บทความมีลิขสิทธิ์ เขียนโดย สว อิเฎล
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องอ้างอิงอย่างถูกวิธี คือ ผู้เขียน ที่อยู่ URL และวันที่คัดลอก และห้ามมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
อ่านรายละเอียด
สถาปนิกไทยมีการถกเถียงกันถึงเงินที่จ่ายไป และปัญหาที่จะเกิดตามมา ทำให้สถาปนิกนักพัฒนาไม่ได่ลงมือทำ Green Roof / Roof Garden อย่างจริงจัง และแพร่หลายเสียที โดยสถาปนิกมักพูดถึงการรั่วซมของน้ำ และน้ำหนักดิน ที่ทำให้ต้องเพิ่ม Structure ซึ่งมีราคาแพงกว่าที่จอดรถบนหลังคนถึง 6-7 เท่า
แต่ที่จริงแล้วข้อดีมีมากกว่าข้อเสีย การที่มีดินและพืชคลุมดินบนหลังคาช่วยลดความร้อนที่เข้ามาในตัวอาคาร โดยปกติแล้วอาคารพาณิชย์ในประเทศไทยจะเป็นเพดานชั้นบนสุดทำด้วย Concrete และด้านในจะเปิดเครื่องปรับอากาศ (แอร์ Air-Condition) ทำให้อุณหภูมิด้านในอาคาร แตกต่างจากด้านนอกในเวลากลางวันมาก ผิวของคอนกรีตด้านในกับด้านนอกมีความขยายและหดไม่เท่ากัน ทำให้เกิดจากรั่วซึมอยู่บ่อยครั้ง หากมีชั้นดินมีคลุม จะช่วยลดการรั่วซึมจากสาเหตุนี้ และตัวอาคาร โดยเฉพาะชั้นบน จะเย็นลงถึง 50% ซึ่งอาจไม่ต้องการเครื่องปรับอากาศเลยก็เป็นได้

Green Roof with grass at Philip Johnson Art Gallery, near his Glasshouse. View More Photos of Philip johnson Architecture
Under the green roof, inside the art gallery of Philip Johnson
ความหนาของดินที่ใช้ใน Green Roof มาตรฐานจะอยู่ที่ 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตร ใช้สำหรับพื้อขนาดเล็ก เช่นหญ้า และไม้ดอก แต่ถ้าต้องการมีต้นไม้ใหญ่ จะต้องก่อคอนกรีตขึ้นมาโดยมีขนาดอย่างต่ำคือ กว้าง และลึก 42 นิ้ว หรือ 1.10 เมตร เพื่อ Root Ball รากของต้ำไม้ โดยต้องเพิ่มความลึกอีก 6 นิ้วเพื่อให้มีหน้าดินคลุม Root Ball
ประโยชน์ของ การทำหลังคาสีเขียว ต่อสิ่งแวดล้อม มิใช่มีเพียงลดการดูดซับความร้อน แทนคอนกรีตเท่านั้น แต่ยังช่วยเรื่องการบำบัดน้ำเสียอีกด้วย โดยปกติเมื่อฝนตอลงมาบนหลังคาที่ไม่มีต้นไม้ น้ำทั้งหมดจะไหลลงรางน้ำและทางท่อสาธารณะ ซึ่งเป็นท่อน้ำทิ้ง และรัฐบาลต้องนำไปกำจัด แต่เมื่อมีพืชหรือหญ้าบนหลังคา สามารถเก็บน้ำได้มากถึง 85% และมีเพียง 15% ที่ไหลลงท่อ ทำให้ปริมาณน้ำเสียที่ต้องนำไปบำบัดลงน้อยลง
Suggest to read
♥ กฎหมายการทำที่จอดรถในสหรัฐอเมริกา
♥ การวางผังเมือง และ New Urbanism
♥ New Urbanism : Thimphu, Bhutan