Tag Archives: sufficient economy

ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

ความยากจนของชาวนามิได้เกิดจากรายได้น้อย อิเฎลคำนวนแล้วว่า ถ้าชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวปีละ 3 ครั้ง จะได้รายได้เฉลี่ยต่อวันประมาณ 50 บาทต่อไร่ และชาวนาส่วนใหญ่มีที่ดินมากกว่านั้น เดิมทีชาวนามิได้ยากจนขนาดปัจจุบัน ที่ว่าต้องมาจับกลุ่มประท้วงกันในกรุงเทพ ชาวนาผู้มีอุดมการณ์สอนไว้ว่า เราควรพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนผู้อื่น ผู้ที่มาเบียดเบียนชาวนานั้นเป็นผู้ที่บาปนัก เพราะธุรกิจข้าวเป็นธุรกิจปลอดภาษีอยู่แล้ว

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น


คันไถ และกระโหลกควาย /กระบือ ที่พิพิธภัณฑ์ของพื้นบ้าน วัดกำแพงมณี จังหวัดพิษณุโลก
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

โลกแห่งวัตถุนิยม และทุนนิยม ย่างเข้าสู่ประเทศไทย และทำลายสังคมชาวบ้านย่อยยับ ทุกคนเริ่มเห็นแก่ตัว เห็นแก่เงิน ไม่มีน้ำใจ อิจฉาริษยาอยากรวยกว่าเพื่อนบ้าน ซื้อรถ ซื้อนาฬิกา ซื้อมือถือ ซื้อตู้เย็นกันไม่จบสิ้น รายได้ที่ไม่ได้มากมายเหมือนนักธุรกิจต้องมาถูกใช้จ่ายเพราะค่านิยมที่ผิด ๆ ชอบของผลิตจากยุโรป อเมริกา จนกระทั่งเกาหลี ชาวบ้านมักมองว่าของต่างชาติดีกว่าของไทย และเห็นชาวต่างชาติเป็นพระเจ้า ปัญหาค่าใช้จ่ายเกินตัว นำไปสู่ความยากจน และอยากรวยเร็ว ชาวนาเริ่มติดการพนันจำพวกหวยใต้ดิน เมื่อเสียเงินแล้วไม่ได้คืน ก็กลุ้มใจดื่มเหล้า เหมือนกับโฆษณาที่อิเฎลเห็นในโทรทัศน์ “กินเหล้า จน เครียด”

ความยากจนทำให้ชาวนาทุกคนต้องเร่งทำงานหาเงิน และไม่มีเวลามาพบปะกันดั่งแต่ก่อน ชาวนาบางคนถึงกับต้องขายที่ดินให้กับนายทุนนักแสดง เพื่อนำเงินมาเลี้ยงชีพ เมื่ออิเฎลไปค่ายพิษณุโลกกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ครั้งนั้น ชาวนาเล่าว่าลูกชายคนโต เรียนพึ่งจบ แล้วอยากได้มอเตอร์ไซด์ขับไปทำงานในเมือง พ่อจึงยอมขายที่นาเพื่อซื้อมอเตอร์ไซด์ให้ เขาขับอยู่ได้ 2 วันก็เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต อิเฎลเงียบ ไม่รู้จะพูดอะไรต่อ

เมื่อเงินและเวลาบีบบังคับ ชาวนาไม่สามารถคำนึงถึงสุขภาพผู้บริโภคได้ จึงใช้สารเคมีในการฆ่าแมลง ทำมนุษย์เป็นเนื้อร้าย มะเร็ง กลายพันธุ์ไปเป็น X-Men จนหมด ประเทศจีนมีเรื่องพวกนี้เกิดอยู่มาก สมัยที่อิเฎลเรียนมัธยมอยู่นั้น อิเฎลมักจะเดินตลาดบางใหญ่เวลากลางคืนและเวลาเช้าที่เจ้าของสวนมาขายด้วยตนเอง อิเฎลได้ผักราคาถูกกว่าในห้างเป็นเท่าตัว อิเฎลไปกับผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองชอบซื้อผักอยู่ร้านหนึ่ง ซึ่งชอบอ้างว่านำเข้าผักมาจากประเทศจีน อิเฎลให้เหตุผลมากมายว่าผลผลิตจากจีนอันตราย และเราควรสนับสนุนของไทยมากกว่า แต่ไม่มีใครฟังเช่นเคย ประเทศไทยยึดถือหลักอาวุโสมากกว่าหลักของเหตุผล ผู้ใหญ่มีความหยิ่งทนงเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ผู้ใหญ่ดื้อรั้น เถียงหัวชนฝา ไม่ฟังใคร ถ้าเด็กคนไหนมีเหตุผลหรือฉลาดกว่า ก็จะทำตัวเหมือนหัวหน้าโง่ ๆ คือเขี่ยคนเก่งไปห่าง ๆ แล้วโยนความผิดให้ ส่วนตนก็เอาแต่โกงกิน หน่วงเหนี่ยวความเจริญของประเทศชาติ เมื่อถึงปัจจุบันนี้ ข่าวออกมาทั่วโลกถึงสารพิษในผลิตทางการเกษตร และข้าวของที่ผลิตจากจีน คนไทยพึ่งจะสำนึกได้ว่าควรซื้อของชาวสวนไทยมากกว่า

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

บ้านของอิเฎลปลูกพริก แต่มีแมลงวันทองมารบกวนไม่จบสิ้น เราจึงสงสัยว่าพริกในตลาดงามได้เพราะอะไร เราคิดว่าเป็นยาฆ่าแมลง แต่ที่จริงแล้วชาวสวนบอกว่าใช้ยาฉุนวางใต้ต้นพริก เขาว่าถ้าจะให้เขาใช้ยาฆ่าแมลงเขาทำไม่ลงหรอก เพราะเหมือนกับฆ่าคน อิเฎลรู้สึกอุ่นใจอยู่บ้างว่าคนที่ทำงานด้วยใจยังมีอยู่ อิเฎลกลัวว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวจะอันตรายไปซะหมด

การเล่าความจริงให้ท่านผู้อ่านฟังเช่นนี้ จะสามารถช่วยชาติได้มากน้อยเท่าไร ชาวนาชาวไร่คงไม่ได้อ่านบทความนี้ แต่อยากให้ท่านที่กำลังอ่านอยู่ ลองตรวจดูสิ่งรอบข้างของท่านว่า มีอะไรเป็นของฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศบ้าง มือถือของท่านหรือเปล่า เพราะวัยรุ่นเปลี่ยนมันบ่อยเกินความจำเป็น อิเฎลเริ่มใช้มือถือตอนอยู่หอชั้น 5 เพราะการเดินขึ้นลง 5 ชั้นทำลายสุขภาพเปล่า ๆ เครื่องนั้นได้เสียแล้ว อิเฎลจึงซื้อเครื่องใหม่ประมาณ 5 ปีก่อน ราคาของมันอยู่ที่ 3,000 บาทซึ่งถูกที่สุดในสมัยนั้น อิเฎลใช้มันปลุกทุกเช้าตอนเรียนที่อเมริกา และปัจจุบันอิเฎลก็ยังใช้มันอยู่ และไม่เคยคิดจะเปลี่ยนมัน ตราบใดที่มันใช้ติดต่อสื่อสารได้

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
**ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความนี้ไปลงในเว็ปไซด์อื่นหรือส่งต่อในอีเมล หากคุณต้องการให้เพื่อนของคุณอ่าน ให้ส่ง URL ของหน้าเว็ปนี้ไปแทน ในกรณีที่คุณต้องการใช้ในการเรียนการสอนในลักษณะของกระดาษแจกในห้อง คุณต้องระบุชื่อผู้เขียน “สว อิเฎล”, URL ของหน้านี้ และวันที่ที่คุณพิมพ์ และคุณไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด


เกวียน ที่พิพิธภัณฑ์ของพื้นบ้าน วัดกำแพงมณี จังหวัดพิษณุโลก
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

2 Comments

Filed under Uncategorized

ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม

อิเฎล และคณะครูอาจารย์ และน้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เข้าพักที่วัดกำแพงมณี หลวงพี่แมว ซึ่งดูแลวัดอยู่ในขณะนั้นดีใจมากที่น้อง ๆ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เดินทางมาถึง หลวงพี่แมวพาน้อง ๆ เดินชมบริเวณวัด เลี้ยวสัตว์เลี้ยงปลา ดูหุ่นจำลองนรก หลวงพี่แมวสอนเรื่องหลักธรรมจากใบไม้ และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

หลังจากการดูงานชุมชนตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง และเยี่ยมชมกลุ่มชาวบ้านทำกล้วยแปรรูปแล้ว น้อง ๆ มีภารกิจต้องทำงานวรรณกรรมสำหรับเด็กให้เสร็จ อาจารย์ที่โรงเรียนชวนอิเฎลมาค่ายกับน้อง ๆ หลายครั้งแล้ว แต่อิเฎลไม่ว่างตอนที่เรียนปริญญาตรีอยู่ เมื่ออิเฎลจบปริญญาตรีมาใหม่ ๆ แล้วอาจารย์ชวน จึงมาที่นี่ อิเฎลมาช่วยแนะนำน้อง ๆ เรื่องการวาดภาพ การแบ่งเนื้อหาในแต่ละหน้า และเรื่องคำพูดในหนังสือเด็ก ซึ่งงานจะหนักในวันแรก เพราะเป็นช่วงที่น้อง ๆ ร่างภาพและเขียนโครงเรื่องกัน เมื่อถึงวันสุดท้าย อิเฎลจึงมีเวลาว่างไปคุยกับชาวบ้านที่มาดูน้อง ๆ มหิดลวิทยานุสรณ์ ชาวบ้านเกือบ 100 % มีอาชีพเป็นชาวนา อิเฎลได้คุยกับระดับชาวบ้านธรรมดา หมอ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จนถึงนายอำเภอ ซึ่งมีทัศนคติในการทำนาที่แตกต่างกัน คือชอบวิธีธรรมชาติ และชอบนวัตกรรมจากต่างประเทศ

อิเฎลขอเริ่มจากหัวข้อที่คนมักจะถกเถียงกันมากที่สุดคือ รถไถ (รถแทรกเตอร์) เทียบกับการไถนาด้วยกระบือ ชาวนาปัจจุบันนิยมใช้รถแทรกเตอร์กันมากเพราะความขี้เกียจ อิเฎลพึ่งทราบว่าชาวนาไม่ได้มีรถไถเป็นของตนเอง แต่ต้องจ้างคนที่มีรถไถเป็นผู้ไถให้ ซึ่งอิเฎลไปเจอคนพม่ามาทำงานนี้ จึงตกใจมาก ว่าคนพม่ามาหากินกับชาวนาไทย ตอนนั้นอิเฎลอยู่จังหวัดอยุธยา ไม่ใช่ที่พิษณุโลก เลยสงสัยว่าเขาลักลอบเข้ามาหรือว่าหาทางกลับบ้านไม่ถูกตั้งแต่สมัยกรุงศรี ค่าใช้จ่าในการจ้างคนมาใช้รถไถในพื้นที่นาราบธรรมดา อยู่ที่ประมาณ 300 บาทต่อไร่ หากเป็นพื้นที่ลาดชันอยู่ที่ประมาณ 500 บาท และถ้าเป็นที่ชันตามภูเขา ค่าไถจะขึ้นไปถึง 800 บาท หรือถ้าจะเช่ารถไถเองต้องจ้ายถึง 20,000 บาท โดยปกติแล้วเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ชาวนาจะขายข้าวเปลือกได้ไร่ละ 6,500 บาท แต่สามารถเก็บเกี่ยวได้เพียง 3 ครั้งต่อปี ชาวนาอ้างว่าที่ชอบใช้รถไถ เพราะการใช้ควายทำให้เสียเวลา และเปลืองสถานที่เลี้ยง ต้องขุดบ่อน้ำให้มันแช่อยู่กลางนา เมื่อมันขี้ มูลของมันก็เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค และถ้ามันหงุดหงิดก็เป็นอันตรายกับมนุษย์อีก อิเฎลก็เถียงว่ารถไถก่อมลภาวะหรือเปล่า ทั้งน้ำมันและควันของมัน เขากลับบอกว่าเมืองพิษณุโลกมีต้นไม้ถมไป มลภาวะไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วง

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น


คันไถ ที่พิพิธภัณฑ์ของพื้นบ้าน วัดกำแพงมณี จังหวัดพิษณุโลก
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงทราบถึงความสำคัญของควายไทย จึงมีดครงการอนุรักษ์ควายไทย สนับสนุนให้ชาวนาใช้ควายไถนา แม่นัท แม่ของนักเรียนคนหนึ่งในค่าย มีอาชีพเป้นชาวนาเช่นกัน เธอบอกว่าควายเลี้ยงแล้วได้ลูกได้หลาน แต่รถไถกินแต่น้ำมัน ซึ่งก็ต้องนำเข้าจากเมืองนอก มีค่าสึกหลอต้องจ่ายอีกมาก รถไถมีน้ำหนักมากเมื่อกดลงไปในดินทำให้ดินแน่น ดินจะแน่นขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รากข้าวชอนไชลงดินได้ไม่ดี และปัญหาที่พบบ่อยคือน้ำมันรั่ว ซึ่งรถไถมีความแตกต่างจากเท้าของควายมาก เพราะกีบเท้าของมันช่วยทำให้ดินร่วยซุย อึของควายยังเป็นปุ๋ยชั้นดีและทำเชื้อเพลิงได้อีกด้วย ควายจะช่วยกินฟางข้าว ซึ่งโดยปกติชาวนาที่ไม่มีควายต้องเผาทิ้ง ทำลายหน้าดินและก่อมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม

นายอำเภอบางกระทุ่มมีความเห็นว่าทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่เพราะเกิดมามีหน้าที่ จนลืมคิดถึงสังคม หมอสาะารณะสุขจะจ่ายยาไปเรื่อย ๆ โดยไม่คิดแก้ไขแหล่งที่มาของโรค ชาวนาส่วนใหญ่ที่เผาฟางจะเป็นดรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มีฝุ่นควันเข้าปอด บางครั้งก็เจอโรคนี้ได้กับชาวนาที่ใช้ยาฆ่าแมลง เรื่อการเผาฟางเป้นเรื่องที่โง่เขลามาก ๆ เพราะที่อื่น ๆ สามารถมัดฟางขายได้มัดละ 30 บาท นอกจากนี้ยังสามารถนำฟางไปอัดรวมกับขี้เถ้าที่ได้จากถ่านผสมกับโคลนแม่น้ำ ได้เป็นหัวเชื้อเพลิงเมื่อต้องการใช้ถ่านหุงต้ม นายสนอง สินไหมกล่าวว่า เขาเลิกเผาฟางเพราะต้องการคืนแผ่นดินอังอุดมสมบูรณ์ให้แก่ในหลวง

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

เมื่อมีการเผาฟาง การใช้ยาฆ่าแมลง การใช้รถไถ จนกระทั่งเรื่องเล็ก ๆ อย่างการมุงหลังคาด้วยสังกะสี ล้วนก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนทั้งสิ้น ชาวบ้านเลือกที่จะมุงหลังคาด้วยสังกะสีเพราะกลัวว่าเพื่อนบ้านจะแกล้งโยนลูกไฟใส่ เมื่อโลกร้อนขึ้น แมลง ศัตรูพืช ก็ลงหนัก แตกต่างไปจากสิบปีก่อน อิเฎลติดคำว่าวงจรอุบาตว์ เมื่อแมลงลงมากขึ้น ชาวนาก็ใช้ยาฆ่าแมลงกันมากขึ้น ก่อปัญหามลพิษไม่รู้จบ จนแมลงดื้อยา และมนุษย์ต้องหายาพิษตัวใหม่ ๆ ทำผู้บริโภคเกิดมะเร็ง รักษากันไม่หาย ชาวนาที่อิเฎลพูดด้วยบอกว่าพวกเขาไม่นิยมใช้น้ำหมักแทนยาฆ่าแมลง เพราะน้ำหมักจะกันแมลงได้เพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น ต้องมาฉีดพ้นกันบ่อย ๆ เสียเวลา แต่ยาฆ่าแมลงสามารถอยู่ติดต้นข้าวได้นานถึงครึ่งเดือนถึงหนึ่งเดือน ส่วนคุณหมอพูดว่าคนพวกนั้นเห็นแก่ตัว เหมือนกับคนขายกับข้าวที่มีหน้าที่ทำอาหารเพื่อหาเงิน พวกนั้นจะทำอย่างไรก็ได้ที่จะได้อาหารมาเร็วและต้นทุนต่ำ โดยไม่คำนึงถึงสุขอนามัย น้ำหมักนั้นเป็นวิธีทำยาปราบศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติ มันมาจากการผสมกันของผักเน่านานาชนิดและน้ำสัปรสเน่า

แม้ว่าอิเฎลไม่ได้เกิดมาเป็นชาวนา อิเฎลก็ไม่ได้ชอบให้ชาวนาขายที่นา ที่นาใกล้บ้านของอิเฎลถูกซื้อไปทำโรงงานและสนามกอล์ฟจนหมดสิ้น อากาศจึงร้อนขึ้นมาก การจราจรติดขัด อิเฎลคุยกับคนขับแท็กซี่ซึ่งเคยมีที่นาแถวบ้านของอิเฎล เขาถูกสนามกอล์ฟบีบให้เขาขายที่ เพราะสนามกอล์ฟซื้อที่รอบนาของเขา จนที่ดินของเขากลายเป็นที่ดินไข่ดาวออกถนนไม่ได้ นี่แหละทุนนิยม ความเจริญทางวัตถุจะมาเบียดบังวิถีชาวบ้านและภูมิปัญญาชาวบ้านให้หดหายไป

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
**ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความนี้ไปลงในเว็ปไซด์อื่นหรือส่งต่อในอีเมล หากคุณต้องการให้เพื่อนของคุณอ่าน ให้ส่ง URL ของหน้าเว็ปนี้ไปแทน ในกรณีที่คุณต้องการใช้ในการเรียนการสอนในลักษณะของกระดาษแจกในห้อง คุณต้องระบุชื่อผู้เขียน “สว อิเฎล”, URL ของหน้านี้ และวันที่ที่คุณพิมพ์ และคุณไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

Leave a comment

Filed under Uncategorized

สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อิเฎลไปค่ายวรรณกรรมเด็กกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่จังหวัดพิษณุโลก พวกเราเข้าฟังบรรยายพร้อมศึกษาดูงานเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับผู้ประสพน์ความสำเร็จคือ นายสมพงษ์ อันชาวนา

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น


คอกวัวตัวอย่างของนางสมพงษ์ อันชาวนา เลี้ยงเพื่อเอามูลมาทำปุ๋ยและพลังงานแก๊สหุงต้ม
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

นางสมพงษ์เล่าว่าเดิมทีชาวนาทุกคนจะเฝ้ารอต่อการเก็บเกี่ยวข้าว โดยจะได้รายได้ปีละ 3-4 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ซึ่งชาวบ้านเหล่านี้ไม่มีการทำบัญชี เมื่อได้เงินมาก็ใช้จนหมดก่อนจะถึงช่วงฤดูเก็บเกี่ยวครั้งต่อไป ทั้งยังมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่ง สว อิเฎลคิดว่าเรื่องค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับคนต่างจังหวัดเท่านั้น แต่เกิดกับคนในเมืองด้วย นั่นคือ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน และค่านิยมที่ผิด ๆ ติดกับวัตถุนิยม สมัยที่ ผ.อ. ธงชัย ชิวปรีชา ยังดำรงค์ตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ท่านปลูกฝังเสมอว่าให้สนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้าน และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย มีผู้ปกครองคนหนึ่งยกมือขึ้นถามท่านว่า หากชาวบ้านเอาเงินที่ได้จากชนชั้นกลางอย่างพวกเขา ไปใช้กับสิ่งฟุ่มเฟือยที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ คำตอบของคำถามนั้นอยู่ที่นี่ หากชาวด้บ้านรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียงแล้ว ทุกปัญหาของสังคมและชาติบ้านเมืองก็จะไม่เกิด

สมัยที่นางสมพงษ์ อันชาวนาติดหนี้ถึง 600,000 บาท เริ่มจากน้ำท่วมที่นา และตามมาด้วยภัยแล้งตลอดปี นอกจากนี้ยังมีปัญหาเพลี้ยกระโดด เขาไม่มีวิธีหารายได้อื่น จนต้องกู้เงินมาใช้ พอถึงเวลาชำระหนี้เขาก็ต้องกู้ที่อื่นเพื่อมาใช้หนี้เดิม ทำให้หนี้สินพอกพูนไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ต้องกู้นอกระบบซึ่งคิดดอกเบี้ยสูงมาก เงิน 600,000 บาทนั้นมากมายสำหรับชาวนา เทียบได้กับการเก็บเกี่ยวข้าวบนที่นาถึง 100 ไร่จึงจึใช้หนี้หมด ความรู้สึกของคนติดหนี้คือไม่มีชีวิตเป็นของตนเอง นายสมพงษ์ตัดสินใจเข้าอบรมเรื่องเศรษฐกิจอย่างพอเพียง ซึ่งความตั้งใจของเขาคือต้องพยายามที่จะพึ่งพาตนเองให้ได้


นายสงพงษ์ อันชาวนา บรรยายให้ความรู้แก่นักเรียนและพระสงฆ์เกี่ยวกับการเลี้ยงชีพอย่างพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

เดิมทีที่นายสมพงษ์จะเข้าไปทำงานในเมืองในระหว่างรอข้าวออกรวง ชาวนาบางคนทำอาชีพเผาถ่านไปขายในเมืองและได้เงินวันละ 300 บาท แต่การเข้ามือง
สภาพแวดล้มทำให้ชาวนาเกิดกิเลศ มีความต้องการทางวัตถุ อยากรวยเร็วจนติดหวย อีกทั้งค่ารถไปกลับและค่าอาหารในเมืองมีราคาแพงมื้อละ 30-50 บาท นายสมพงษ์เปลี่ยนเวลาเห่งการรอคอยดังกล่าวมาทำกสิกรรมควบคู่กับการเกษตรชนิดอื่น ๆ คือ เลี้ยงวัว กบ ปลา ไก่ หมักฮอร์ไมน ทำน้ำหมักฉีดฆ่าแมลงเอง ทำปุ๋ยเม็ดจากขี้วัว และปลูกเห็ด

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

อิเฎลถึงกับอึ้งมากที่นายสมพงษ์เผยว่าเขาสามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ภายในเวลา 2 ปี เมื่อนายสมพงษ์ไปเล่าเรื่องของตนให้ชาวบ้านคนอื่น ๆ ฟัง ชาวบ้านก็ไม่เชื่อ โดยให้เหตุผลว่า พวกเขาอยู่กันอย่างธรรมดายังยากจนอดอยากขนาดนี้และถ้าจะให้พวกเขาอยู่กันอย่างพอเพียงเขาจะอดอยากขนาดไหน ซึ่งชาวบ้านเหล่านี้มีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับคำว่า เศรษฐกิจอย่างพอเพียง นายสมพงษ์ทราบถึงความสำเร็จของตนเองโดยการจดบัญชีรายรับรายจ่าย เขาจึงแนะนำให้ชาวบ้านคนอื่น ๆ ทำบัญชีด้วย แต่พวกชาวบ้านไม่ยอมทำกันเท่าที่ควร นายสมพงษ์จึงเปิดบ้านของต้น เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชาวบ้านคนอื่น ๆ เขาแนะนำการเก็บออมอย่างถาวร โดยต้องปลดหนี้ที่ทุกคนมีได้ภายใน 5 ปี


เพาะเลี้ยงเห็ดในโอ่ง ได้กินเห็ดทุกวัน เลี้ยงชีพตนเองแบบพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

นายสมพงษ์ลดค่าใช้จ่ายอาหาร โดยเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา และเพาะเห็ด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เห็นผลได้เร็ว เพราะมันจะขยายพันธุ์ไปเอง อีกทั้งต้นทุนต่ำ อิเฎลเห็นการปลูกเห็ดในโอ่งที่นายสมพงษ์มีอยู่ที่บ้าน ก็อยากปลูกบ้าง เพราะได้เห็ดกินทุกวัน นายสมพงษ์เอาโอ่งที่แตกแล้วมาเป็นภาชนะเพาะพันธุ์เห็ด ทั้งกันแดดในตัว และรักษาความชื้นได้ดี เขาบอกกัยพวกนักเรียนว่า ถ้าอยากทำตาม ก็ไม่ต้องไปหาเรื่องทำโอ่งให้แตก เพราะเขาหมายถึงเอาโอ่งเก่ามาใช้ (reused) ซึ่งที่จริงสามารถใช้โอ่งใหม่ได้ ในโอ่งใบหนึ่ง ๆ จะเรียงก้อนเชื้อได้ 25 ก้อน การที่จะเริ่มปลูกเป้นครั้งแรก ให้เอาผ้าคลุมโอ่งและเอาน้ำรดทุกวัน ทำเช่นนี้เพียงสัปดาห์เดียวเห็ดช่อแรกก็จะงอกขึ้น และหลังจากนั้นมันจะงอก 5-6 ช่อทุกวัน จนมีเหลือแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน

ส่วนเรื่องเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา นั้นสามารถทำควบคู่กันได้เป็นอย่างดี เหมือนกับที่พวกเรารู้กันว่าขี้เป็ดและขี้ไก่เป็นอาหารของปลา นายสมพงษ์ซื้อเป็ดและไก่มา 10 ตัว รอไม่นานมันก็ออกไข่จนได้มา 70 ตัว หลังจากนั้นก็ได้รายได้จากไข่ของเป็ดและไก่มาเลี้ยงชีพโดยไม่ต้องรอฤดูเก็บเกี่ยว การเลี้ยงปลา มิใช่ได้ปลาเป็นอาหารเท่านั้น ชาวบ้านยังสามารถหมักน้ำปลาเองได้อีกด้วย

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

กล้วยถือว่าเป็นพืชผลทางการเกษตรอีกชนิดที่สามารถปลูกได้ดีในอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนี้ส่งออกกล้วยตาก และกล้วยเชื่อม ได้ประมาณสวนละ 3 ตันต่อวัน เมื่อชาวบ้านที่ทำสวนกล้วยเหลือเปลือกกล้วย ก็จะนำมาให้กลุ่มเลี้ยงวัวและเลี้ยงปลา เปลือกกล้วยสามารถเป็นอาหารของวัวได้ และเอาไปบดเป็นอาหารปลา ขี้วัวที่ได้ จะนำมาตากแห้งและเอาเข้าเครื่องปั่นกับไอน้ำจนจับตัวกันเป็นก้อน เพื่อเป็นปุ๋ยในการเพาะปลูกต่อไป ส่วนกลุ่มเลี้ยงสุกร ก็จะได้อาหารจากรำข้าว ซึ่งได้มาหลังการสี ขี้หมูและขี้วัวเหล่านี้สามารถนำมาหมักเพียง 15 วันก็จะได้แก็สมีเทน เอามาใช้เป็นแก๊สหุงต้ม ติดไฟได้ดีมาก


มูลหรืออุจจาระวัว เป็นแก๊สหุงต้มได้อย่างดี และยังนำมาทำปุ๋ยขายได้อีกด้วย
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

อิเฎลชอบภูมิปัญญาชาวบ้านที่พบเห็นในการศึกษาดูงานครั้งนี้มาก น้ำขวดหนึ่งคว่ำลงใต้ต้นพริกและเอาผ้าคลุมไว้ สามารถรดต้นพริกได้ทั้งสัปดาห์ นาย สนอง สินไหม เป็นหนึ่งในผู้พาดูงาน คำพูดประโยคหนึ่งที่อิเฎลขนรุกทันทีที่ได้ยิน และยังจำได้เสมอมา คือเขาจะหยุดเผาฟางเพื่อจะคืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ให้แก่ในหลวง เดิมทีชาวนาจะเผาฟางเพราะไม่ได้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เอาแต่จ้างให้คนเอารถมาไถนา นาย สนอง ยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำลายทรัพยากรดินวิธีอื่น ๆ เช่น ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยที่นายสนองสาธิตวิธีการทำให้ดู ได้มาจากการผสมกันของ ขี้วัว ขี้ค้างคาว และกากน้ำตาล ส่วนน้ำหมักซึ่่งนำมาใช้แทนยาฆ่าแมลง ได้มาจากการหมักผักเน่า อิเฎลจึงลองมาทำที่บ้าน และพยายามจะทำปุ๋ยพืชสดด้วย เพราะที่บ้านมีขี้สุนัขมากมาย นาย สนอง แนะนำให้หมัก 3 เดือน แต่อิเฎลหมักได้ไม่ถึงสัปดาห์ คนที่บ้านก็ไล่ให้ไปเททิ้งให้หมด เพราะอิเฎลไม่รู้จะจัดการกับกลิ่นของมันอย่างไร


นายสนอง สินไหม ผู้บรรยายให้ความรู้แก่นักเรียน เรื่องการหมักมูลสัตว์ และกระบวนการทำเม็ดปุ๋ยชีวภาพ
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

ในระหว่างที่นายสมพงษ์ชักชวนชาวบ้านคนอื่น ๆ ให้ดำเนินรอยตามพระราชดำรัชเศรษฐกิจพอเพียง เขาได้พบกับคนหลาย ๆ ประเภท ซึ่ง นายสมพงษ์พูดถึงเสมอ เพื่อ ให้คนเรามีความกระตือรือล้น ที่จะพัฒนาแผ่นดิน คนเหล่านี้ได้แก่
1. หัวไวใจสู้
คนพวกนี้กล้าที่จะลองอะไรใหม่ ๆ เพราะสิ่งที่ในหลวงทรงสอนและให้แก่ชาวไทยเป็นสิ่งที่ดีเสมอ
2. คอยดูทีท่า
คนพวกนี้จะคอยดูคนกลุ่มแรก ถ้าสำเร็จก็จะทำตามทันที ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ เขาไม่เชื่อที่คำพูด แต่เชื่อเมื่อมีการปฏิบัติจริง
3. เบิ่งตาลังเล
คนพวกนี้จะคอยดูว่าจะมีอะไรเหลือมาให้ตน ไม่ลงมือทำเองตั้งแต่ต้น
4. หันเหหัวดื้อ
คืออย่างไรก็ไม่ทำตาม จะเอาแต่ทำการเกษตรแบบเก่า เอาแต่ใช้รถไถ เอาแต่ใช้อาฆ่าแมลง ไม่พัฒนาเสียที
5. งอมือจับเจ่าไม่เอาไหนเลย
คนพวกนี้จะมีหนี้สินพอกพูนไม่รู้จบ และไม่เคยคิดปลดหนี้

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

หลังจากที่ชาวบ้านอำเภอบางกระทุ่มหันมาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ทำมาหากินในที่ดินของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องลงไปดิ้นรนในเมือง พวกเขาก็มีเวลาไปมาหาสู่กันมากขึ้น และเกิดสังคมชาวบ้านแบบไทย ๆ ขึ้นอีกครั้ง พวกเขาจะประชุมกันทุกวันที่ 6 ของเดือนเพื่อช่วยกันคิดแก้ปัญหาให้กับเพื่อนบ้าน ที่บ้านของกำนันสมพงษ์มีเครื่องสีข้าว สีข้าวให้แก่ชาวบ้านโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกที่เก็บไว้กินเองมาให้สี ทั้งนี้เป็นนโยบายการเก็บออมข้าวเปลือก มิให้ชาวบ้านขายไปจนหมด


เลี้ยงปลา และเลี้ยงกบยังชีพ เพื่อชาวนาจะได้มีกินตลอดปี ไม่จำเป็นต้องรอฤดูเก็บเกี่ยวอย่างเดียว
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

เมื่อชาวบ้านได้คุยกันอย่างใกล้ชิดแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ก็ได้รับการแก้ไขด้วยน้ำใจของคนไทย ทุกคนมีความมุ่งมั่นเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศชาติ พวกเขาเข้าร่วมโครงการ To be No.1 ใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี โดยชุมชนนี้เป็นแหล่งปลอดยาเสพติด นอกจากนี้ยังได้รางวัลในโครงการอนุรักษ์ควายไทยปี 2550 ของสมเด็จพระเทพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายสมพงษ์บอกว่าเดิมทีคนชอบกินควาย ตอนนี้พวกชาวบ้านไม่ใช่แค่เอาควายมาไถนา ยังเอามาเดินเล่น พาผู้ที่มาศึกษาดูงานชมหมู่บ้าน และยังเปิด Home Stay ให้ผู้ที่ดูงานเหล่านี้ได้พักอยู่กับชาวบ้านและสัมผัสวิถีชาวบ้านจริง ๆ

อิเฎลจำได้ว่าตอนแรกอิเฎลก็ลังเลเมื่ออาจารย์ที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ชวนไปค่ายนี้ แต่เพียงวันแรกที่ออกดูงาน อิเฎลก็รู้สึกคุ้มค่ามากที่ได้เรียนรู้ และคุ้มค่ายิ่งกว่านั้นคือได้มาเล่าสู่กันฟังที่นี่ อิเฎลชอบน้อง ๆ ที่โรงเรียนด้วย พวกเขาทำให้อิเฎลคิดถึงสมัยที่อิเฎลเรียนอยู่ พวกเขาฉลาดและมุ่งมั่นทำงานได้เสร็จทันเวลา แม้ว่าสมองของพวกเขาชอบคิดอะไรยาก ๆ แต่พวกเขาพูดด้วยได้ง่ายทีเดียว ทั้งขาไปและขากลับ เรานั่งรถไฟ ตากลม ร้องเพลง เล่าเรื่องกันสนุก อิเฎลอยากให้อนาคตของประเทศชาติเหล่านี้รักชาติรักแผ่นดินตลอดไปเหมือนกับชาวบ้านบางกระทุ่ม

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
**ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความนี้ไปลงในเว็ปไซด์อื่นหรือส่งต่อในอีเมล หากคุณต้องการให้เพื่อนของคุณอ่าน ให้ส่ง URL ของหน้าเว็ปนี้ไปแทน ในกรณีที่คุณต้องการใช้ในการเรียนการสอนในลักษณะของกระดาษแจกในห้อง คุณต้องระบุชื่อผู้เขียน “สว อิเฎล”, URL ของหน้านี้ และวันที่ที่คุณพิมพ์ และคุณไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

1 Comment

Filed under Uncategorized

Bangkok Teenager

Bangkok Teenager

A friend said that she was unhappy about environment around her in Bangkok. She was from Na-Korn-Na-Yok, a province in the east of Thailand. She was rich, I guessed. She had computer and anything she wanted to have. I was rich, she guessed. I studied in New York. We were richer than many people in our university in Thailand. I did not buy new things for every week. We did not show off. She was as where she was from. I was someone who went into it. I was born in Bangkok. Teenager from other provinces who studied in Bangkok, tried to be Bangkok Teenager. They would walk on fabulous way. Not her. I did not listen too much Thailand’s pop music. It was just the same. I was Thai. I was more Thai than Bangkok Teenagers.

I visited temples every weekend. I bought Thai merchandises, except music stuff. My mother’s friend said that people went to temples, because they were sad. Not me. Temples and folks’ communities made me happy. I thought, if I could be the great one, many things would be better. I went to the beach at the west of Thailand with my family. Drive on the high way with salt farms on both side of street. This was the only place that people kept the original occupation, although the high way passed it. The Thai King always passed this high ways to His palace in Hua-Hin. People cared about Him. People knew that He loved to see the folks’ life, rather than the great big buildings. Sufficient Economy. I love Him and all His words. If people cared me as they cared Him, and everywhere I went to, people would keep their original folks’ life. It was beautiful. The happiness did not have to be from the big mall or shopping area. The pure happiness was from the pure smile with pure heart.

I did not want a new car or cellphone or watch or anything. I did not want to have an expensive meal. My happy meal was the meal with my family. Meal on the side of street or at home. Bangkok Teenager forgot their lifes. Many Thai folks forgot their lifes, too. A pressident of Mahidol Wittayanusorn school (Thongchai Chewprecha talked with parents of students. They were educated people. They agreed that they would do the sufficient economy, and they would support Thai farmers, who were poor. A parent asked Mr. Thongchai Chewprecha that if the farmers spent the money for new cars or new cellphones or new televisions. No answer.


Mahidol Wittayanusorn Student 2006

A big group of farmers went to Bangkok to meet Apisit Vejjajiva, the prime minister of Thailand. They needed him to remove their debt. They had debt and they sold their farm to buy new cars and new cellphones and new televisions. It was a shame for me and for those parents and for Mr. Chilprecha and for our King. We were a few number of our country, who truely love Thailand. The big number was farmers and our new-age teenagers. They forgot their lifes. Thailand was agriculture country. Thailand was the kitchen of the world. And the farm was the kitchen of Bangkok. Business and the western civilazation are destroying us. They destroy their own kitchen. In nearly future, they will not have any food anymore.

The competition which those and the Bangkok Teenagers made for themselves, all about their dressing and their extravagance. The nonsense competition will kill themselves. It is today. How much we can do for Thailand, and how much we can do for our King. Can I be the great one, who all Thai teenagers will read my words. Those who disagree, cannot hate adults or the King, but they can hate me.

Apisit Vejjajiva liked Oasis and other rock bands. He was a student in England. Foreigners thought that he could not tuned with Thai common folk so well. Sw Eden liked Zi:Kill and other American bands. I am a student in New York. And I am much more Thai than Bangkok Teenager who listen to Thai music. Apisit Vejjajiva is excellent, and his methods is excellent, too.

To a farm, we marry and we have a son
Thank you for all re-born of new lifes
All rice and all people
Me and my bull
You and our spring
Green becomes gold
No TV and no radio
Listen and watch throw the window
THe feild and its sound
No you, then no us
Now, we have to go
Not because of you
Not because of us
Someone else
Who will never understand
We are the men and nature
We serve you by this kitchen
Break kids’ kitchen
Break us apart
Kids are growing up
Kids are just idiot men
No food for them at all

Tag:
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,ประเทศไทย, นายก, สว อิเฏล,sw eden,thailand,thai, thai king, prime minister, president, mahidol wittayanusorn, farmer, farm, rice, sufficient economy, sufficient, economy, words, kitchen, zikill, zi:kill, zi kill, bangkok, teenager, Sirinya Tanyapaso, Apisit, Thai prime minister, apisit vejjajiva, Thongchai Chewprecha

2 Comments

Filed under Sw Eden's Sadness