สว อิเฎลขอให้ท่านที่เปิดเข้ามาในหน้านี้ อ่านบทความนี้จนจบ
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ถ้าใครทราบพระประวัติของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ดี (อาจเรียกว่า มังตรา) จะทราบว่าท่านเจาะพระกรรณที่พระธาตุมุเตา ซึ่งเป็นพิธีในการขึ้นครองราชย์ ตอนนั้นตะเบงชะเวตี้ขึ้นครองราชย์ที่เมืองตองอู (อาจเรียก เกตวดี เกตุงมดี หรือ เกตมดี) แต่เลือกพระธาตุมุเตาซึ่งประดิษฐานอยู่ที่หงสาวดีเป็นที่เจาะหู (อาจเรียก หงสาวดีว่า หานตาวดี) ตะเบงชะเวตี้ได้อธิฐานขอให้ตนได้ครองเมืองหงสาวดีในกาลต่อไป อิเฎลชื่นชอบในความพยายามของตะเบงชะเวตี้ที่ใช้เวลานานกว่าจะรบเอาหงสาวดีมาได้ ความสำเร็จนี้เกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุมุเตาและความพยายามของตะเบงชะเวตี้ประกอบกัน
เจดีย์ชะเวมอดอ (พระธาตุมุเตา) และ เจดีย์ชะเวดากอง มีมาก่อนสมัยที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยรัฐบาลพม่ากำหนดให้เครื่องบินต่าง ๆ ห้ามบินข้ามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ โดยเครื่องบินโดยสารต้องไปบินอ้อมที่อื่น โดยส่วนมากผู้หญิงจะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้บนสิ่งปลูกสร้างศัดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ของพม่า แต่ท่านผู้หญิงทั้งหลายสามารถกราบบนส่วนที่เคยหักลงมาของพระธาตุมุเตาได้ อิเฎลทราบมาว่ายอดเจดีย์ที่เคยหักลงมานั้นมาจากเรื่องแผ่นดินไหว แผ่นดินได้แยกบริเวรฐานเจดีย์ แต่ยอดเจดีย์มิได้ตกลงไปในรอยแยก นี่เป็นอีกเหตุการณืที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่แห่งนี้
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ทุกครั้งที่สว อิเฎลเข้าไปเดินรอบพระธาตุมุเตา อิเฎลมีความรู้สึกบางอย่างที่บอกไม่ถูก แดดที่นี่ไม่เคยร้อน ถึงแดดจะร้อน ฝนก็จะตกเบา ๆ ให้พื้นกระเบื้องนั้นเย็นลง (ทุกคนห้ามสวมรองเท้าเข้าบริเวณศาสนสถาน และวันที่แดดร้อน เท้านั้นแทบพอง) บริเวณส่วนหนึ่งของลานรอบเจดีย์นั้นจะมีดอกบัวทรงสูงตั้งอยู่ ที่นั่นคือที่เจาะพระกรรณของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ อิเฎลยืนอยู่ที่นั่นและคิดย้อนกลับไป ห้าร้อยปีที่แล้วจะเป็นเช่นไรหนอ? อิเฎลดีใจหรือเป็นอะไรสักอย่างที่บอกไม่ถูกจริง ๆ ตะเบงชะเวตี้นั่งอยู่ที่นี่ มีทหารม้าห้าร้อยคนตามมาด้วย และมีพวกทหารมอญมาล้อมอยู่
หลังจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ขึ้นครองเมืองหงสาวดี และท่านออกรบเพื่อปราบกบฏต่าง ๆ ท่านได้กลับมาไหว้พระธาตุมุเตาเสมอ ท่านถวายครอบยอดเจดีย์แก่พระธาตุมุเตา และชะเวดากอง ดังนั้นเมื่ออิเฎลไหว้พระธาตุมุเตาและชะเวดากอง อิเฎลคิดว่าตะเบงชะเวตี้อยู่ที่นั้นเสมอ อิเฎลอยากรู้ว่าครอบยอดเจดีย์ส่วนไหนกันที่ตะเบงชะเวตี้สร้างถวาย มันอาจจะถูกครอบทับด้วยชิ้นอื่นในกาลต่อมา
จากร่องรอยทางประวัติศาสตร์ พระธาตุมุเตา เป็นศาสนสถานที่อนุญาตให้ประชาชนเข้าสักการะได้มาตั้งแต่สมัตเจ้าฟ้ารั่ว หรือมะกะโท ซึ่งเวลาที่ตะเบงชะเวตี้เข้าไปเจาะพระกรรณนั้น ยิ่งแสดงให้เห็นว่าพระธาตุมุเตามิได้อยู่ในเขตพระราชฐานของตะกะยุตปิ ตะเบงชะเวตี้มิได้ทำลายวังเก่าของตากะยุตปิ ดั้งนั้นอิเฎลสันนิษฐานว่าพระธาตุมุเตายังเป็นศาสนสถานสำหรับสาธารณชนอยู่ในสมัยนั้น แต่หลังจากการปราบกบฏและบุเรงนองขึ้นครองราชย์ต่อจากตะเบงชะเวตี้ ร่องรอยกำแพงวังได้ครอบครุมพื้นที่ของพระธาตุมุเตาไว้ด้วย แสดงว่าพระธาตุมุเตาอยู่ในเขตพระราชฐานของบุเรงนองและนันทบุเรง
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
สถานที่เจาะพระกรรณของตะเบงชะเวตี้ ดูภาพพม่าอื่น ๆ
แม้ว่าชาวมอญอาจคิดว่าตะเบงชะเวตี้ขโมยบัลลังค์ของเมืองหลวงของพวกเขาไป แต่ตะเบงชะเวตี้ทำไปเพื่อสันติภาพระหว่างชาวมอญและพม่า หากเทียบตะเบงชะเวตี้กับนักการเมืองในปัจจุบัน เขาเหมือนประธานาธิบดีเลือดผสมที่ขึ้นดำรงค์ตำแหน่งเพื่อรณรงค์มิให้มีการเหยียดสีผิวและชนชาติ (แน่นอนที่พระมารดาของตะเบงชะเวตี้เป็นชาวมอญและพระบิดาเป็นชาวพม่า) หากตะเบงชะเวตี้สามารถรวมชาติมอญและพม่าได้สำเร็จ มอญและพม่าก็จะไม่ทำสงครามกันอีกต่อไป ท่านเป็นกษัตริย์ที่มีความคิดทันสมัยอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าในมุมมองของนักประวัติศาสตร์ไทย ตอนจบของสิ่งที่ท่านทำมาดูเหมือนไม่ประสบความสำเร็จ เพราะตามพงศาวดาร หลังจากที่ท่านถูกลอบปลงพระชนต์ เมืองมอญที่เป็นเมืองขึ้นแทบทุกเมืองต่างกระด้างกระเดื่อง แต่อิเฎลคิดต่างไปจากพวกเขา อิเฎลคิดว่าเมืองมอญเหล่านั้นชื่นชอบตะเบงชะเวตี้ แต่ไม่ชื่นชอบกบฏที่ขึ้นครองราชย์
ถึงอย่างไรก็ตาม อิเฎลก็ยังชื่นชอบอุดมการณ์ของตะเบงชะเวตี้มิรู้หาย ตะเบงชะเวตี้ชอบความปรองดอง มากกว่าการทำให้ผู้อื่นเกรงกลัวอำนาจของตน อิเฎลเคยได้ยินว่าคนไทยบางคนได้นินทาตะเบงชะเวตี้ทางหนังสือพิมพ์ว่าเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ แต่แท้ที่จริงแล้ว การที่ตะเบงชะเวตี้ไม่ประหารใครง่าย ๆ เพราะท่านชอบความประนีประนอม ท่านนิยมให้กษัตริย์ของเมืองมอญปกครองเมืองดังเดิมและไม่จับเชื้อพระวงศ์เป็นตัวประกัน สิ่งที่ท่านทำมีจนกระทั่งถึงกับให้อำนาจกษัตริย์เมืองมอญอื่นทัดเทียมกับท่าน ตะเบงชะเวตี้เป็นณัฐองค์หนึ่งของพม่า ดังนั้นประชาชนสามารถกราบไหว้บูชาท่านได้ อิเฎลคาดคะเนเอาว่า เรื่องที่ท่านอาจขอจากตะเบงชะเวตี้ ควรจะเป็นเรื่องความปรองดอง อิเฏลคิดว่าท่านจะสนับสนุนให้เกิดแต่ความปรองดองเสมอ ท่านแสดงให้เห็นว่าผู้ที่แข็งแกร่งมิใช่ผู้ที่ชอบกดขี่ข่มเหงใคร หรือกล่าวได้ว่า ผู้ที่แข็งแกร่งสามารถเป็นผู้ที่รักสันติภาพได้
“ถ้าสงสัยหรือมีข้อโต้แย้งใด ๆ ขอให้ใช้ถ้อยคำที่น่าเชื่อถือ และสุภาพ” สว อิเฎล 😉
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
คุณรู้จัก Black Tongue : The Animation หรือยัง?
มันคือการ์ตูนสั้น กำลังถูกดัดแปลงให้เป็นเกมส์ online ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในฤดูหนาวปี 2011
มีโครงเรื่องมาจากบทประพันธ์ของ สว อิเฎล
เชิญชมได้ ณ ที่นี้