@ อ่านบทความ ช่วงต้นก่อนหน้านี้ คลิกที่นี่
สว อิเฎล ไม่เหมือนกับสิ่งที่งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบอยู่อย่างหนึ่งคือ สว อิเฎลชอลเล่น Code จำพวก CSS กับ Javascript โดย copy และเอามาวาง แต่จริง ๆ เขียน Javascript ไม่เป็น ส่วน CSS นั้นเป็นอยู่บ้าง ช่วงนั้น สว อิเฎล ก็พยายามพัฒนาตนเองโดยส่งตัวเองไปเรียน Flash เพื่อมาทำเว็บไซต์ แต่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ ซึ่งภายหลัง ฝันดังกล่าวมาเป็นจริงคือ ตอนเรียนปริญญาโท ที่ทำให้ สว อิเฎล สามารถเขียน Actionscript 3 ประกอบ Flash Website ได้
สมัยนั้น สว อิเฎลจะติดต่อกับเพื่อด้วย e-mail และ MSN ตลอดจนเล่น net send ในห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน ในระยะที่คุยกันได้ เราและเพื่อน ๆ ยังเล่น MSN กัน เพราะเห่อ Technology ตอนนั้นเป็นเวลาที่ สว อิเฎลซื้อ Flash Drive ตัวแรก ราคาประมาณ 4500 บาท ความจุเพียง 128 MB ในบทความที่ศึกษาบอกว่า วัยรุ่นบางคนขี้เกียจอธิบายว่าตนเองคือใคร ในขณะที่ chat กับเพื่อนที่ตนไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้นเขาจึงสร้าง home page และให้ Link กับเพื่อนใหม่ ให้เข้าไปดูว่าเขาคือใคร ทั่ว ๆ ไปแล้ว วัยรุ่นมักจะมีรูปสิ่งที่ตนเองชอบ เช่น วงดนตรี หนังสือ ดารา สิ่งที่ชอบ โดยรูปภาพเหล่านี้ได้มาจากการ copy จากเว็บไซต์อื่น และนำมาแปะในเว็บไซต์ตนเอง ในเวลานั้นเป็นช่วงแรก ๆ ของการใช้เว็บไซต์ ทำให้ไม่มีการควบคุมเรื่องลิขสิทธิ์มากเท่าที่ควร วัยรุ่นเหล่านี้ติดเป็นนิสัยในการคัดลอกงานของคนอื่น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะข้อมูลในสื่อเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สามารถถูก Copy ได้ง่ายกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไป จนกระทั่งปัจจุบันที่ สว อิเฎล เป็นอาจารย์ สว อิเฎล พบว่านักศึกษาก็ติดนิสัย copy ข้อมูลในเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน แถมอ้างอิงในบรรณานุกรมว่า Google.com (เครียดเลย)
การแบ่งประเภทเว็บไซต์ ซึ่ง สว อิเฎลเคยให้ นักศึกษาทำกิจกรรมในชั้นเรียน ได้รวมถึงการแบ่งประเภทตามความถี่ในการ Update ข้อมูล ซึ่งในบทความที่นำมาศึกษานี้ ได้มีกราฟแสดง Public/Private เทียบกับ ความนิ่งและความทันทีทันใดในการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ซึ่งในบทความยังพูดถึงความถี่ในการ Update ข้อมูลของ วัยรุ่นภาพรวม
ถ้าใครชอบ Angelina Jolie จะทราบว่าเธอเคยพูดถึงความสวยงามของเวลา คือเธออยากจะมีอายุอยู่ถึงได้เห็นหลานของเธอวิ่งไปวิ่งมา โดยเธอเป็นคุณยาย และมองไปยังบ้านของลูก ๆ ที่ตั้งอยู่ถัดจากบ้านของเธอ, ในสื่อเว็บไซต์ก็สามารถสื่อสารความสวยงามของเวลานี้ได้เช่นกัน คนเราไม่เคยเป็นคนเดิม สว อิเฎลในวันนี้ ไม่ใช่ สว อิเฎล เมื่อสิบปีที่แล้ว ดังนั้นการย้อนไปมองเว็บไซต์เก่า ๆ หรือ โพสเก่า ๆ ใน Facebook หรือ hi5 ทำให้เราสามารถมองเห็นตัวเราในอดีต สมัยที่สว อิเฎลทำเว็บไซต์รุ่นเก่าที่เขียนด้วย HTML ปกติเรา ๆ ท่าน ๆ จะ update เว็บไซต์อย่างน้อยเดือนละครั้ง แค่เดือนละครั้ง เรายังสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงของเราเมื่อเดือนที่แล้ว และเราในปัจจุบัน เพราะถ้าเราเหมือนเดิมทุกประการ เราจะไม่มีความรู้สึกอยากที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์ นี่แหละที่ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล บอกว่าคนเราเคยชินและชื่นชอบความไม่เที่ยงมากกว่าความเที่ยง
ในบทความวิจัยที่นำมาศึกษานี้ แนะนำว่างานวิจัยในอนาคต ควรศึกษาด้วยวิธี Longitudinal Design เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง Update ข้อมูลใน home page
ดั้งเดิม สว อิเฎลไม่เคยมีรูปจริง ๆ ขงตัวเองบนอินเตอร์เน็ต ไม่มีใครเคยเห็นหน้า สว อิเฎล ซึ่งต่างจากวัยรุ่นในงานวิจัยที่คนที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์มักเป็นเพื่อน ๆ ในชีวิตจริงของพวกเขา, สาเหตุที่สว อิเฎลไม่เคยให้ใครเห็นหน้า ก็เหมือนกับคนอื่น ๆ ที่ไม่ยอมบอกที่อยู่ คือ กลัวว่าจะมีอันตราย เพราะ สว อิเฎลเองก็มีศัตรูเยอะ สมัยนั้น เพราะเราทำตัวเป็น gangster ปากไม่ค่อยดี และงานศิลปะออกแนว Dark ทั้งยังมีการประชดประชันในตัวชิ้นงาน
วัยรุ่นบางคน หรืออย่าง สว อิเฎล ได้กลั่นกรองข้อมูลที่นำขึ้นเว็บไซต์แล้วว่าเป็นข้อมูลที่คนทั่วไปสามารถดูได้ ดังนั้นเราจะไม่ค่อยสนใจว่าใครเป็นคนที่ดูเว็บของเราอยู่ การสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวนี้ เหมือนกับการสื่อสาร one-to-many คือคนหนึ่งคนสามารถสื่อสารกับคนหลาย ๆ คนด้วย message เดียวกัน ซึ่งคล้ายกับสื่อ mass media ที่เป็นลักษณะองค์กรข่าว สื่อสารกับผู้ชมทั้งประเทศ และแตกต่างจากการสื่อสารระหว่างบุคคลเพียง 2 คนอย่างแน่นอน, แต่ในปัจจุบันที่เรามี Social Networking Sites อย่าง Facebook ทำให้เราเกิด Group Communications เป็นการสื่อสารในกลุ่ม แถมยังกลุ่มใหญ่เสียด้วย จึงกลายเป็น many-to-many form of interpersonal communication