรายละเอียด

ขนาดมาตรฐานของที่จอดรถคันหนึ่งคือ 10 x 20 square feet ตารางฟุตและสำหรับคนพิการ ความกว้างต้องเพิ่มเป็น 15 feet ที่จอดรถที่ดี ต้องมี Circulation หรือวนได้ ไม่ต้องกลับรถเพื่ออกมาทางเดิม ทางตรงกลางรำหว่างที่จอดรถทั้งสองข้างคือ 25 ฟุต (ต่ำสุดคือ 24 ฟุต)

สิ่งที่ต้องระวังในการทำที่จอดรถคือ การทำที่จอดรถขนานกับทางรถวิ่ง (Parallel) ซึ่งอีกฝั่งถนนมีที่จอดรถแบบตั้งฉากกับทางรถวิ่งอยู่ (Perpendicular) สาเหตุคือ คนมักจะถอยรถไม่ระวัง คนที่จอดแบบตั้งฉากมักเป็นผู้ไปชนคนที่จอดแบบขนาน ความเสียหายของคนที่จอดแบบขนานจะมากกว่า เพราะด้านข้างของรถจะไม่แข็งเท่ากันชนด้านหน้า และด้านหลัง

Car Parking in John F. Kennedy in Winter. If you miss one parking, you have to go around the airport again to get the same place.

การทำที่จอดรถยังต้องระวังน้ำขัง ดังนั้นต้องทำความลาดเอียง Slope และวัสดุที่ใช้ปูพื้นก่อนลงคอนกรีต Concrete ต้องไม่ขึ้นสนิม สมับก่อนมีการใช้ แกววาไนต์ (galvanize or galvanite) แต่วัสดุชนิดนี้จะไม่เป็นสนิมก็ต่อเมื่อไม่มีการตัด ปัญหาคือ รอยที่ถูกตัดจะขึ้นสนิม และเมื่อโลหะบวม ก็จะไปดันคอนกรีตให้แตก

**แม้ว่าแกลวาไนต์จะไม่ดีสำหรับที่จอดรถ แต่สามารถใช้เป็นวัสดุกันปลวกได้ โดยทำความโค้งคว่ำออกด้านนอกอาคาร (คิดจาก section)

วัสดุปูที่จอดรถยังสามารถใช้เป็น อิฐรู หรือที่เราเห็นตามบ้าน หรือสวน ที่เป็นบล็อกคอนกรีตมีรูตรงกลางให้หญ้าขึ้น ข้อดีของวัสดุนี้คือ ไม่มีน้ำขัง และมีหญ้าหรือดินอยู่ตรงกลาง สามารถช่วยลดการซึมซึบความร้อน (Radiation Absorb) ทำให้ตัวอาคารใกล้เคียงเย็นลงได้ แต่ข้อเสียคืออาจมีการทรุด หรือพื้นไม่เรียน หลังจากใช้งานเป็นเวลานาน

การวางผังที่จอดรถ ถ้าไม่ใหญ่มากจะทำเป็นตั้งฉากกับทางรถวิ่ง เพราะประหยัดเนื้อที่ สาเหตุที่ต้องประหยัดเนื้อที่เพราะราคาจะมากตามเนื้อที่ โดยเฉพาะประเทศที่มีหิมะ เพราะต้องจ้างคนมาโกย และที่สำคัญ ควรอยู่ใกล้ตึก หรืออาคารให้มากที่สุด

Car Parking in John F. Kennedy in Summer

ถ้าพิจารณาถึงห้าง Mall ใหญ่ ๆ ที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยม และมีที่จอดรถอยู่ด้านบน ทุก ๆ 1 ฟุต ต้องมีความลาดเอียงลงไป 1/4 นิ้วเพื่อให้น้ำไม่ขัง ซึ่งถ้าห้างใหญ่มาก ๆ หรือขนาดที่เราเห็นปกติ อาจต้ิอง Drop ลงไปถึง 8 ฟุต ดังนั้น จึงทำ Slope เป็นช่วง ๆ แต่ก็ต้องมีท่อระบายน้ำ และต้องระวังไม่ให้รั่วลงไปชั้นล่างซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้า ดังนั้นห้างเหล่านี้มักจะซ่อนท่อระบายไว้ตรงกลางเสาอาคาร สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดของการซ่อนท่อไว้ในเสา คือ อย่ามีการหักเลี้ยวของท่อมาก เพราะถึนตันจะเรื่องใหญ่

คำเตือนอีกครั้งสำหรับ แกววาไนต์ (galvanize or galvanite) ถ้าใช้วัสดุนี้ในการทำท่อ เหมือนกับตึกโบราณ โลหะด้านในจะเป็นสนิมบวมออกมาจนเหลือรูระบายน้ำเล็กมาก ดังนั้นปัจจุบันมักใช้ทองแดง (Copper)

Parking area at New Canaan near Philip Johnson Glass House


Suggest to read

Green Architecture Design

Green Roof สวนบนหลังคา ประหยัดพลังงาน

การวางผังเมือง และ New Urbanism

New Urbanism : Thimphu, Bhutan

The Law of Business กฎหมายธุรกิจที่อเมริกา

Cardboard Bridge Structure of William Martin

2 Comments

Filed under Uncategorized

The Law of Business กฎหมายธุรกิจที่อเมริกา

กฎแห่งความยุ่งเหยิง ที่จริงคือกฎหมายธุรกิจ สว อิเฎล มีโอกาสดีได้ไปฟังบรรยายโดย โรนัลด์ เจ แคทเทอร์ (Ronald J. Katter, Attorney at Law) ทนาย และเป็นวิทยากรให้แก่นักเรียนกฎหมายหลาย ๆ สถาบันที่สหรัฐอเมริกา

อาจารย์ของ สว อิเฎล Michael J. Gregorek สอนวิชาประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา และยังเป็นทนาย อีกด้วย ที่จริงแล้ว สว อิเฎล ยังมีอาจารย์อีกหลายคนที่เป็นทนาย ทั้งยังมีข้างบ้านเป็นทนาย

แคทเทอร์ ได้ยกตัวอย่างคดีของการโกยหิมะที่อเมริกา ถ้าหากว่าหิมะยังไม่หยุด แล้วเจ้านายสั่งลูกน้องให้ออกไปโกย และลูกน้องไปลื่นหกล้ม ลูกน้องสามารถฟ้องเจ้านายได้ แต่ถ้าเจ้านายสั่งให้โกยหิมะหลังจากหิมะหยุดแล้ว 3 ชั่วโมง แล้วลูกน้องลื่นหกล้ม ลูกน้องฟ้องเจ้านายไม่ได้ ความเป็นของ สว อิเฎล คือ โดยปกติแล้วเจ้านายก็จะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกน้องเกือบทุกกรณีที่เกิดอุบัติเหตุในบริษัท แคทเทอร์ ยังพูดถึงเพื่อนร่วมงานที่เดินยกของแล้วทำของตกใส่คนอื่น ในลักษณะนี้ที่เป็นอุบัติเหตุ ทางบริษัทจะจ่ายให้ โดยไม่ต้องหาเรื่องเสียเงินไปฟ้องเพื่อนที่ทำผิด


ดูรูปหิมะเพิ่ม คลิกเลย

มีผู้หญิงชาวอเมริกันคนหนึ่ง เดินแล้วขาพลาดตกลงไปในช่องระหว่างพื้นลิฟต์ กับพื้นอาคาร สว เห็นรอยแยกเช่นนี้บ่อยมากใน Subway เธอได้ฟ้องเจ้าของตึกก่อน เจ้าของตึกก็โยนให้ผู้ทำสัญญา (Contractor) และก็โยนต่อไปถึงบริษัทวิศวกรรม โยนไปอีกที่สถาปนิก โยนไปถึงบริษัทรับเทคอนกรีต ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะเป็นทนาย ต้องมีความรู้หลายสาขา หรือในบริษัทเดียวต้องมีทนายมากกว่าหนึ่งคน และแต่ละคนต้องถนัดด้านต่าง ๆ กัน เช่น ถ้าเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์มา ตอนจะต่อปริญญาโท ก็สามารถต่อเป็นด้านทนาย และจบไปเป็นทนายด้านสถาปัตยกรรม

การได้รัยเงินค่าทนาย ที่สหรัฐอเมริกาจะจ่ายเมื่อชนะคดี และถ้าไม่สามารถชนะ client หรือคนจ้างก็จะไม่จ่ายให้ แต่ในระหว่างการเก็บรวยรวมหลักฐาน ทนายสามารถเบิกค่าใช้จ่าย และค่าเดินทางจากผู้จ้างได้ ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเช่น รูปถ่าย คนรถ ค่าเอกสาร

ผู้ที่จะจ่ายเงินให้ทนายคือฝ่ายแพ้ อาจเป็นเฉพาะที่อเมริกา สว ไม่ทราบที่ประเทศไทย

Discrimination หากจะไล่คนออกจากบริษัท เจ้านายสามารถทำได้ทันที ถ้าไม่มีการทำสัญญาว่าจ้าง แม้ว่าพึ่งจะมาทำงานได้วันเดียวเท่านั้น หรือในทางตรงกันข้าม ลูกจ้างก็สามารถลาออกได้ทันทีเช่นกัน แต่ถ้นเป็นการไล่ออกโดยไม่มีเหตุผล ลูกจ้างสามารถฟ้องได้ การไล่ออกอย่างไม่มีเหตุผลมีดังนี้ อายุมาก เหยียดเพศ เหยียดผิด ตั้งท้อง เป็นต้น ส่วนการไล่ออกอย่างมีเหตุผล แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ทำได้ เช่น มาสายประจำ โต๊ะรก แต่งกายไม่เรียบร้อย ใส่ยันส์มาทำงาน สื่อสารไม่รู้เรื่อง เป็นต้น


รูปถ่ายที่พิพิธภัญฑ์ศิลปะที่เมืองหลวง New York. Metropolitan Museum of Art
ดูรูปที่นี่เพิ่ม คลิกเลย


Suggest to read

กฎหมายการทำที่จอดรถในสหรัฐอเมริกา

การวางผังเมือง และ New Urbanism

New Urbanism : Thimphu, Bhutan

The Law of Business กฎหมายธุรกิจที่อเมริกา

1 Comment

Filed under Uncategorized