Tag Archives: มังตรา

12 วิธีเรียกชื่อของ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้

อ่านประวัติศาสตร์และเรื่องเกี่ยวกับพม่าเพิ่ม
คลิกที่นี่ (Read More about Myanmar)


สาเหตุที่ต้องรู้การเรียกชื่อที่ต่าง ๆ กันของบุคคลที่อิเฎลสนใจนั้น มีประโยชน์ในการอ่านพงศาวดารจากชาติที่แตกต่างกันและบทความเป็นภาษาอื่น นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกสำหรับการลงเสียงสัมผัสอักษรและสระในการแต่งกลอนอีกด้วย

**อนุญาตให้คัดลอกไปใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น และต้องอ้างอิง URL ของหน้าเว็ปนี้

อิเฎลนำมาสรุปเพื่อให้เป็นเกล็ดความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ มี 12 ข้อดังนี้

1. ตะเบงชะเวตี้ เป็นชื่อแรกเกิด แปลว่า สุวรรณเอกฉัตร สะกดเป็นภาษาอังกฤษคือ Tabinshwehti อ่านว่า ตะบินชะเวที ถ้าคุยกับคนพม่า พูดในสำเนียงนี้เขาจะรู้เรื่องกว่าที่จะพูดว่า ตะเบงชะเวตี้
2. สุวรรณเอกฉัตร จากข้อ 1
3. The Solitary of Golden Umbrella แปลว่า สุวรรณเอกฉัตร ที่อิเฎลเขียนในข้อ 1
4. เมงตยายเวที เป็นชื่อเมื่อขึ้นครองราชย์ที่เมืองตองอู แปลว่า พระมหาธรรมราชาฉัตรทอง ดังนั้นการเรียก “พระเจ้าเมงตยายเวที” ถือว่าเป็นการเรียกที่ซ้ำซ้อน ให้เรียกว่า “เมงตยายเวที” โดยไม่ต้องมีคำว่า “พระเจ้า” จึงจะเหมาะสม
5. Mintayashweehti สะกดเป็นภาษาอังกฤษจากข้อ 4 อ่านว่า มินตยายเวที อิเฎลเรียกท่านสั้น ๆ ว่ามินตยา บางครั้งเรียก มินทรา ในบทกลอน
6. พระมหาธรรมราชาฉัตรทอง เขียนจากข้อ 4 อิเฎลเตือนว่าเป็นชื่อคล้ายกับพระเจ้าพิษณุโลกในสมัยเดียวกัน หรือพระบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
7. มังตรา หรือ พระเจ้าฝรั่งมังตรา เป็นชื่อเรียกย่อมาจากคำว่า “เมงตยา”
8. มังโสธิ์ อิเฎลคิดว่าเป้นชื่อที่มอญเรียก อิเฎลเคยใช้ในกลอนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
9. พระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ เป็นชื่อเรียกหลังจากที่ตะเบงชะเวตี้ขึ้นครองเมืองหงสาวดี ซึ่งเติมคำว่า “ลิ้นดำ” ลงไปเพื่อไม่ให้สับสนเพราะในพงศาวดารจะเขียนเฉพาะคำว่า “พระเจ้าหงสาวดี” ซึ่งแต่ละสมัยจะเป็นคนละคน
10. พระเจ้าลิ้นดำ แปลเป็นภาษาพม่า อ่านว่า ชาเนมิน
11. ชาเนมิน หรือ ชาเนเมง จากข้อ 10 สะกดเป็นคำอ่านภาษาอังกฤษว่า chanemin อิเฎลเปิดจากพจนานุกรมภาษาพม่า
12. มังส่วย หรือ มินซูเว เป็นคำที่เพี้ยนมาจาก “มัง” ซึ่งแปลว่า “พระราชา” และ “ชเว” (shwei) ซึ่งแปลว่า “ทอง”

“ถ้าสงสัยหรือมีข้อโต้แย้งใด ๆ ขอให้ใช้ถ้อยคำที่น่าเชื่อถือ และสุภาพ” สว อิเฎล 😉


พระธาตุมุเตา หรือชเวมอดอ
เป็นที่ที่ตะเบงชะเวตี้เลือกมาเจาะพระกรรณ (เจาะหู)
ดูรูปอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ พม่า

ขอบคุณพจนานุกรม “Practical Myanmar”; หนังสือพงศาวดารพม่า; และ หนังสือภูมิหลังของพม่า โดยไพโรจน์ โพธิ์ไทร, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2518

**อนุญาตให้คัดลอกไปใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น และต้องอ้างอิง URL ของหน้าเว็ปนี้

~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
คุณรู้จัก Black Tongue : The Animation หรือยัง?
มันคือการ์ตูนสั้น กำลังถูกดัดแปลงให้เป็นเกมส์ online ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในฤดูหนาวปี 2011
มีโครงเรื่องมาจากบทประพันธ์ของ สว อิเฎล
เชิญชมได้ ณ ที่นี้

1 Comment

Filed under Uncategorized