Tag Archives: ตะเบงชะเวตี้

ในวัยเด็ก ฉันไม่ชอบภาพยนต์เรื่องสุริโยทัย

“ไม่ใช่ไม่ชอบสุริโยทัย แต่ในอดีต สว อิเฎล ไม่ชอบภาพยนต์เรื่องนี้”
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น


ตะเบงชะเวตี้ กับ บุเรงนอง ; สองปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ตองอู
Tabinshwehti and Bayinnaung ; Early Kings of Taungoo Dynasty
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่

ปัจจุบันนี้ สว อิเฎล ยอมรับว่าภาพยนต์เรื่องสมเด็จพระศรีสุริโยทัยเป็นภาพยนต์รุ่นบุกเบิก ไม่แพ้เรื่องบางระจัน กับ นางนาก ภาพยนต์เรื่องนี้ทำให้ชาวต่างชาติมองประเทศไทยในแง่มุมอื่น ที่มิใช่แค่ถนนข้าวสาร หรือแหล่งลามกอย่างที่อิเฎลได้ยินในเสียงภาคเรื่อง Pirates of the Caribbean ตอนที่ภาพยนต์เรื่องสุริโยทัยเข้าในโรงหนัง โรงเรียนพาอิเฎลและเพื่อน ๆ ไปดูกันยกโรงเรียน ครูได้แจกเรื่องย่อให้กับทุกคน เพราะการเปลี่ยนฉากเพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เร็วขนาดนั้น คงทำพวกเด็ก ๆ งงเป็นแน่ อิเฎลก็สงสัยว่าฝรั่งจะดูกันรู้เรื่องหรือไม่ แต่ถึงอย่างไรก็ดีใจที่ชาวต่างชาติได้ดูภาพยนต์เรื่องนี้ หรืออย่างน้อยพวกเขาก็รู้ว่าประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ไม่ใช่ประเทศที่จะใช้เงินทุนมากดขี่กันง่าย ๆ หรือเห็นฝรั่งเป็นพระเจ้า

อ่านประวัติศาสตร์และเรื่องเกี่ยวกับพม่าเพิ่ม
คลิกที่นี่ (Read More about Myanmar)


สิบปีก่อน ตอนที่ภาพยนต์ศรีสุริโยทัยฉายอยู่ในโรง อิเฎลมีกระดาษสำหรับจดตอนที่นั่งดูภาพยนต์อยู่ อิเฎลคิดถึงมันขึ้นมาในวันนี้ โรงหนัง World Trade มีเครื่องปรับอากาศเย็นเฉียบ จึงไปคุ้ยกองกระดาษเก่า ๆ สมัยเรียนมัธยมต้น แต่ไม่เจอกระดาษที่ตัวเองเขียน กลับไปเจอเรื่องย่อที่ครูแจก อิเฎลก็จะขอเล่า เท่าทีจำได้ว่าเคยเขียนลงไป ตอนนั้นเขียนไปหนึ่งหน้ากระดาษ A4 เต็ม ๆ

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

รอบ พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
Around Shwedagon Pagoda
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่

ภาพยนต์เริ่มสงครามครั้งแรกที่ไทยรบกับพม่า คือศึกเมืองเชียงกราน ที่อิเฎลเคยทราบมา พม่าไม่มีปืนใหญ่ และศึกครั้งนั้นพม่าไม่มีทหารโปรตุเกสมาด้วย เพราะการรุกล้ำดินแดนเป็นเพียงการตามทหารมอญ แต่ประเทศมีทหารโปรตุเกศแน่นอนเพราะมีการเตรียมการก่อน ในภาพยนต์สร้างว่าพม่ามีปืนใหญ่ และระดมยิงฝ่ายสยาม อิเฎลก็สงสัย เมื่อถึงฉากสำคัญเมื่อสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจะออกรบ ในภาพยนต์ไม่ได้สร้างเหมือนที่เคยเรียนมาสมัยประถม ที่ว่าท่านออกรบโดยพระมหาจักรพรรดิไม่ทราบ อิเฎลยังสงสัยอีกว่า ถ้าพระมหาจักรพรรดิทราบจริง ทำไมถึงยอมให้พระชายาออกรบได้ ห่วงใยกันหรือไม่ สงครามครั้งนั้น ในภาพยนต์มิได้กล่าวถึงศึกเมืองทวาย ที่สยามไปรุกรานพม่าก่อน และยึดเอาเมืองทวายไว้ ทำให้พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ต้องลองถามขอช้างเผือกเชือกหนึ่ง ว่าสยามต้องการสันติภาพหรือไม่

อิเฎล พยายามไม่สนใจว่าการเรียกชื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้จะผิดเพี้ยนไปอย่างไร เพราะปัจจุบันอิเฎลไม่ได้ใส่ใจกับการเรียกชื่อมาก คำว่า “เมงตยายเวที” ที่มีความหมายว่า “พระมหาธรรมราชาฉัตรทอง” เป็นชื่อหลังขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งคำว่า “เมง” (Min) ก็คือคำว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” อยู่แล้ว อิเฎลจำได้ว่าในเรื่องสุริโยทัยนี้ เรียกพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ว่า “พระเจ้าเมงตยายเวที” อิเฎลไม่ทราบว่าจำผิดหรือไม่

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

พระพม่ากำลังฉัน
Burmese Buddish Monks are eating.
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่

เรื่องใหญ่ ๆ ที่คิ้วของ อิเฎล ผูกติดกันเป็นปม คือ ตอนพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สั่งให้ทหารยิงทำลายบ้านเมือง อิเฎลทราบมาว่าไม่ใช่นิสัยของตะเบงชะเวตี้ที่จะยิงปืนใหญ่ใส่ชาวบ้านที่ไม่มีทางสู้เอาอย่างนั้น ตะเบงชะเวตี้ทำบุญอยู่เสมอ เรื่องรบก็คือรบ ไม่ใช่เรื่องทำร้ายผู้คนไร้อาวุธ

การแต่งกายของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้นั้นทำเอา อิเฎล ช็อคไปเป็นปีเลยทีเดียว ไม่รู้ว่าเหตุใดจึงต้องทำให้ท่านเหมือน กระเทย/ตุ๊ด/เกย์ ขนาดนี้ มันเหมือนจะมีปัญหาอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ถึงให้ตะเบงชะเวตี้วิปริตจริงก็คงไม่เป็นไปได้ขนาดนั้น อิเฎลไม่เคยคิดว่าคนที่ชำนาญการสงคราม อยู่กับค่ายทหารมาตลอด จะมีการแต่งหน้าแต่งตัวเหมือน….. ภาพลักษณ์ของกษัตริย์แห่งพม่าและมอญ ที่ไม่ประหารใครเอาง่าย ๆ กลับดูเหี้ยมโหด ไม่เป็นมิตรเอาเสียเลย คนที่น่าจะเหี้ยมโหดกว่าเห็นควรจะเป็นบุเรงนอง แต่เมื่อ อิเฎล ได้ดูภาพยนต์เรื่องนเรศวร บุเรงนองก็ดูใจดีแปลก ๆ แถมประเสริฐกับชาวสยามอย่างสุด ๆ ซึ่งความจริง บุเรงนองประหารข้าศึกง่ายกว่าตะเบงชะเวตี้เสียอีก อยากให้ลองอ่านโคลงกลอนที่คนไทยโบราณเขาเขียนกัน

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

สิงห์ สัญลักษณ์แห่งพ่อของพม่า
Lion is the symbol of father for Burmese.
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่

สิบปีที่แล้ว ที่ โรงหนัง World Trade มีเครื่องปรับอากาศเย็นเฉียบ แต่ภาพยนต์เรื่องนี้ทำเอา อิเฎล เหงื่อตก กระดาษที่จดเปียกทั้งใบเลย อิเฎล เดินออกมากับเพื่อน ๆ ทั้งตัวสั่น รู้สึกเหมือนจิตใจกระทบกระเทือนมาก ความเห็นของอิเฎลนั้น คือ เมื่อพม่ายกทัพกลับไปเพราะสมเด็จพระศรีสุริโยทัยสิ้นพระชนต์ คือการแสดงความเป็นสุภาพบุรุษของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ เมื่อตะเบงชะเวตี้ยกทัพไปจะเก็บเมืองอื่นแทนแล้ว พระมหาจักรพรรดิกลับให้โอรสสองพระองค์ไปตามจะฟาดฟันทัพเขาอีก อิเฎลไม่สามารถเอ่ยออกมาเป็นคำพูด ณ ที่นี้ได้ ขออภัย ในที่สุดทั้งสองได้ถูกจับเป็นตัวประกัน อิเฎลวิจารณ์ ขออภัยอีกครั้ง

ถ้าให้ อิเฎล สร้างภาพยนต์เอง แล้วเอาให้ทั้งสองฝ่ายดูดีไปซะหมด ภาพยนต์ก็ไม่สนุก อิเฎล เข้าใจว่าการที่บทของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้มีความเหี้ยมโหด เพราะเป็นการสร้างสีสันให้ภาพยนต์มีอรรธรส ไม่ว่าบุคลิกของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้จะเป็นเช่นไรในภาพยนต์ศรีสุริโยทัยเรื่องนี้ หรือจนกระทั่ง นายมังตรา ในเรื่องผู้ชนะสิบทิศ ที่ดูจะเอาแต่ใจตัวเอง อิเฎล คิดว่าการสร้างตัวละครตัวนี้ขึ้น คือการสร้างสัญลักษณ์เปรียบเทียบให้รู้ว่าตัวเอกฝ่ายดีนั้นดีขนาดไหน โดยอะไรที่ไม่ดีสุด ๆ ก็เอามาลงที่ตะเบงชะเวตี้ ถึงอย่างไรก็ตาม อิเฎลอ่านประวัติของตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์ผู้นี้ฉลาดเหมือนชาวมอญในเรื่องราชาธิราช กล้าหาญแต่ใจเย็น รักชีวิตทหารเป็นที่สุด และรักชาวมอญเหมือนรักตัวเอง

ตะเบงชะเวตี้เป็นนัตหลวง ไม่ว่าภาษาไทยจะเรียกว่าผีหรือวิญญาณ แต่ของให้ระลึกว่่าท่านเป็นเทพขึ้นกับพระอินทร์ ตะเบงชะเวตี้คงใจดีมากที่ให้เรา ๆ ท่าน ๆ นำท่านมาแต่งเติมอะไรต่อมิอะไรที่ไม่ดีนัก และเผยแพร่สู่สายตาสาธารณชน ทุกครั้งที่เราทุกคนเห็นท่านในบทบาทใดก็ตามและเรารู้สึกสนุก หัวเราะ เราควรขอบคุณท่านเป็นอย่างน้อยที่สุด

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

ผีเสื้อราตรี ภาพถ่ายในพม่า Myanmese Moth
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่

3 Comments

Filed under Uncategorized

12 วิธีเรียกชื่อของ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้

อ่านประวัติศาสตร์และเรื่องเกี่ยวกับพม่าเพิ่ม
คลิกที่นี่ (Read More about Myanmar)


สาเหตุที่ต้องรู้การเรียกชื่อที่ต่าง ๆ กันของบุคคลที่อิเฎลสนใจนั้น มีประโยชน์ในการอ่านพงศาวดารจากชาติที่แตกต่างกันและบทความเป็นภาษาอื่น นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกสำหรับการลงเสียงสัมผัสอักษรและสระในการแต่งกลอนอีกด้วย

**อนุญาตให้คัดลอกไปใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น และต้องอ้างอิง URL ของหน้าเว็ปนี้

อิเฎลนำมาสรุปเพื่อให้เป็นเกล็ดความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ มี 12 ข้อดังนี้

1. ตะเบงชะเวตี้ เป็นชื่อแรกเกิด แปลว่า สุวรรณเอกฉัตร สะกดเป็นภาษาอังกฤษคือ Tabinshwehti อ่านว่า ตะบินชะเวที ถ้าคุยกับคนพม่า พูดในสำเนียงนี้เขาจะรู้เรื่องกว่าที่จะพูดว่า ตะเบงชะเวตี้
2. สุวรรณเอกฉัตร จากข้อ 1
3. The Solitary of Golden Umbrella แปลว่า สุวรรณเอกฉัตร ที่อิเฎลเขียนในข้อ 1
4. เมงตยายเวที เป็นชื่อเมื่อขึ้นครองราชย์ที่เมืองตองอู แปลว่า พระมหาธรรมราชาฉัตรทอง ดังนั้นการเรียก “พระเจ้าเมงตยายเวที” ถือว่าเป็นการเรียกที่ซ้ำซ้อน ให้เรียกว่า “เมงตยายเวที” โดยไม่ต้องมีคำว่า “พระเจ้า” จึงจะเหมาะสม
5. Mintayashweehti สะกดเป็นภาษาอังกฤษจากข้อ 4 อ่านว่า มินตยายเวที อิเฎลเรียกท่านสั้น ๆ ว่ามินตยา บางครั้งเรียก มินทรา ในบทกลอน
6. พระมหาธรรมราชาฉัตรทอง เขียนจากข้อ 4 อิเฎลเตือนว่าเป็นชื่อคล้ายกับพระเจ้าพิษณุโลกในสมัยเดียวกัน หรือพระบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
7. มังตรา หรือ พระเจ้าฝรั่งมังตรา เป็นชื่อเรียกย่อมาจากคำว่า “เมงตยา”
8. มังโสธิ์ อิเฎลคิดว่าเป้นชื่อที่มอญเรียก อิเฎลเคยใช้ในกลอนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
9. พระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ เป็นชื่อเรียกหลังจากที่ตะเบงชะเวตี้ขึ้นครองเมืองหงสาวดี ซึ่งเติมคำว่า “ลิ้นดำ” ลงไปเพื่อไม่ให้สับสนเพราะในพงศาวดารจะเขียนเฉพาะคำว่า “พระเจ้าหงสาวดี” ซึ่งแต่ละสมัยจะเป็นคนละคน
10. พระเจ้าลิ้นดำ แปลเป็นภาษาพม่า อ่านว่า ชาเนมิน
11. ชาเนมิน หรือ ชาเนเมง จากข้อ 10 สะกดเป็นคำอ่านภาษาอังกฤษว่า chanemin อิเฎลเปิดจากพจนานุกรมภาษาพม่า
12. มังส่วย หรือ มินซูเว เป็นคำที่เพี้ยนมาจาก “มัง” ซึ่งแปลว่า “พระราชา” และ “ชเว” (shwei) ซึ่งแปลว่า “ทอง”

“ถ้าสงสัยหรือมีข้อโต้แย้งใด ๆ ขอให้ใช้ถ้อยคำที่น่าเชื่อถือ และสุภาพ” สว อิเฎล 😉


พระธาตุมุเตา หรือชเวมอดอ
เป็นที่ที่ตะเบงชะเวตี้เลือกมาเจาะพระกรรณ (เจาะหู)
ดูรูปอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ พม่า

ขอบคุณพจนานุกรม “Practical Myanmar”; หนังสือพงศาวดารพม่า; และ หนังสือภูมิหลังของพม่า โดยไพโรจน์ โพธิ์ไทร, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2518

**อนุญาตให้คัดลอกไปใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น และต้องอ้างอิง URL ของหน้าเว็ปนี้

~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
คุณรู้จัก Black Tongue : The Animation หรือยัง?
มันคือการ์ตูนสั้น กำลังถูกดัดแปลงให้เป็นเกมส์ online ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในฤดูหนาวปี 2011
มีโครงเรื่องมาจากบทประพันธ์ของ สว อิเฎล
เชิญชมได้ ณ ที่นี้

1 Comment

Filed under Uncategorized