บทความสงวนลิขสิทธิ์โดย © สว อิเฎล
ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเว็ปไซด์อื่น แต่สามารถอ้างอิงเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาได้
งูพิษที่พบมากในเขตกรุงเทพและปริมณฑล คืองูเห่า และงูเขียวหางไหม้ ซึ่งงูเห่ามีพิษทำลายระบบประสาท ทำให้สุนัขชา และกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน ส่วนงูเขียวหางไหม้ มีพิษทำลายระบบเลือด จะทำให้สุนัขมีผื่นเป็นปืดสีแดงใต้ผิวหนัง
หากได้ตัวงูที่กัดสุนัข แล้วไม่แน่ใจ ให้นำไปให้แพทย์ดู แล้วแพทย์จะฉีดเซรุ่มให้ ซึ่งตามคลีนิกอาจไม่มี เวลามีจำกัดคืองูเห่า 2 ชั่วโมง และงูเขียวหางไหม้ 6 ชั่วโมง ดังนั้นให้ตรงไปยังโรงพยาบาลสัตว์ ถ้าโรงพยาบาลขนาดเล็ก จะมี เซรุ่มงูเห่า และงูเขียวหางไหม้ แน่นอน แต่ถ้าเป็นงูชนิดอื่น ให้ตรงไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่
ถ้าพบว่าสุนัขมีอาการเหมือนถูกงูกัด แต่ไม่ได้ตัวงู ให้ดูที่บริเวณแผล ว่าเป็นเขี้ยว 2 เขี้ยวเหมือนงูหรือไม่ ถ้าเป็นรูเดียว อาจเกิดจากสุนัขไปไล่จับตัวต่อ หรือแตน หรือตะขาบ ซึ่งจะมีอาการเบื้องต้นหมือนงู คือ แผลบวมมาก มีน้ำเหลืองไหลออกมา และถ้าโดนบริเวรปาก สุนัข จะมีน้ำลายเหนียว ๆ ยืดออกมา หากสงสัยว่าเป็นงูกัดจริง ๆ ให้นำไปโรงพยาบาลสัตว์ทันที และเฝ้าดูอาการในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะออก คือเริ่มมีจ้ำเลือดขึ้น หรือเริ่มเกรงกล้ามเนื้อ
ซึ่งขันตอนการวินิจฉัยของตัวเจ้าของ ว่าเป็นรอยงูกัดหรือไม่นั้น ต้องทำอย่างรอบคอบมาก สุนัขสามารถรับเซรุ่มได้ครั้งเดียวในชีวิต เพราะ ร่างกายสุนัขจะสร้าง แอนตี้บอดี้ หรือภูมิคุ้มกัน กับเซรุ่ม ถ้ามีการฉีดครั้งที่สอง สุนัขจะช็อกและเสียชีวิต ดังนั้น เมื่อไม่แน่ใจว่าตัวอะไรกัด แล้วไม่ใช่ว่าการฉีดเซรุ่มเป็นการป้องกัน แต่จะทำให้ เมื่อสุนัขโดนงูกัดจริง ๆ ในอนาคต เซรุมจะไม่สามารถช่วยสุนัขได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
♥ ต้นลิ้นมังกร ปลูกกันงูเข้าบ้านได้ผล
♥ เสลดพังพอนรักษาสุนัขที่โดนงูพิษกัดได้