Tag Archives: คำนวน

การคำนวณเปลี่ยนเลขฐาน 2, 8, 10, 12

ทฤษฎีอ้างอิงจาก หนังสอการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกาปีที่ 3 พุทธศักราช 2544 โดย ดร.ยุทธ ไกยวรรณ์ อาจารย์เอกพจน์ สมุทธานนท์ อาจารย์แน่งน้อย เพ็งน้ำผึ้ง และคณะ
ยกตัวอย่างเพิ่มเติ่ม และอธิบาย ณ Sw-Eden.NET โดย สว อิเฎล


เราคำนวณเลขฐานต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนจำนวนจริงให้เหมาะสมกับการใช้งานในสภาวะต่าง ๆ เช่น เลขฐาน 8 มีประโยชน์ในการมองค่าในความยาวหน่วยเป็น นิ้ว (inch)

เลขฐาน 10

เลขฐานสิบคือเลขที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น
54310 = (5×100)+(4×10)+(3×1)
ให้สังเกตุว่าตัวเลขด้านหลังของแต่ละวงเล็บจะมีค่าเป็นสิบเท่าจากของวงเล็บด้านขวาของมัน และข้อสังเกตุอีกอย่างคือจะมีเลขที่ประกฏในแต่ละหลักเป็น 0-9 เท่านั้น

เลขฐาน 8

หากจะแปลงเลขฐานแปดเป็นเลขฐานสิบ ตัวเลขที่นำมาคูณแต่ละหลัก ก็จะมีค่าเป็นแปดเท่าของวงเล็บด้านขวาเช่นกัน
ลองสังเกตุตัวอย่างนี้ 5438 = (5×64)+(4×8)+(3×1)
และข้อสังเกตุของเลขอีกอย่างคือเลขที่ประกฏในแต่ละหลักเป็น 0-7 เท่านั้น
สว อิิเฎล ขอแสดงความคิดเห็นว่า หากคนเรามีนิ้วมือ 8 นิ้ว ปัจจุบันคงใช้เลขฐาน 8

เลขฐาน 2

หากเป็นเลขฐานสอง ซึ่งเป็นเลขฐานที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และใช้ในการประมวลผลข้อมูล เลขที่ประกฏในแต่ละหลักเป็น 0-1 เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น 101101101 = (1×256)+(0x128)+(1×64)+(1×32)+(0x16)+(1×8)+(1×4)+(0x2)+(1×1)


เลขฐาน 2 เป็นฐานที่ใช้ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งการสร้างคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ใช้ระบบการปิดเปิดสวิตช์ วงจรที่เชื่อมกันคือ 1 และที่ไม่เชื่อมกันคือ 0

เลขฐาน 12

ขอกำหนดให้ 11=A และ 12=B
เลขฐานสิบสองจะมีเลขปรากฏในแต่ละหลักคือ 0-A
ตัวอย่างการคำนวน เช่น 3A6 = (3×144)+(11×12)+(6×1)

1 Comment

Filed under Uncategorized