Tag Archives: พิการ

กฎหมายการทำที่จอดรถในสหรัฐอเมริกา

บทความมีลิขสิทธิ์ เขียนโดย สว อิเฎล
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องอ้างอิงอย่างถูกวิธี คือ ผู้เขียน ที่อยู่ URL และวันที่คัดลอก และห้ามมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
อ่านรายละเอียด

ขนาดมาตรฐานของที่จอดรถคันหนึ่งคือ 10 x 20 square feet ตารางฟุตและสำหรับคนพิการ ความกว้างต้องเพิ่มเป็น 15 feet ที่จอดรถที่ดี ต้องมี Circulation หรือวนได้ ไม่ต้องกลับรถเพื่ออกมาทางเดิม ทางตรงกลางรำหว่างที่จอดรถทั้งสองข้างคือ 25 ฟุต (ต่ำสุดคือ 24 ฟุต)

สิ่งที่ต้องระวังในการทำที่จอดรถคือ การทำที่จอดรถขนานกับทางรถวิ่ง (Parallel) ซึ่งอีกฝั่งถนนมีที่จอดรถแบบตั้งฉากกับทางรถวิ่งอยู่ (Perpendicular) สาเหตุคือ คนมักจะถอยรถไม่ระวัง คนที่จอดแบบตั้งฉากมักเป็นผู้ไปชนคนที่จอดแบบขนาน ความเสียหายของคนที่จอดแบบขนานจะมากกว่า เพราะด้านข้างของรถจะไม่แข็งเท่ากันชนด้านหน้า และด้านหลัง

Car Parking in John F. Kennedy in Winter. If you miss one parking, you have to go around the airport again to get the same place.

การทำที่จอดรถยังต้องระวังน้ำขัง ดังนั้นต้องทำความลาดเอียง Slope และวัสดุที่ใช้ปูพื้นก่อนลงคอนกรีต Concrete ต้องไม่ขึ้นสนิม สมับก่อนมีการใช้ แกววาไนต์ (galvanize or galvanite) แต่วัสดุชนิดนี้จะไม่เป็นสนิมก็ต่อเมื่อไม่มีการตัด ปัญหาคือ รอยที่ถูกตัดจะขึ้นสนิม และเมื่อโลหะบวม ก็จะไปดันคอนกรีตให้แตก

**แม้ว่าแกลวาไนต์จะไม่ดีสำหรับที่จอดรถ แต่สามารถใช้เป็นวัสดุกันปลวกได้ โดยทำความโค้งคว่ำออกด้านนอกอาคาร (คิดจาก section)

วัสดุปูที่จอดรถยังสามารถใช้เป็น อิฐรู หรือที่เราเห็นตามบ้าน หรือสวน ที่เป็นบล็อกคอนกรีตมีรูตรงกลางให้หญ้าขึ้น ข้อดีของวัสดุนี้คือ ไม่มีน้ำขัง และมีหญ้าหรือดินอยู่ตรงกลาง สามารถช่วยลดการซึมซึบความร้อน (Radiation Absorb) ทำให้ตัวอาคารใกล้เคียงเย็นลงได้ แต่ข้อเสียคืออาจมีการทรุด หรือพื้นไม่เรียน หลังจากใช้งานเป็นเวลานาน

การวางผังที่จอดรถ ถ้าไม่ใหญ่มากจะทำเป็นตั้งฉากกับทางรถวิ่ง เพราะประหยัดเนื้อที่ สาเหตุที่ต้องประหยัดเนื้อที่เพราะราคาจะมากตามเนื้อที่ โดยเฉพาะประเทศที่มีหิมะ เพราะต้องจ้างคนมาโกย และที่สำคัญ ควรอยู่ใกล้ตึก หรืออาคารให้มากที่สุด

Car Parking in John F. Kennedy in Summer

ถ้าพิจารณาถึงห้าง Mall ใหญ่ ๆ ที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยม และมีที่จอดรถอยู่ด้านบน ทุก ๆ 1 ฟุต ต้องมีความลาดเอียงลงไป 1/4 นิ้วเพื่อให้น้ำไม่ขัง ซึ่งถ้าห้างใหญ่มาก ๆ หรือขนาดที่เราเห็นปกติ อาจต้ิอง Drop ลงไปถึง 8 ฟุต ดังนั้น จึงทำ Slope เป็นช่วง ๆ แต่ก็ต้องมีท่อระบายน้ำ และต้องระวังไม่ให้รั่วลงไปชั้นล่างซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้า ดังนั้นห้างเหล่านี้มักจะซ่อนท่อระบายไว้ตรงกลางเสาอาคาร สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดของการซ่อนท่อไว้ในเสา คือ อย่ามีการหักเลี้ยวของท่อมาก เพราะถึนตันจะเรื่องใหญ่

คำเตือนอีกครั้งสำหรับ แกววาไนต์ (galvanize or galvanite) ถ้าใช้วัสดุนี้ในการทำท่อ เหมือนกับตึกโบราณ โลหะด้านในจะเป็นสนิมบวมออกมาจนเหลือรูระบายน้ำเล็กมาก ดังนั้นปัจจุบันมักใช้ทองแดง (Copper)

Parking area at New Canaan near Philip Johnson Glass House


Suggest to read

Green Architecture Design

Green Roof สวนบนหลังคา ประหยัดพลังงาน

การวางผังเมือง และ New Urbanism

New Urbanism : Thimphu, Bhutan

The Law of Business กฎหมายธุรกิจที่อเมริกา

Cardboard Bridge Structure of William Martin

2 Comments

Filed under Uncategorized

การวางผังเมือง และ New Urbanism

บทความมีลิขสิทธิ์ เขียนโดย สว อิเฎล
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องอ้างอิงอย่างถูกวิธี คือ ผู้เขียน ที่อยู่ URL และวันที่คัดลอก และห้ามมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
อ่านรายละเอียด

สมัยโบราณการคมนาคมทำกันทางน้ำ การขุดคลองครั้งแรกจาก Chicaco ไป New York ทำให้เบีย์ถูกลง 80% คนที่ร่ำรวยจะมีบ้านอยู่ตามที่ราบลุ่ม เพราะสะดวกสะบาย ไม่ต้องเดินขึ้นเขา แต่พวกคนจนจะอยู่ตามภูเขา

การวางผังเมื่อที่ราบลุ่มกับบนภูเขาก็แตกต่างกัน ที่ราบลุ่มมักทำเป็น Grid แต่บนภูเขาทำเป็น Curvilinear Linear คือ ทุกถนนไม่จำเป็นต้องทะลุไปอีกฝั่ง เพราะต้องตัดถนนตามความสูง และความโค้งเว้าของภูเขา California มีการวางผังเมืองที่แปลก เพราะยังคงการใช้ Grid แม้ว่าหลายส่วนของเมื่องจะเป็นภูเขาที่มีความชันมาก ข้าพเจ้าเคยไปที่นั่นมา และไม่เข้าใจว่าจอดรถกันได้อย่างไร ไม่ไหล

Sky Scrapper in New York City

การวางฝังเมือง เป็นแบบ Linear มีความใกล้เคียงกับ Curvilinear Linear แต่เป็นระบบมากกว่า ตัวอย่างของผังเมือง Linear เช่น มีถนนหลัก 2 เส้น แต่ซอยจากทั้งสองถนนไม่ได้ทะลุถึงกัน ทั้งนี้เพื่อทำให้พื้นที่ระหว่างกลางเป็นพี้นที่สีเขียว หรืออาจเป็นทางคนเดินที่ไม่มีรถมารบกวน (Pedestrian Walk)

ปัจจุบันมี New Urbanism ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาก โดยมีการวางผังเมืองเป็นระบบระเบียบ ไม่ใช่แค่มีการทำเป็น Grid หรือ Radial System แต่ยังมีการแบ่ง Zoning (Zone = โซน) มีเขตที่อยู่อาศัย กับเขตทำงาน หรือจนกระทั้ง จัดการกับ Traffic การจราจร ให้มีถนนหลักเชื่อมในย่านอาคารพาณิชย์ (Commercial District) ตัวอย่างการทำ New Urbanism ยุคเริ่มแรก คือ Lincoln Center ซึ่งซื้อตึกรอบ ๆ สร้าง Neighborhood ของตัวเอง และ Yale University ใน Connecticut

Lincoln Center, Manhattan, New York City

ห้างในตัวเมืองของประเทศไทยมักที่ที่จอดรถให้ แต่ที่ New York City ไม่ได้มีกฎหมายบังคับ ทำให้ห้างส่วนใหญ่ไม่มีที่จอดรถ และผู้ที่มีรถ ต้องจ่ายเงินให้บริษัทที่จอดรถแทน ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้คนในเมืองขับรถ เพราะมี Subway และ รถประจำทางที่ทั่วถึง และยิ่งกว่านั้น ยังต้องการให้คนหันมาขี่จักรยาน โดยเริ่มทำทางจักรยานพิเศษขึ้นมาใหม่ในปลายปี 2009 อยู่ด้านตะวันออกของ Broadway และมีที่นั้งพักระหว่างทางจักรยานกับถนนรถวิ่ง แต่ยังไม่ได้ครบทั้งถนน

หากไม่ใช่ในตัวเมือง กฎหมายบังคับให้มีที่จอดรถ โดยต้องมีสำหรับคนพิการด้วย ซึ่งบอกขนาดไว้ด้านต้นของบทความแล้ว นอกจากที่จอดรถที่ใหญ่ขึ้น ยังต้องมีทางลาดสำหรับรถเข็นให้คนพิการเข็นขึ้นเองได้ คือ Slope 1/10 เป็นอย่างมากที่สุด ห้ามชันกว่านั้น และทางคนพิการต้องเป็น 5 feet เสมอ ไม่ว่าจะขนาดทางเท้า หรือห้องน้ำ

Subway in New York City


Suggest to read

Green Architecture Design

Green Roof สวนบนหลังคา ประหยัดพลังงาน

กฎหมายการทำที่จอดรถในสหรัฐอเมริกา

New Urbanism : Thimphu, Bhutan

The Law of Business กฎหมายธุรกิจที่อเมริกา

Cardboard Bridge Structure of William Martin

1 Comment

Filed under Uncategorized