จากหนังสือ Effective Crisis Communication นาย Robert R. Ulmer ได้ให้ความหมาย Uncertainty คือสิ่งที่ไม่ clear และคนต้องคาดเดาเอา ส่วนความหมายตามพจนานุกรมของ Uncertainty นี้คือ ความไม่แน่นอน ความไม่แน่ใจ ความคลุมเคลือ ตัวอย่างของ Uncertainty ที่สว อิเฎลคิดว่าทุกคนเคยประสบมาคือ เมื่อ นักเรียนกำลังจะไปดูผลสอบ ซึ่งนักเรียนจะเกิดความไม่แน่ใจว่าจะได้เกรดดีหรือไม่ อาจเกิดความกังวล และความรู้สึกไม่แน่นอนในชีวิต ในขณะที่เกิดความอยากรู้โดยเร็วที่สุด เป็นต้น

ในหนังสือเล่มนี้ นายโรเบิร์ตได้อธิบายถึง Uncertainty ใน Crisis กล่าวคือ Uncertainty นี้จะไม่ใช่เหตุการณ์ธรรมดาในชีวิตประจำวันเหมือนกับที่นักเรียนอยากรู้ผลสอบ แต่ Uncertainty ใน Crisis จะเป็นอะไรที่ซับซ้อนกว่า และไม่ใช่สิ่งที่เกิดในชีวิตประจำวัน นายโรเบิร์ตได้อธิบายบทเรียน 10 อย่างเกี่ยวกับ Uncertainty คือ
1. Crisis จะเกิดไว้ไวมาก และไม่มีใครคาดคิดไว้
แม้ว่าตามหลักการ ก่อนที่จะเกิด Crisis สามารถมี Sign หรือสัญลักษณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นมาเตือนก่อน เช่นความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้เกิดความขัดแย้งระดับใหญ่ ตามหนังสือ ตัวอย่างที่แสดงคือเหตุการณ์ไฟใหม้ ที่เมื่อผู้บริหารองค์กรได้ฟังแล้ว ก็ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีใครบาดเจ็บหรือเปล่า ทั้งนี้ สว อิเฎลมีเรื่องเล่าที่ฟังมากจาก พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล คือ เรื่องของ ไอ้ปื๊ด
2. องค์กรไม่ควรแก้ปัญหา Crisis ด้วยวิธีทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เนื่องจาก Crisis ไม่ใช่เรื่องทั่วไปที่เกิดในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องไม่ใช้วิธีการเดียวกันแน่ ๆ เช่น ข่าวในประเทศไทยที่ สว อิเฎล จำได้คือ รถไฟขบวนปฐมฤกษ์ตกราง ควรมีการแก้ไขโดยชี้แจงสาเหตุและดำเนินการซ้อมแซมให้เร็วที่สุด มิใช่การไล่คนขับรถไฟหรือเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งออกเพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความรับผิดชอบ
3. ข่าวเตือนภัยคือสิ่งที่ควรรู้
เมื่อรู้กระแสข่าว หรือคำทำนายสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ควรเตรียมรับมือ มิใช่ทำเป็นไม่เชื่อ องค์กรควรหาข้อมูลและแจ้งข้อมูลให้แก้ผู้ถือหุ้นให้เข้าใจตรงกัน เช่น ข่าวที่กลุ่มเสื้อแดงบางกลุ่มแนะนำให้มีการแบ่งแยกดินแดน แม้ว่าจะยังไม่เกิดจริง แต่กองทัพไทยควรเตรียมแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ

4. ควรเตรียมพร้อมรับมือกับ Crisis
แม้ว่าเวลาเกิด Crisis ข้อมูลที่องค์กรทราบนั้นน้อยนัก น้อยกว่าที่นักข่าวอยากรู้ แต่องค์กรควรทำให้ผู้ถือหุ้นและพนักงานสามารถให้ข่าวในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะคำถามที่นักข่าวมักจะถามบ่อย เช่น เกิดขึ้นได้อย่างไร, ใครจะรับผิดชอบ, แก้ไขอย่างไร เป็นต้น โดยปกติคนที่อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ Crisis มากที่สุดคือพนักงาน และผู้ถือหุ้น
5. องค์กรไม่ควรสร้างความสับสนให้แก่สังคมเมื่อเกิด Crisis กับตัวเอง
เช่น เมื่อรัฐบาลกำลังจะออกกฎหมายควบคุมสินค้าบางประเภท และบริษัท A ได้รับผลกระทบ บริษัท A จึงตำหนิว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าดังกล่าว เป็นต้น
6. เตรียมตัวให้เหตุผลกับเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน Crisis โดยเชื่อมโยงกับคำพูดของตนเองก่อนหน้านี้
7. ควรแก้ Crisis ตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าปล่อยให้บานปลาย
เช่น เมื่อรัฐบาลทราบว่ามีผู้คนจำนวนมากแย้งนโยบายจำนำข้าว รัฐบาลควรจะตรวจสอบและแก้ไขปัญหา หรือหยุดโครงการไว้ชั่วคราวก่อน มิใช่ปล่อยให้บานปลายและค่อยหาทางแก้ไขที่หลัง ซึ่งการนี้ สว อิเฎล เห็นว่ารัฐบาลถูกตำหนิจากสื่อหลายช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่จำต้องขายข้าวในราคาถูก, ข้าวมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน รวมถึงปัญหาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นชาวนา

8. ถ้าองค์กรเชื่อว่าตนไม่ได้ผิด องค์กรควรให้เหตุผลให้ได้ว่าใครผิด อย่างไร
สมมติว่า สว อิเฎล ใช้บริการสระว่ายน้ำ A และสว อิเฎล ผิวดำขึ้นถนัดตา สว อิเฎล จึงฟ้องสระว่ายน้ำว่าใส่คลอรีนมากไปทำให้ผิวไหม้, ทำให้สระว่ายน้ำ A ต้องพิสูจน์โดยให้นักวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันว่า คลอรีนไม่ได้ทำให้ผิวไหม้ และตนได้ใส่คลอรีนในปริมาณที่เหมาะสม แต่ผิวที่สีดำขึ้นนั้น เกิดมาจากร้านค้าที่ตั้งอยู่หน้าสระว่ายน้ำ ได้ทำหมูลมควัน ทำให้เมื่อ สว อิเฎล เดินผ่านในขณะที่ตัวเปียก และเขม่ามาจับทำให้ผิวกลายเป็นสีดำ
9. ควรมีการจำลองสถานการณ์เพื่อรับมือกับ Crisis
เช่น การซ้อมรับมือกับผู้ก่อการร้าย, การทดลองลักลอบนำข้อมูลออกจากองค์กร
10. Crisis ทำให้การมองโลกของคน และการมองขององค์กรเปลี่ยนไป
หลังจากเกิดรัฐประหาร เหตุการณ์น้ำท่วม รวมกับการประชาสัมพันธ์ที่ดีของช่อง 5 ทำให้ประชาชนชาวไทยมองว่า ทหารสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ และผู้ที่เป็นฝ่ายขับไล่รัฐบาลมีความหวังว่าทหารจะช่วยเหลือพวกเขาได้อีก

คำถาม: เลือกภาพยนตร์ 1 เรื่องที่โด่งดัง ในปี 2015-2016 นักศึกษาเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์กับ 10 ข้อ ข้างต้น (ภาพยนตร์ 1 เรื่องอาจเพียง 6-7 ข้อเท่านั้น ไม่ครบ 10)
บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร และโมเดล
♦ ทฤษฎีการพิจารณาก่อนเชื่อ Elaboration Likelihood Theory และทฤษฎีแรงจูงใจ
♦ โมเดลแสดงแบบแผนระบบการคิด Heuristic-Systematic Model
♦ ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory
♦ ทฤษฎีปัญหาและทฤษฎีการบูรณาการ Problematic-Integration Theory
♦ ความไม่แน่ใจ หลังจากเกิดวิกฤต Crisis
♦ นิยายธรรมนิเทศศาสตร์ เรื่อง “ไอ้ปื๊ด” โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
♦ การเข้าใจแนวคิดผิด ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต (Misconceptions of Crisis Communication)
Like this:
Like Loading...